"ตำลึงตัวเมีย" กับ "ตำลึงตัวผู้" ต่างกันอย่างไร แบบไหนห้ามกิน

"ตำลึงตัวเมีย" กับ "ตำลึงตัวผู้" ต่างกันอย่างไร แบบไหนห้ามกิน

"ตำลึงตัวเมีย" กับ "ตำลึงตัวผู้" ต่างกันอย่างไร แบบไหนห้ามกิน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ตำลึงเป็นผักอีกชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู ทั้งแกงจืด ต้มจิ้มน้ำพริก ต้มเลือดหมู ใส่ในก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ แต่หลายๆ คนอาจไม่เคยทราบว่าตำลึงมีแบ่งเป็นตำลึงตัวเมีย กับตำลึงตัวผู้ ซึ่งตำลึงทั้งสองชนิดนี้มีความแตกต่างกัน

ตำลึง

ความแตกต่างระหว่างตำลึงเพศเมีย กับตำลึงเพศผู้

ตำลึงเพศเมีย ใบมีลักษณะค่อนข้างมน ขอบใบหยักน้อย

ตำลึงเพศผู้ ใบจะหยักเว้ามากกว่าอย่างเห็นได้ชัด

หลายคนอาจสงสัยว่า แค่ใบตำลึงจะต่างอะไรกัน แต่ความจริงแล้ว ลักษณะใบนี้บ่งบอกถึงเพศของต้นตำลึง ซึ่งส่งผลต่อรสชาติและสรรพคุณทางโภชนาการ ดังนี้

ตำลึงเพศเมีย: นิยมนำมารับประทาน ใบมีรสชาติอร่อย ไม่ขม ทานง่าย มีสรรพคุณทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส

ตำลึงเพศผู้: ไม่นิยมนำมารับประทาน ใบมีรสขม ทานแล้วอาจทำให้ท้องเสีย โดยเฉพาะผู้ที่มีธาตุไม่แข็งแรง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook