"น้ำยาแอร์" คืออะไร จำเป็นต้องเติมทุกครั้งหลังล้างแอร์ไหม
ช่วงหน้าร้อนแบบนี้หลายบ้านเริ่มใช้บริการช่างล้างแอร์ และก็พบว่าช่างจะบอกว่าควรเติมน้ำยาแอร์ และก็มีคำถามตามมาว่าจำเป็นต้องเติมน้ำยาแอร์หรือเปล่า เพราะบางครั้งอาจถูกช่าง (ใจร้าย) เอาเปรียบ ต่อไปนี้เราจะมาบอกรายละเอียดว่า น้ำยาแอร์คืออะไร จำเป็นต้องเติมน้ำยาแอร์ทุกครั้งหลังล้างแอร์ หรือซ่อมแอร์ไหม
น้ำยาแอร์คืออะไร
เราเรียกน้ำยาแอร์อีกชื่อหนึ่งว่า "สารทำความเย็น" (Refrigerants) เป็นสารของเหลวที่ทำให้เกิดความเย็น ทำหน้าที่รับ ดูดซับ และนำพาความร้อนเพื่อให้เกิดการขยายตัว หรือมีการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นไอหรือแก๊ส ซึ่งจะสามารถคืนตัวเป็นของเหลวได้อีกครั้ง น้ำยาแอร์มีหลายประเภทและมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป อีกทั้งยังมีราคาแตกต่างกันอีกด้วย
จำเป็นต้องเติม "น้ำยาแอร์" ทุกครั้งไหม
เนื่องจากน้ำยาแอร์เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้แอร์ หรือเครื่องปรับอากาศมีความเย็นออกมา และเนื่องจากระบบน้ำยาของแอร์บ้านคือระบบกึ่งปิดกึ่งเปิด ดังนั้นจึงืให้ระบบน้ำยามีโอกาสรั่วได้ หรือซึมออกไปได้ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าแอร์ทุกเครื่องจะรั่ว หรือซึมเหมือนกันหมด ดังนั้นหากเรียกช่างมาล้างแอร์แล้วไม่จำเป็นต้องเติมน้ำยาแอร์ทุกครั้ง
อย่างไรก็ตามนอกจากการล้างแอร์แล้ว การที่แอร์ไม่เย็นยังอาจเกิดจากปัญหาอื่น ที่ไม่ใช่น้ำยาแอร์หมด ดังนั้นหากแอร์ไม่เย็นลองเช็กที่จุดอื่นๆ ก่อนเช่นการตั้งรีโมทถูกต้องหรือเปล่า หรือเพราะแอร์สกปรกซึ่งทำให้แอร์ไม่เย็นได้
ต้องเติมน้ำยาแอร์บ่อยแค่ไหน
โดยปกติแล้วเมื่อซื้อแอร์มาและติดตั้ง สารทำความเย็นดังกล่าวจะอยู่ในระบบทำคงามเย็นและไม่หมดลงอย่างรวดเร็ว เพราะสารเหล่านี้ทำงานแบบถูกนำกลับมาใช้ใหม่อย่างต่อเนื่องภายในระบบของเครื่องปรับอากาศ เว้นเสียแต่ว่ามีการรั่วไหล หรือเกิดปัญหาในระบบหมุนเวียน โดยปกติน้ำยาแอร์จะมีอายุการใช้งานนานหลายปี หรือแอร์บางเครื่องไม่จำเป็นต้องเติมสารทำความเย็นเลยด้วยซ้ำ
- เมื่อไรที่ต้องเติม "น้ำยาแอร์"
- มีลมร้อนออกจากช่องระบายอากาศ
- ค่าไฟฟ้าแพงกว่าปกติ
- มีน้ำแข็งบนสายสารทำความเย็น
- คอยล์เย็ยจนเกิดการแช่แข็ง
- มีเสียงฟู่ หรือฟองออกมาจากท่อสารทำความเย็น
ก่อนเติมน้ำยาแอร์ต้องเช็กอะไรบ้าง
1.ความจำเป็นในการเติมคือเมื่อเกิดการรั่ว ซึมของสารทำความเย็น
2.น้ำยาแอร์ที่เติมต้องเป็นชนิดเดียวกันกับน้ำยาของแอร์เครื่องเดิม
3.ควรใช้ช่างผู้มีความเชี่ยวชาญในการเติมเนื่องจากน้ำยาแอร์แต่ละชนิดใช้วิธีการเติมแตกต่างกัน
อ่านเรื่องน่าสนใจ วิธีเปิดแอร์แบบประหยัดค่าไฟ แนะนำให้ "ปิด" สิ่งเหล่านี้