รู้ไว้จะได้ไม่ตีกัน "กฎหมายต้นไม้บ้านฉัน บ้านเธอ" แบบไหนได้ แบบไหนไม่ได้

รู้ไว้จะได้ไม่ตีกัน "กฎหมายต้นไม้บ้านฉัน บ้านเธอ" แบบไหนได้ แบบไหนไม่ได้

รู้ไว้จะได้ไม่ตีกัน "กฎหมายต้นไม้บ้านฉัน บ้านเธอ" แบบไหนได้ แบบไหนไม่ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปัญหาเบสิกเลยสำหรับบ้านที่อยู่ติดกัน และมักกวนใจผู้อยู่อาศัยนั่นก็คือปัญหาเรื่องต้นไม้ข้างบ้านที่แผ่กิ่งก้านสาขาออกดอก ออกผลออกมารบกวนบ้านใกล้เคียง ทำให้เกิดการถกเถียงขึ้นมากมายว่าแบบไหนผิด แบบไหนถูก เราจึงรวบรวมกฎหมายเกี่ยวกับต้นไม้ข้างบ้านมาให้ทุกคนได้รับทราบกัน

กฎหมายต้นไม้ข้างบ้าน

"กิ่งไม้-รากไม้"

“มาตรา 1347 เจ้าของที่ดินอาจตัดรากไม้ซึ่งรุกเข้ามาจากที่ดินติดต่อและเอาไว้เสีย ถ้ากิ่งไม้ยื่นล้ำเข้ามา เมื่อเจ้าของที่ดินได้บอกผู้ครอบครองที่ดินติดต่อให้ตัดภายในเวลาอันสมควรแล้วแต่ผู้นั้นไม่ตัด ท่านว่าเจ้าของที่ดินตัดเอาเสียได้”

สรุปคือ

1.ถ้ารากไม้ของต้นไม้เพื่อนบ้านรุกเข้ามาในที่ดินของเรา เราสามารถตัดได้เลยโดยไม่ต้องบอกเจ้าของ และรากไม้ที่ตัดไว้ถือเป็นสิทธิของเรา ไม่ใช่ของเจ้าของต้นไม้

2.การจะตัดกิ่งไม้ ถ้ากิ่งไม้ยื่นเข้ามาในที่ดินของเรา ก่อนจะตัดเราต้องบอกให้เจ้าของตัดภายในเวลาอันสมควรก่อนจึงจะตัดได้ และเมื่อตัดแล้วกิ่งไม้นั้นเป็นสิทธิของเจ้าของต้นไม้ แต่ถ้าเจ้าของต้นไม้ไม่ตัดสามารถเขาไปตัดเองได้แต่ต้องแจ้งเจ้าของต้นไม้ทราบก่อน มิเช่นนั้นอาจโดนข้อหาบุกรุก

"ดอก-ผล"

“มาตรา 1348 ดอกผลแห่งต้นไม้ที่หล่นตามธรรมดาลงในที่ดินติดต่อแปลงใด ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นดอกผลของที่ดินแปลงนั้น”

ดอกไม้ หรือผลยื่นไปในเขตแดนของข้างบ้าน ซึ่งในกรณีที่ดอกหรือผลยังไม่ร่วงหล่นจากต้น ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของต้นไม้ แต่หากดอกไม้ หรือผลร่วงหล่นลงมาในที่ดินของผู้อื่น สามารถหยิบได้ ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย

หรือเจ้าของต้นไม้อาจนำหลักฐานมาแสดงว่าดอกผลที่หล่นลงในที่ดินข้างเคียงเป็นของตนก็ได้ ที่กฎหมายกำหนดข้อสันนิษฐานไว้อย่างนี้ก็เพราะเพื่อป้องกันการโต้เถียงกันระหว่างเจ้าของที่ดินข้างเคียงกันหากปลูกต้นไม้ชนิดเดียวกัน

ความเสียหายจากต้นไม้

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 145 กำหนดว่าไม้ยืนต้นถือเป็นส่วนควบกับที่ดิน และมาตรา 144 กำหนดว่าเจ้าของทรัพย์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์ ซึ่งหมายความว่า เจ้าของที่ดินถือเป็นเจ้าของต้นไม้ด้วย ถึงแม้จะไม่ได้ตั้งใจปลูกก็ตาม ก็ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วย

“มาตรา 1346 ถ้ามีต้นไม้อยู่บนแนวเขตที่ดิน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าของที่ดินทั้งสองข้างเป็นเจ้าของต้นไม้ร่วมกัน ดอกผลเป็นของเจ้าของที่ดินคนละส่วนเสมอกัน และถ้าตัดต้นลงไซร้ ไม้นั้นเป็นของเจ้าของที่ดินคนละส่วนดุจกัน

หลักการปลูกต้นไม้เพื่อเลี่ยงปัญหากับเพื่อนบ้าน

ระยะห่างจากอาคาร

  • โดยทั่วไป ต้นไม้ใหญ่เมื่อโตเต็มที่ ทรงพุ่มจะกว้างประมาณ 7-8 เมตร ดังนั้น ควรปลูกห่างจากตัวอาคารอย่างน้อย 5 เมตร ป้องกันรากดันโครงสร้าง กิ่งก้านบดบังแสง หรือสร้างความเสียหายต่อหลังคา รางน้ำ

ระยะห่างจากกำแพง

  • ต้นไม้ใหญ่บางชนิด มีระบบรากแข็งแรง แผ่กว้าง ควรปลูกห่างจากกำแพงอย่างน้อย 2 เมตร ป้องกันรากดันคาน เสา กำแพง จนเกิดความเสียหาย

กรณีตัวอย่าง

  • จามจุรี ชมพูพันธุ์ทิพย์ หางนกยูงฝรั่ง ไทร ยางอินเดีย ทองหลาง ควรปลูกห่างจากตัวอาคาร กำแพง เป็นพิเศษ เนื่องจากมีเรือนยอดขนาดใหญ่ ระบบรากแข็งแรง

ข้อควรระวัง

  • หลีกเลี่ยงการปลูกต้นไม้ใหญ่ชิดรั้ว ตัวอาคาร เด็ดขาด
  • ศึกษาข้อมูลชนิดของต้นไม้ ขนาดทรงพุ่มเมื่อโตเต็มที่ ก่อนตัดสินใจปลูก
  • ปลูกในพื้นที่ที่รองรับการเจริญเติบโตของต้นไม้ได้อย่างเพียงพอ
  • สังเกตและดูแลต้นไม้เป็นประจำ ตัดแต่งกิ่งก้านที่รกรุงรัง ป้องกันอันตราย

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook