ระวัง 6 พฤติกรรมของคุณแม่ท้อง อาจเสี่ยงอันตรายโดยไม่รู้ตัว
ช่วงเดือนแรกของคุณแม้ตั้งครรภ์ ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่มือใหม่ โดยในช่วง 1-3 เดือนแรก หรือ 13 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์จะเริ่มพัฒนาอวัยวะต่าง ๆ ทั้งสมอง หัวใจ ดวงตา และปาก สิ่งสำคัญสำหรับมารดาคือหลีกเลี่ยงการทำพฤติกรรมบางอย่าง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหรือความผิดปกติ ที่อาจเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ได้ โดยมี 6 พฤติกรรมที่ต้องระวังให้มากของคนท้อง ดังนี้ค่ะ
6 พฤติกรรมที่ต้องระวังให้มากของคนท้อง
1.การกินอาหารมากเกินไป
เชื่อว่าคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ เมื่อรับประทานอาหารย่อมรู้สึกอยากจะให้ลูกได้รับสารอาหารที่ดีไปด้วย ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่เมื่อใดที่จะพูดว่ากินเผื่อลูกในท้องอาจไม่ใช่เรื่องที่ดี เพราะแคลอรี่ที่คุณแม่ต้องการในแต่ละวันจะมีเพียง 1,800 แคลอรี่ ถ้าการทานอาหารมีมากเกินกว่าน้ำหนักตัว อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งเรื่องโรคอ้วน เบาหวาน และความดันโลหิตได้ ที่สำคัญคือการรับประทานอาหารจะต้องมีความปลอดภัย เลือกอาหารที่ดี มีประโยชน์ และไม่มีสารเคมีตกค้าง
2.การสูบบุหรี่และใช้เครื่องดื่มแอลกฮอล์
หนึ่งในพฤติกรรมที่ถือว่ามีความอันตรายมาก และทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์เสี่ยงที่สุด คือ การสูบบุหรี่และการใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะบุหรี่เป็นหนึ่งในสารเสพติดที่สร้างโอกาสแท้งได้สูง แต่ถ้าไม่แท้งอาจพาให้น้ำหนักตัวของทารกน้อยมากจนเสี่ยงเสียชีวิต และบกพร่องทางการเรียนรู้เมื่อเติบโต ส่วนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจทำให้น้ำหนักของทารกสูงผิดปกติ ทำให้เกิดสมาธิสั้น มีปัญหาการมองเห็น การได้ยิน และอาจพิการโดยกำเนิด
3.การใช้ยาที่อาจอันตราย
ยาอันตรายต่าง ๆ ในช่วงตั้งครรภ์ ให้หลีกเลี่ยงการใช้โดยเด็ดขาด ถ้ามีปัญหาเรื่องโรคและจะต้องใช้ยาจริง ควรจะต้องมีการปรึกษาแพทย์ก่อนเท่านั้น เพื่อที่แพทย์จะได้วิเคราะห์ดูว่ายาแบบไหนที่คุณสามารถใช้แล้ว ไม่ส่งผลเสียต่อเด็กในครรภ์
4.การดื่มกาแฟ
แม้กาแฟดำจะดีต่อสุขภาพ แต่สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์แล้วไม่ควรดื่มกาแฟ ไม่ว่าจะเป็นกาแฟประเภทไหนก็ตาม รวมไปถึงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนทั้งหมด เช่น ชา ช็อกโกแลต โกโก้ เครื่องดื่มชูกำลัง และเครื่องดื่มอัดลม โดยเฉพาะในช่วงคุณแม่ตั้งครรภ์ 1-3 เดือน จะมีโอกาสแท้งง่าย ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจและความดันของทารกผิดปกติ
5.การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายดีต่อสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่คนท้องในช่วง 1-3 เดือน ไม่ควรออกกำลังกาย เพราะจะแท้งได้ง่าย และอาจเกิดอาการปวดศีรษะ เจ็บหน้าอก เวียนศีรษะ หรือถึงขั้นเลือดออกบริเวณช่องท้องจำนวนมาก ดังนั้นจึงควรออกกำลังกายเมื่อครรภ์ของคุณแม่เริ่มมีอายุมากขึ้น แต่เป็นการออกกำลังกายแบบเบา ๆ เท่านั้น
6.การทำทุกพฤติกรรมเสี่ยง
ทุกพฤติกรรมเสี่ยงที่แม้แต่คนทั่วไปไม่ควรทำ คุณแม่ตั้งครรภ์เองก็ไม่ควรทำเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นการลดน้ำหนักในช่วงท้อง การอดอาหาร หรือการรับประทานอาหารลดน้ำหนักที่ไม่มีสารอาหารใด ๆ การสัก การเจาะหู หรือการเจาะใด ๆ บริเวณร่างกายที่อาจทำให้ติดเชื้อในกระแสเลือด การอยู่ในพื้นที่มีความร้อนชื้นสูง ซึ่งเรื่องเหล่านี้จะส่งผลกระทบกับเด็กและอาจพาให้เกิดการแท้งได้ง่าย
สิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ คือ การดูแลสุขภาพของตนเอง ด้วยการบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งอุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นสำหรับสตรีมีครรภ์ ต้องรักษาร่างกายให้ชุ่มชื้น พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายเบา ๆ เพื่อส่งเสริมสุขภาพโดยรวม หากมีอาการผิดปกติใด ๆ ในระหว่างตั้งครรภ์ สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และลูกในครรภ์ค่ะ
- อาหาร “บำรุงครรภ์” ของคุณแม่ เตรียมพร้อมตั้งแต่เริ่มตั้งท้อง
- 9 อาการตั้งครรภ์ในระยะ 3 เดือนแรกที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้