เช็กสุขภาพบนเตียง (นอน) ศิริราชเผยถ้ามีอาการนี้ควรตรวจ Sleep Test

เช็กสุขภาพบนเตียง (นอน) ศิริราชเผยถ้ามีอาการนี้ควรตรวจ Sleep Test

เช็กสุขภาพบนเตียง (นอน) ศิริราชเผยถ้ามีอาการนี้ควรตรวจ Sleep Test
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พฤติกรรมการนอนหลับสำคัญกว่าที่คิด เพราะการนอนหลับที่ไม่มีประสิทธิภาพส่งผลเสียต่อสุขภาพหลายประการ โรงพยาบาลศิริราช เผยข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการ เช็กสุขภาพบนเตียง (นอน) ข้อควรรู้ที่ต้องสำรวจตัวเอง ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ ควรได้รับการตรวจ การทดสอบการนอนหลับ (Sleep Test​) 

การทดสอบการนอนหลับ หรือ Sleep Test คืออะไร

การทดสอบการนอนหลับ (Sleep Test​) เป็นการตรวจเพื่อสังเกตการทำงานของร่างกายขณะนอนหลับ ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นการตรวจมาตรฐาน (Gold standard) ที่ใช้วิธีวิเคราะห์การทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกายขณะนอนหลับ และสังเกตพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นขณะหลับโดยเฉพาะ โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น หรือ OSA (Obstructive Sleep Apnea) และโรคจากการนอนหลับอื่น ๆ

ผลการตรวจ Sleep Test ช่วยการวินิจฉัยโรคและประเมินระดับความรุนแรงของโรคได้ เช่น โรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น การกระตุกของกล้ามเนื้อต่างๆ และพฤติกรรมที่ผิดปกติระหว่างการนอนหลับ ข้อมูลที่ได้จะนำมาพิจารณาวางแผนหรือติดตามการรักษาให้ถูกต้องได้

ผู้ที่ควรได้รับการตรวจ Sleep Test คือใคร

  1. ผู้ที่มีปัญหานอนกรนผิดปกติ หรือ มีอาการนอนหลับไม่สนิท
    (รวมถึงอาการ : หายใจลำบาก สำลักสะดุ้งตื่น ตื่นบ่อย หรือมีคนรอบข้างสังเกตเห็นการหยุดหายใจขณะหลับ)

    2. ผู้ที่มีอาการง่วงนอนในเวลากลางวัน หรืออาการอ่อนเพลียเหมือนหลับไม่เต็มอิ่ม
    (ตลอดจนพฤติกรรมแปลก ๆ : แขนขากระตุก นอนกัดฟัน นอนละเมอ ฝันร้าย )

    3. ผู้ที่มีโรคประจำตัว : โรคความดันโลหิตสูง / โรคหัวใจ / เบาหวาน / ไขมันในเลือดสูง น้ำหนักตัวมากผิดปกติ / มีโรคซึมเศร้า รวมถึงเด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการ เติบโตช้า

การทดสอบการนอนหลับ  Sleep Testการตรวจ Sleep Test มีกี่ประเภท

ในปัจจุบัน Sleep Test แบ่งออกได้เป็นหลายประเภท ได้แก่ 

1. การตรวจการนอนหลับแบบละเอียดในศูนย์
การตรวจประเภทนี้ จะทำการตรวจภายในห้องปฏิบัติของศูนย์ (Sleep Lab หรือ Center)
โดยมีเจ้าหน้าที่ดูแลตลอดคืน จะได้ข้อมูลที่แม่นยำ เพราะวัดสัญญาณอย่างน้อย 6-7 อย่าง อาทิ การวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง / คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ / คลื่นไฟฟ้าหัวใจ / การวัดระดับออกซิเจนในเลือด / การวัดระดับลมหายใจ

2. การตรวจการนอนหลับแบบละเอียดนอกศูนย์
การตรวจประเภทนี้ นิยมทำที่บ้าน (home PSG) ที่เป็นสภาพแวดล้อมหรือห้องนอนที่ผู้ตรวจคุ้นเคย
โดยจะมีเจ้าหน้าที่เข้าไปติดตั้งอุปกรณ์ให้ แต่ไม่ได้เฝ้าระหว่างเวลาตรวจ (ลักษณะของการตรวจประเภทนี้ มีข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือใกล้เคียงกับการตรวจประเภทที่ 1) แต่วิธีนี้อาจไม่เหมาะกับเด็กเล็ก ผู้มีโรคประจำตัวร้ายแรง

3. การตรวจการนอนหลับแบบประหยัดมีข้อมูลจำกัด
การตรวจประเภทนี้ จะวัดสัญญาณน้อยกว่า 4 อย่าง อาจจะมีค่าใช้จ่ายและความแม่นยำข้อมูลน้อยกว่าสองประเภทแรก

4. การตรวจขณะหลับแบบข้อมูลจำกัด
การตรวจประเภทนี้ เป็นการตรวจที่ได้ข้อมูลเพียงบางส่วน ซึ่งในปัจจุบันสมาคมวิชาชีพยังไม่แนะนำให้นำไปใช้ในการวินิจฉัยโรค หรือใช้ในรักษาโรค

5. การตรวจการนอนหลับประเภทพิเศษ “Peripheral Arterial Tonometry (PAT)” 
การตรวจประเภทนี้ จะใช้เทคโนโลยีการตรวจที่ได้รับความนิยมทั้งประเทศไทยและต่างประเทศ จะใช้เครื่องมือลักษณะคล้ายนาฬิกาที่สามารถวิเคราะห์ความผิดปกติต่าง ๆ ของการหายใจขณะหลับ (ลักษณะของการตรวจประเภทนี้ พบว่ามีความแม่นยำใกล้เคียงกับการตรวจประเภทที่ 1 และ 2)

ในการตรวจ Sleep Test ควรมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการหลับที่ได้รับอนุมัติบัตรหรือวุฒิบัตรจากแพทยสภา (Certified Sleep Specialist) เป็นผู้ดูแลและแปลผล เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นผลตรวจที่เชื่อถือได้และมีความปลอดภัยในการนำไปใช้เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook