11 ต้นอ่อนผัก วิตามิน แร่ธาตุเพียบ ต้านมะเร็งดีกว่ากินผักโตเต็มวัย
"ต้นอ่อนพืชผัก" เป็นอีกทางเลือกของการกินผัก ซึ่งเราจะเรียกต้นอ่อนพืชผักเหล่านี้อีกชื่อว่า "ไมโครกรีน" ซึ่งมีจุดเด่นตรงที่ต้นอ่อนพืชผักเหล่านี้มีสารอาหาารและสารพฤษเคมีสูงกว่าผักโตเต็มวัยเสียอีก ดังนั้นมารู้จักต้นอ่อนผัก 11 ชนิดที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร
11 ต้นอ่อนผักคุณค่าอาหารเพียบ
- ถั่วงอก หรือต้นอ่อนถั่วเขียว
- ถั่วงอกหัวโต หรือต้นอ่อนของถั่วเหลือง
- ต้นอ่อนทานตะวัน
- ต้นอ่อนข้าวสาลี หรือวีทกราส
- ไควาเระ หรือต้นอ่อนหัวไชเท้า
- โตวเหมี่ยว หรือต้นอ่อนถั่วลันเตา
- อัลฟาฟ่า
- ต้นอ่อนบร็อคโคลี่
- ต้นอ่อนกะหล่ำดาว
- ต้นอ่อนแรดิชแดง
- ต้นอ่อนเคล
ไมโครกรีน: ผักจิ๋วแต่คุณค่ามหาศาล
แม้จะตัวเล็กแต่ต้นอ่อนพืชผัก หรือไมโครกรีนกลับอัดแน่นไปด้วยสารอาหารและสารพฤกษเคมีที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าผักทั่วไป งานวิจัยเผยว่าไมโครกรีนมีวิตามินซี แคโรทีนอยด์ สารประกอบฟีนอล ธาตุอาหารสำคัญ (แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี สน และโมลิบดีนัม) รวมไปถึงสารต้านมะเร็งสูงกว่าผักโตเต็มวัย
ด้วยคุณประโยชน์ที่อัดแน่นในตัวจิ๋ว ไมโครกรีนจึงกลายเป็นที่นิยมของผู้รักสุขภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ
ไมโครกรีน: แหล่งสารต้านมะเร็งและคุณประโยชน์ล้ำค่า
งานวิจัยยังยืนยันเพิ่มเติมว่าไมโครกรีนโดยเฉพาะต้นอ่อนของผักตระกูลกะหล่ำ เช่น บรอกโคลี คะน้า กะหล่ำปลี หัวไชเท้า (ไควาเระ) และมัสตาร์ด อุดมไปด้วยสารต้านมะเร็งชนิดกลูโคซิโนเลต (glucosinolate) ซึ่งเป็นสารที่พบเฉพาะในผักตระกูลกะหล่ำเท่านั้น
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิธีการนำผักพื้นบ้านไทยมาเพาะเป็นไมโครกรีนได้หลากหลายชนิด
ไมโครกรีน: ผักจิ๋ว ปลูกง่าย ทานสะดวก อุดมคุณค่า
การเพาะไมโครกรีนนั้น ง่ายดายไม่ต่างจากการปลูกผักทั่วไป แต่ใช้เวลาเพียง 7-10 วันเท่านั้น เมื่อต้นอ่อนเจริญเติบโต มีความสูงประมาณ 1-4 นิ้ว และใบ 2-3 ใบ ก็สามารถเก็บเกี่ยวมาจำหน่ายหรือรับประทานได้
ไมโครกรีนสามารถปลูกได้ทั้งระบบปิดและระบบเปิด
- ระบบปิด: ช่วยลดความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนและการใช้สารเคมี
- ระบบเปิด: ต้องการการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ โดยเฉพาะเรื่องโรคและแมลง
ไมโครกรีนจึงเป็นตัวเลือกใหม่สำหรับผู้ที่ไม่ชอบทานผักทั่วไป เพราะปลูกง่าย ทานสะดวก และอุดมไปด้วยสารอาหาร