ทำไมจึงห้าม "กดชักโครก" ระหว่างนั่งขับถ่าย
เราคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าก่อน และหลังใช้ห้องน้ำแบบชักโครกควรปิดฝาชักโครกก่อน เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อโรคในอากาศหลังกดน้ำ อย่างไรก็ตามยังคงมีอีกหลายคนที่มีพฤติกรรมกดน้ำระหว่างนั่งขับถ่าย แต่ทราบหรือไม่ว่าการกดชักโครกระหว่างนั่งขับถ่ายนั้นเป็นสิ่งที่ไม่แนะนำให้ทำกัน จะเป็นเพราะอะไรนั้นเรามีคำตอบ
เมห์รเวห์ เซเยด ซัยยาห์ นักศึกษาแพทย์และอินฟลูเอ็นเซอร์ (Influencer) ได้ออกมาเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายจากการไม่ปิดฝาชักโครกก่อนกดน้ำ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่หลายคนมองข้าม
เธออธิบายว่า "หลังจากกดชักโครกโดยไม่ปิดฝา ละอองน้ำขนาดเล็กที่ปนเปื้อนแบคทีเรีย จะฟุ้งกระจายไปในอากาศได้ไกลถึงสองเมตร"
โถส้วมเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียอันตรายมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากใช้งาน
เชื้อโรคอันตรายอย่าง อีโคไล (E.coli) และ สแตphylococcus จะฟุ้งกระจายไปในอากาศหลังจากกดน้ำ
เชื้อโรคเหล่านี้สามารถเกาะติดตามผิวหนัง และทำให้เกิดการติดเชื้อและผื่น
เชื้ออีโคไล ก่อให้เกิดอาการปวดท้องรุนแรง ท้องเสียเป็นเลือด และแม้กระทั่งไตวาย
อาการทั่วไปมักคงอยู่ประมาณเจ็ดวัน หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน แต่บางรายอาจมีอาการเป็นสัปดาห์และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
เชื้อ Staphylococcus ก่อให้เกิดปัญหาผิวหนัง เช่น ผื่นคันและแผลหนอง
แต่ถ้าหากเชื้อโรคชนิดนี้เข้าสู่กระแสเลือด อาจทำให้เกิดโรคปอดอักเสบ หรือติดเชื้อในกระแสเลือดและข้อ
เพื่อป้องกันอันตรายเหล่านี้ เมห์รเวห์ เซเยด ซัยยาห์ แนะนำว่า "ควรปิดฝาชักโครกเสมอ ก่อนกดน้ำ"
แม้ว่าคำแนะนำนี้จะดี แต่หลายคนรู้สึกแปลกใจที่ได้รู้ว่า ยังมีคนที่นั่งอยู่บนโถส้วมขณะกดน้ำ
สรุปได้ว่า ไม่ควรนั่งบนโถส้วมตอนกดน้ำ และ ควรปิดฝาชักโครกเสมอ ก่อนกดน้ำ ง่ายๆ คือ ปิดฝาชักโครกไว้เสมอ ยกเว้นตอนใช้งาน
การปฏิบัตินี้ เป็นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค และช่วยให้สุขอนามัยในห้องน้ำดีขึ้น