"ก๊าซไข่เน่า" คืออะไร อันตรายแค่ไหน อะไรทำให้เกิดก๊าซไข่เน่าได้บ้าง

"ก๊าซไข่เน่า" คืออะไร อันตรายแค่ไหน อะไรทำให้เกิดก๊าซไข่เน่าได้บ้าง

"ก๊าซไข่เน่า" คืออะไร อันตรายแค่ไหน อะไรทำให้เกิดก๊าซไข่เน่าได้บ้าง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Hydrogen sulfide รู้จักกันดีในชื่อของ "ก๊าซไข่เน่า" เนื่องจากเป็นก๊าซที่กลิ่นฉุนรุนแรง แต่ไม่มีสีและติดไฟได้ ก๊าซชนิดนี้เกิดขึ้นในขบวนการสลายตัวของสารอินทรีย์ รวมถึงอุตสาหกรรมหมัก หรือเกี่ยวกับกำมะถัน

เภสัชจลนศาสตร์และฤทธิ์วิทยา Hydrogen sulfide ไม่สามารถซึมผ่านผิวหนัง การเกิดพิษต้องโดยการสูดดมเข้าโดยตรง ในระดับความเข้มข้นที่ไม่สูงมากนัก มีฤทธิ์ระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ และทางเดินอาหาร (ตารางที่ 1) เมื่อความเข้มข้นสูงขึ้นเริ่มทำให้ประสาทรับกลิ่นไม่ทำงาน ผู้ป่วยจะเริ่มไม่ได้กลิ่นที่ความเข้มข้นระดับมากกว่า 200 ppm hydrogen sulfide จะยับยั้งขบวนการหายใจโดยใช้ oxygen ที่ระดับ cell จะปรากฏได้ชัดขึ้นที่ระดับความเข้มข้นสูงๆ

Hydrogen sulfide มีคุณสมบัติคล้าย cyanide โดยจะไปจับกับ cytochrome ในขบวนการถ่ายทอดอิเลคตรอน ขบวนการหายใจโดยใช้ oxygen ถูกขัดขวาง เกิดภาวะ lactic acidosis มากขึ้น พร้อมกับมีการกดการทำงานของระบบประสาทร่วมด้วย

อาการทางคลินิก ผู้ป่วยมีอาการระคายเคืองตา ตาแดง มีน้ำตาออกมาก มีอาการไอจากการระคายเยื่อบุทางเดินอาหาร กรณีที่ก๊าซมีความเข้มข้นสูงเริ่มมีอาการปวดเวียนศีรษะ อาเจียน สับสน ชัก และหมดสติ ที่รุนแรงกว่านี้เกิดอาการช็อค ปอดบวม และน้ำท่วมปอด จากการระคายเคืองโดยตรง ผู้ป่วยจะหยุดหายใจ เกิดภาวะเป็นกรดในร่างกายสูง และเสียชีวิต อาจจะเห็นผิวหนังอักเสบจากการระคายเคืองผิวหนังในเวลาต่อมาได้

การวินิจฉัย จากประวัติได้กลิ่นเหม็นไข่เน่า
ประวัติและตรวจร่างกายมีอาการแสดงของการระคายเคืองต่อเยื่อบุต่างๆ ร่วมกับภาวะพร่อง oxygen ระดับ cell

การรักษา  

การรักษาแบบประคับประคอง
นำผู้ป่วยออกจากสถานที่ที่มี hydrogen sulfide อยู่ ระวังเรื่องการหายใจถ้าภาวะหายใจล้มเหลวต้องช่วยให้หายใจ การให้ oxygen มีความสำคัญที่สุด ระวังรักษาภาวะแทรกซ้อนที่มักจะเกิดคือ ปวดบวม และน้ำท่วมปอด

การรักษาที่จำเพาะ

Sodium nitrite ในขนาดเท่ากับรักษา cyanide คือ 300 mg (3% sodium nitrite 10 ml) ทั้งนี้เพื่อทำให้เกิด methemoglobin เพื่อแย่งจับกับ sulfide ใน mitochondria เกิดเป็น sulfmethemoglobin ซึ่งจะถูกกำจัดออกได้เองโดยไม่ต้องให้ thiosulfate การรักษาดังกล่าวข้อบ่งชี้ไม่ชัดเจน เนื่องจาก hydrogen sulfide โดยธรรมชาติจะถูกกำจัดอย่างรวดเร็ว (มากกว่า 85% ในชั่วโมงแรก) การให้ sodium nitrite ที่ได้ผลจะต้องให้ทันทีขณะที่ผู้ป่วยเพิ่งได้รับ hydrogen sulfide มาใหม่ๆ และเมื่อมีอาการของภาวะพร่อง oxygen เท่านั้น โดยทั่วไปการรักษาแบบประคับประคองก็เพียงพอ การใช้ nitrite จะต้องระมัดระวังมากเพราะผู้ป่วยอาจจะมีอาการข้างเคียงจาก methemoglobin ได้

ตารางที่ 1 ระดับความเข้มข้นของ hydrogen sulfide กับผลที่เกิดกับร่างกาย

 

เอกสารอ้างอิง   -  Haidal CR, Hall AH, Robinson MD, et al. Hydrogen sulfide poisoning from toxic inhalation of roofing asphalt fumes. Ann Emerg Med 1986; 15: 826-30.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook