2 กลุ่มอาหารทำให้ร่างกายบวมน้ำ กินแล้วตัวบวม น้ำหนักขึ้น

2 กลุ่มอาหารทำให้ร่างกายบวมน้ำ กินแล้วตัวบวม น้ำหนักขึ้น

2 กลุ่มอาหารทำให้ร่างกายบวมน้ำ กินแล้วตัวบวม น้ำหนักขึ้น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

น้ำหนักของคุณขึ้นลงอยู่บ้างหรือไม่? โดยปกติแล้วคนทั่วไปสามารถมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้อย่างง่ายดาย 1-2 กิโลกรัมในหนึ่งวัน อันเนื่องมาจากน้ำหนักน้ำ อาหารบางชนิด โดยเฉพาะอาหารที่มีโซเดียมและคาร์โบไฮเดรตสูง ยิ่งทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ง่าย โดยสาเหตุของอาการบวมน้ำนั้นคือให้ลองจินตนาการว่าตื่นเช้ามาแล้วพบกับใบหน้าบวม เปลือกตาบวม และรู้สึกตัวอืดอัด ทั้งๆ ที่คุณทานอาหารครบ 5 หมู่และออกกำลังกายเป็นประจำ แต่ทำไมน้ำหนักตัวถึงขึ้นลงอยู่บ่อยๆ สาเหตุที่เป็นไปได้ก็คือ น้ำหนักน้ำ

อาหารทำให้เกิดอาการบวมน้ำ

โดยทั่วไป อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและโซเดียมสูง ส่งผลต่อภาวะน้ำคั่งในร่างกายมากที่สุด ลองจินตนาการว่า ทานอาหารเย็นเป็นแซลมอนรมควัน หรือพาสต้า เช้าวันรุ่งขึ้น น้ำหนักตัวของคุณอาจเพิ่มขึ้นจากน้ำคั่งในร่างกาย

1.อาหารรสเค็ม

อาหารรสเค็ม กระตุ้นให้เรารู้สึกกระหายน้ำ ส่งผลให้เราดื่มน้ำมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ปริมาณปัสสาวะที่ขับออก กลับไม่เปลี่ยนแปลง

จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Annals of Nutrition & Metabolism เมื่อเดือนมิถุนายน 2560 อธิบายว่า ร่างกายจะกักเก็บน้ำส่วนเกินนี้ไว้ ส่งผลต่อน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นจากน้ำคั่งในร่างกาย

ตัวอย่างอาหารทำให้เกิดอาการบวมน้ำ

อาหารที่มีโซเดียมสูง

เนื้อสัตว์ และปลา

  • เนื้อสัตว์แปรรูป รมควัน
  • ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จากร้านขายของชำ เช่น แฮม ไส้กรอก เบคอน
  • ปลากระป๋อง

คาร์โบไฮเดรต

  • ขนมปัง
  • บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
  • ซุปกึ่งสำเร็จรูป

ผัก

  • ผักดอง
  • ผักกาดดอง

อาหารอื่นๆ

  • พิซซ่า
  • ขนมขบเคี้ยวรสเค็ม
  • ซอสปรุงรส และ น้ำสลัดสำเร็จรูป

เครื่องปรุงรส

  • เกลือ
  • ซีอิ๊วขาว
  • ซอสมะเขือเทศ
  • น้ำปลา

2.อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง

อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง ส่งผลต่อน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นจากน้ำคั่งในร่างกาย เนื่องจากคาร์โบไฮเดรตถูกเปลี่ยนเป็นกลูโคสเพื่อใช้เป็นพลังงาน ส่วนที่เกินจำเป็นจะถูกเก็บสะสมในกล้ามเนื้อและตับ จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร European Journal of Applied Physiology เมื่อเดือนเมษายน 2558 อธิบายว่าร่างกายมนุษย์กักเก็บน้ำไว้ประมาณ 3 กรัม สำหรับทุกๆ 1 กรัมของไกลโคเจนที่เก็บสะสมในกล้ามเนื้อ

อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวสูง

  • ข้าวขาว
  • มันฝรั่ง และ ผลิตภัณฑ์จากมันฝรั่ง (เช่น เฟรนช์ฟรายส์)
  • เส้นพาสต้า
  • เบเกิล
  • ขนมอบ คุกกี้ และ เค้ก
  • ขนมปังขาว
  • ไอศกรีม
  • ซีเรียลที่มีน้ำตาลสูง
  • พิซซ่า
  • น้ำอัดลม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook