ทำไม "ขวดยาคูลท์" ถึงทรงคล้ายนาฬิกาทราย ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ

ทำไม "ขวดยาคูลท์" ถึงทรงคล้ายนาฬิกาทราย ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ

ทำไม "ขวดยาคูลท์" ถึงทรงคล้ายนาฬิกาทราย ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"ยาคูลท์" เป็นเครื่องดื่มนมเปรี้ยวที่อยู่ในใจใครหลายๆ คน ยาคูลท์ถือกำเนิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2478 หรือประมาณกว่า 80 ปีก่อน แต่สำหรับในประเทศไทยนั้นนายประพันธ์ เหตระกูล เป็นผู้นำเข้าและก่อตั้งบริษัท ยาคูลท์ (ประเทศไทย) จำกัดขึ้นในปี 2513 ก่อนจะเริ่มจำหน่ายในปีถัดมา

ลักษณะภาชนะบรรจุยาคูลท์ตั้งแต่เริ่มแรกเป็นขวดแก้ว เริ่มจำหน่ายที่เมืองฟุคุโอะกะ ประเทศญี่ปุ่นในปี 2478 โดยเป็นขวดแก้วที่มีหลากหลายขนาด และใช้ฝาไม้ก๊อกปิดปากขวด

กระทั่งต่อมาในปี 2498 มีการปรับปรุงรูปแบบผลิตภัณฑ์ยาคูลท์ครั้งใหญ่ทั้งรูปแบบบรรจุภัณฑ์ การออกแบบฉลาก รวมถึงการใช้ขวดแก้วให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ในยุคนั้นเมื่อดื่มเสร็จแล้วต้องคืนขวดให้แก่สาวยาคูลท์

ต่อมาในปี 2511 มีการเปลี่ยนรูปแบบบรรจุภัณฑ์จากขวดแก้วมาเป็นขวดพลาสติกเพื่อความสะดวกของผู้บริโภคให้สามารถดื่มได้ง่ายขึ้น และยังแบ่งเบาภาระของสาวยาคูลท์ในการเก็บขวดแก้วที่มีน้ำหนักมากอีกด้วย

ลักษณะเด่นของขวดยาคูลท์แบบใหม่คือขวดทำจากพลาสติกโพลีสไตรีนที่แข็งแรง น้ำหนักเบา และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ออกแบบขวดให้ถือง่ายด้วยการทำเป็นทรงคอดตรงกลางคล้ายนาฬิกาทราย อีกทั้งยังทำให้ยกดื่มแล้วไม่สำลัก ส่วนฝาปิดเป็นฟอยล์ช่วยรักษาคุณภาพให้คงอยู่ยาวนานที่สุดเพื่อความสดใหม่จนถึงมือลูกค้า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook