"กาแฟ" ดื่มตอนท้องว่างได้ไหม

"กาแฟ" ดื่มตอนท้องว่างได้ไหม

"กาแฟ" ดื่มตอนท้องว่างได้ไหม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กาแฟเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมชนิดหนึ่ง มีปริมาณการบริโภคเป็นรองเพียงแค่ น้ำเปล่า ในบางประเทศเท่านั้น นอกจากจะช่วยให้รู้สึกตื่นตัว ลดอาการเหนื่อยล้าแล้ว กาแฟยังมีคาเฟอีนซึ่งอาจส่งผลดีต่ออารมณ์ ความสามารถของสมอง และประสิทธิภาพในการออกกำลังกายอีกด้วย นอกจากนี้ ยังอาจช่วยลดน้ำหนัก ป้องกันโรคต่างๆ เช่น เบาหวานชนิดที่ 2 โรคอัลไซเมอร์ และโรคหัวใจ

หลายคนนิยมดื่มกาแฟเป็นอันดับแรกในตอนเช้า แต่บางคนก็มีความกังวลว่าการดื่มกาแฟตอนท้องว่างอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ บทความนี้จะมาไขข้อสงสัยว่า คุณควรดื่มกาแฟตอนท้องว่างหรือไม่

กาแฟมีผลต่อระบบย่อยอาหารหรือไม่

งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าความขมของกาแฟอาจกระตุ้นการผลิตกรดในกระเพาะอาหาร ด้วยเหตุนี้หลายคนจึงเชื่อว่ากาแฟระคายเคืองกระเพาะอาหาร ทำให้โรคระบบทางเดินอาหารเรื้อรัง ลำไส้แปรปรวน (IBS) แย่ลง และก่อให้เกิดอาการต่างๆ แต่แม้กาแฟเพิ่มการผลิตกรดในกระเพาะ แต่ดูเหมือนจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาทางเดินอาหารสำหรับคนส่วนใหญ่ ดังนั้นการดื่มในขณะท้องว่างจึงเป็นเรื่องปกติ

การดื่มกาแฟตอนท้องว่างอาจเพิ่มระดับคอร์ติซอล

คอร์ติซอลผลิตโดยต่อมหมวกไตช่วยควบคุมระบบเผาผลาญ ความดันโลหิต และน้ำตาลในเลือด แต่หากมีระดับสูงเกินไปเป็นเวลานานอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ เช่น ภาวะกระดูกพรุน ความดันโลหิตสูง เบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหัวใจ ตามธรรมชาติ ร่างกายจะผลิตคอร์ติซอลสูงสุดช่วงตื่นนอน จากนั้นลดลงตลอดวัน และกลับมาสูงอีกครั้งในช่วงหลับช่วงต้น

ที่น่าสนใจคือกาแฟกระตุ้นการผลิตคอร์ติซอล ดังนั้นบางคนจึงกังวลว่าการดื่มกาแฟตอนเช้า ซึ่งเป็นช่วงที่คอร์ติซอลสูงอยู่แล้ว อาจส่งผลเสีย อย่างไรก็ตาม การดื่มกาแฟเป็นประจำอาจทำให้ร่างกายตอบสนองด้วยการผลิตคอร์ติซอลน้อยลง และบางงานวิจัยไม่พบว่ากาแฟส่งผลต่อระดับคอร์ติซอลเลย นอกจากนี้ยังมีหลักฐานน้อยที่ชี้ว่าการดื่มกาแฟหลังอาหารจะลดการตอบสนองดังกล่าว ยิ่งไปกว่านั้น แม้ไม่ได้ดื่มกาแฟเป็นประจำ การเพิ่มขึ้นของคอร์ติซอลก็น่าจะเป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ มีเหตุผลน้อยที่จะเชื่อว่าภาวะคอร์ติซอลสูงชั่วคราวเช่นนี้จะส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว สรุปแล้วผลกระทบแย่ๆ จากระดับคอร์ติซอลที่สูงเรื้อรัง มักเกิดจากโรคประจำตัว เช่น Cushing’s syndrome มากกว่าการดื่มกาแฟ

แม้การดื่มกาแฟตอนท้องว่างจะไม่ส่งผลข้างเคียงอะไร แต่กาแฟเองก็มีผลเสียอื่นๆ อยู่บ้าง

  • กาแฟมีฤทธิ์เสพติดได้ โดยเฉพาะกับผู้ที่มีความไวต่อคาเฟอีนตามพันธุกรรม การดื่มกาแฟเป็นประจำส่งผลต่อสารเคมีในสมอง ทำให้ต้องใช้คาเฟอีนปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เท่าเดิม
  • การดื่มกาแฟมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการวิตกกังวล กระสับกระส่าย หัวใจเต้นเร็ว อาการแพนิคกำเริบรุนแรง และอาจส่งผลต่อบางบุคคลให้เป็นโรคปวดหัว ไมเกรน และความดันโลหิตสูง
  • ด้วยเหตุนี้ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่แนะนำให้จำกัดปริมาณคาเฟอีนไว้ที่ประมาณ 400 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเทียบเท่ากับกาแฟ 4-5 แก้ว (0.95-1.12 ลิตร)
  • คาเฟอีนมีผลต่อการนอนหลับ เนื่องจากฤทธิ์ของมันสามารถอยู่ได้นานถึง 7 ชั่วโมงในผู้ใหญ่ ดังนั้นการดื่มกาแฟตอนค่ำอาจส่งผลให้หลับยาก
  • สุดท้าย คาเฟอีนสามารถผ่านรกได้ง่าย ส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้นานกว่าปกติถึง 16 ชั่วโมง ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์จึงควรจำกัดปริมาณกาแฟไว้ที่ 1-2 แก้ว (240-480 มิลลิกรัม) ต่อวัน
  • อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงเหล่านี้จะไม่รุนแรงหรือถี่ขึ้นแม้ดื่มกาแฟตอนท้องว่าง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook