ต้องดื่มน้ำมากแค่ไหน ? เมื่อต้องทานยา (ที่ต้องกลืน)
หลายคนอาจสงสัยว่ายาที่ต้องกลืนควรดื่มน้ำตามปริมาณเท่าไรกันแน่ คำตอบคือปริมาณน้ำที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับชนิดของยา โรคประจำตัว และสภาพร่างกายของคุณ น้ำช่วยลำเลียงยาตั้งแต่ช่องปาก ไปยังกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก เพื่อให้ร่างกายดูดซึมและออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กินยา ต้องดื่มน้ำมากแค่ไหนถึงเหมาะสม
การกลืนยาโดยไม่ได้ดื่มน้ำตามเพียงพอก็อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของยา และอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้
ตัวอย่างยา
-
ยาต้านอักเสบ (Nonsteroidal Anti-inflammatory Drugs: NSAIDs) เช่น แอสไพริน ไอบูโทเฟน และ นาพรอกเซน การรับประทานยาเหล่านี้โดยไม่ได้ดื่มน้ำตามปริมาณที่เพียงพอ หรือทานยาตอนท้องว่าง อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการระคายเคืองหลอดอาหารหรือกระเพอาหาร หรือแม้แต่เป็นแผล
-
ยาบิสฟอสเฟต (Bisphosphonates) เป็นยาที่ใช้รักษาหรือป้องกันโรคกระดูกพรุน โดยปกติยาชนิดนี้จะรับประทานตอนท้องว่าง แต่เพื่อลดความเสี่ยงต่อการระคายเคืองหลอดอาหาร ควรดื่มน้ำตามปริมาณมาก และ งดการนอนราบอย่างน้อย 30 นาทีหลังรับประทานยา
ปริมาณน้ำที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับขนาดของยาด้วย ยาเม็ดใหญ่หรือแคปซูลขนาดใหญ่ อาจต้องดื่มน้ำตามมากกว่ายาเม็ดเล็กหรือยาน้ำ
ข้อควรคำนึงในการทานยา
1.อ่านฉลากยา ก่อนรับประทานทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยควรอ่านฉลากยาและเอกสารกำกับยาอย่างละเอียดทุกครั้งก่อนรับประทาน
ข้อมูลสำคัญบนฉลากยา
- ชื่อยา
- ส่วนประกอบ
- ขนาดยา
- วิธีใช้
- ผลข้างเคียง
- คำเตือน
ปริมาณน้ำที่ควรดื่ม
ยาแต่ละชนิด จำเป็นต้องดื่มน้ำตามในปริมาณที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ:
- ชนิดของยา
- โรคประจำตัว
- สภาพร่างกาย
2.รู้หรือไม่? ดื่มอะไรกับยาดี
น้ำเปล่า คือตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการดื่มตามยา เพราะน้ำเปล่าไม่ส่งผลต่อการดูดซึมยา อย่างไรก็ตาม ยาบางชนิด จำเป็นต้องดื่มนม น้ำผลไม้ หรืออาหาร ร่วมด้วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของยา
ตัวอย่างยา
- ยาบางชนิด ดูดซึมได้ดีขึ้นเมื่อทานร่วมกับไขมัน เช่น วิตามินเอ ดี อี และเค
- ยาบางชนิด ระคายเคืองกระเพาะอาหาร ควรทานร่วมกับอาหาร เช่น ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs