เด็กอ่อนวัย 10-11 เดือน

เด็กอ่อนวัย 10-11 เดือน

เด็กอ่อนวัย 10-11 เดือน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
การให้นมลูกน้อย ในเวลานี้ลูกของคุณจะไม่ยอมอยู่นิ่งเฉยและจะสนใจใคร่รู้ไปเสียทุกอย่าง ความต้องการด้านอาหารของลูกจึงเปลี่ยนแปลงไป เพราะต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษเพื่อทำสิ่งต่างๆ ในแต่ละวัน อย่างไรก็ตาม กระเพาะอาหารของเด็กนั้นยังเล็ก พวกเขาจึงจำเป็นต้องรับประทานอาหารที่ได้คุณค่าและพลังงานครบถ้วนเป็นมื้อย่อยๆ แต่บ่อยครั้ง ความพร้อมในการรับประทานอาหารแบบผู้ใหญ่นั้น ไม่ได้หมายถึงการทานอาหารที่คล้ายกับของผู้ใหญ่เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงวิธีการรับประทานอาหารด้วย ดังนั้น แม้ว่าลูกน้อยจะเลอะเปรอะเปื้อนไปบ้าง คุณแม่ก็ควรส่งเสริมให้ลูกรับประทานอาหารเองในแต่ละมื้อ และควรให้ลูกดื่มน้ำเองจากแก้ว ให้เขาถือผักหรือผลไม้สำหรับแทะกินเล่น หรือหัดใช้ช้อนตักรับประทานอาหาร สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นแนวทางที่ดีในการส่งเสริมพัฒนาการด้านการกินของลูก และจะทำให้ลูกเริ่มเกิดความภูมิใจในสิ่งที่ตนทำและช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกได้มากขึ้น พัฒนาการของลูกน้อย ก้าวแรกและคำแรก ในไม่ช้า ลูกน้อยของคุณก็จะพูดคำแรกที่มีความหมายได้ และเริ่มเดินก้าวแรกได้แล้ว แม้ว่าจะยังไม่มั่นคงนักและต้องให้คุณแม่หรือคุณพ่อช่วยพยุงหรือจูงมือ แต่พัฒนาการจากเด็กทารกที่เคยคลานไปไหนมาไหน มาเป็นเด็กน้อยวัยเตาะแตะที่เริ่มเดินได้และพูดได้นั้นเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์อย่างมาก ดูเม็กซ์ขอแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่วางกล้องถ่ายรูปไว้ใกล้ๆ มือ ก้าวแรกของลูกน้อยนั้นควรค่าแก่การบันทึกเก็บไว้และมักจะเกิดขึ้นในนาทีที่เราไม่คาดฝัน ลูกน้อย, เด็ก ยืนได้ด้วยสองขาของตัวเอง ความพยายามในการคลานของลูกในช่วง 2 – 3 เดือนที่ผ่านมา จะช่วยฝึกกล้ามเนื้อขาของหนูน้อยให้แข็งแรงขึ้นอย่างมาก เมื่อถึงตอนนี้ลูกจะพยายามลุกขึ้นยืนเมื่อมีคนช่วยพยุงสักเล็กน้อย ลูกอาจจะก้าวเดินก้าวแรกในขณะที่จับมือคุณหรือยึดเกาะเก้าอี้หรือกำแพงเอาไว้ แต่หากลูกของคุณยังไม่เริ่มหัดเดิน ก็อย่ากังวลใจไปเลย เด็กแต่ละคนจะมีพัฒนาการในเรื่องนี้แตกต่างกันตามจังหวะของตน ถึงแม้ลูกจะหกล้มบ้าง แต่นั่นก็ไม่ได้หยุดยั้งความพยายามของนักสำรวจน้อยคนนี้เลย ลูกจะยังคงเดินเตาะแตะไปทั่วบ้านพลางยึดเกาะสิ่งนั้นสิ่งนี้หรือคนนั้นคนนี้ที่อยู่ใกล้มือคว้า ควบคุมได้ดีขึ้นและกล้ามเนื้อทำงานประสานกันมากขึ้น ในเวลานี้ ลูกน้อยของคุณจะควบคุมมือและนิ้วมือได้ดีขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ลูกหันมาชอบเล่นเอาสิ่งของใส่กล่องแล้วเทออก จากนั้นก็หยิบมาใส่ใหม่ ทำอย่างนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นชั่วโมงๆ นอกจากนี้ ลูกยังสนใจการกระทำที่ “เป็นเหตุเป็นผลต่อกัน” ด้วย เช่น ล้อหมุนทำให้ของเล่นเคลื่อนที่ไป การทำงานประสานกันระหว่างมือกับตาของเด็กในวัยนี้ก็ดีขึ้นมาก ลูกอาจจะจับช้อนได้มั่นคงขึ้นและสนุกกับการตักอาหารเข้าปากด้วยตัวเอง แต่คงต้องเลอะเทอะเช่นนี้ไปอีกหลายเดือน ก็ขอให้คุณแม่ทำใจ เพียงแค่เตรียมผ้าเช็ดทำความสะอาดไว้ใกล้มือก็พอ พูดคำแรกได้แล้ว สิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดในช่วงเวลานี้ก็คือ คำแรก “ที่มีความหมาย” ของลูก ซึ่งอาจจะไม่ใช่คำที่คุณคาดหวังไว้ หรือ “ฝึก” ให้ลูกพูดมาโดยตลอดก็ได้... บางทีคุณแม่อาจจะได้ยินลูกพูดคำเหล่านี้แล้ว เพียงแต่ครั้งนี้ หนูน้อยจะเริ่มเชื่อมโยงถ้อยคำกับวัตถุหรือคน และเอ่ยคำคำนั้นออกมาอย่างตรงตามความหมาย อย่างเช่น ลูกอาจจะร้องเรียก “แม่” และ “ป้อ” หรือพูดว่า “หม่ำ” เมื่อจะรับประทานอาหาร และเรียกแมวว่า “เหมียว” การเรียนรู้ ลูกน้อยของคุณกำลังสนุกและหลงใหลความเป็นอิสระในการไปโน่นมานี่ด้วยสองขาของตัวเอง แต่ยังต้องอาศัยเฟอร์นิเจอร์และของอื่นๆ ในการเกาะพยุงตัว ลูกจะขาดความมั่นใจหากต้องเดินไปในบริเวณพื้นที่ว่างโล่งและไม่มีอะไรให้ยึดเกาะ เมื่อลูกน้อยของคุณสามารถยืนได้มั่นคงแล้ว คุณแม่อาจกระตุ้นให้ลูกก้าวเดินสั้นๆ โดยถอยห่างจากลูกเพียงเล็กน้อย อ้าแขนรอรับและเรียกลูกให้มาหา ลูกจะได้มีแรงจูงใจที่จะฝึกเดิน อย่าลืมชมเชยให้กำลังใจลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าลูกเดินมาสู่อ้อมแขนของคุณแม่ได้โดยไม่ล้ม คุณรู้หรือไม่ นับจากนี้ไปลูกน้อยของคุณจะเริ่มภาคภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองทำ การส่งเสริมลูกในช่วงรับประทานอาหารและในการเล่นของลูกสามารถช่วยสร้างความมั่นใจในตัวเองให้ลูกได้

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ เด็กอ่อนวัย 10-11 เดือน

เด็กอ่อนวัย 10-11 เดือน
เด็กอ่อนวัย 10-11 เดือน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook