"ขนมจ่ามงกุฎ" ของแทร่ คือภาพไหน

"ขนมจ่ามงกุฎ" ของแทร่ คือภาพไหน

"ขนมจ่ามงกุฎ" ของแทร่ คือภาพไหน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"ขนมจ่ามงกุฎ" นับเป็นขนมไทยโบราณความหมายมงคลอีกชนิดหนึ่งที่อยู่ในตำรับขนมมงคลไทย 9 อย่าง แต่ขนมจ่ามงกุฎเองก็มักจะถูกเข้าใจผิดเสมอ โดยเป็นชื่อขนมที่ถูกจับคู่กับดาราทอง และเรียกสลับกัน

แต่ตามความหมายจากราชบัณฑิตยสถานระบุไว้ว่าขนมจ่ามงกุฎคือชื่อขนมชนิดหนึ่ง คล้ายกะละแมขาว มีไส้เป็นถั่วลิสงเม็ด ห่อด้วยใบตองอ่อนนาบ เช่น งามจริงจ่ามงกุฎ ใส่ชื่อดุจมงกุฎทอง (เห่ชมเครื่องคาวหวาน)

ดาราทอง

ส่วนขนมดาราทอง หรือทองเอกกระจัง ขนมที่จับคู่ด้วยและมักถูกเรียกว่าจ่ามงกุฎนั้นเป็นขนมไทยชนิดหนึ่ง มีส่วนประกอบหลักคือขนมทองเอก (ทำจากแป้งสาลี ไข่แดง กะทิ และน้ำตาล) ปั้นเป็นทรงกลมแป้นเล็กน้อย บากให้เป็นร่อง ๆ คล้ายผลมะยมหรือผลฟักทอง แล้วนำไปวางบนจานแป้งเล็ก ๆ ที่ติดขอบด้วยเมล็ดแตงโมกวาดน้ำเชื่อม (กวาดให้น้ำตาลแห้งเกาะเมล็ดเป็นหนาม) จากนั้นประดับยอดด้วยแผ่นทองคำเปลวที่กินได้

ทองเอกกระจังได้รับการประดิษฐ์ดัดแปลงขึ้นโดยนารถ สิงหเสนี โดยใช้ทองเอกเป็นขนมต้นแบบและใช้เมล็ดแตงโมวางรอบ ๆ จนดูเหมือนลายกระจัง จึงเรียกว่า "ทองเอกกระจัง" ต่อมาคุณหญิงนครราชเสนี (เจือ สิงหเสนี) ผู้เป็นหลานได้ทำขนมชนิดนี้ส่งเข้าประกวดในงานฉลองปีใหม่สมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี โดยเปลี่ยนชื่อขนมเป็น "ดาราทอง" เนื่องจากยังมีลักษณะคล้ายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่เป็นรูปดาวเปล่งรัศมี เมื่อขนมชนะการประกวดจึงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง[ต้องการอ้างอิง]

อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ดาราทองเป็นขนมที่หลายคนสับสนและคิดว่าเป็นจ่ามงกุฎ ซึ่งที่จริงเป็นชื่อขนมไทยอีกชนิดหนึ่ง

สำหรับขนมทองเอกตามความหมายราชบัณฑิตยสถานระบุไว้ว่าชื่อขนมชนิดหนึ่ง เคี่ยวน้ำกะทิกับน้ำตาลจนเหนียวทิ้งไว้ให้เย็นแล้วใส่ไข่แดง แป้งสาลี ตั้งไฟกวนจนแป้งร่อน อัดใส่พิมพ์เป็นรูปต่าง ๆ แต่งหน้าด้วยทองคำเปลวแผ่นเล็ก ๆ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook