BURNOUT SYNDROME ภาวะหมดไฟในหญิงวัยทำงาน ที่สาวๆ ยุคใหม่ต้องรู้

BURNOUT SYNDROME ภาวะหมดไฟในหญิงวัยทำงาน ที่สาวๆ ยุคใหม่ต้องรู้

BURNOUT SYNDROME ภาวะหมดไฟในหญิงวัยทำงาน ที่สาวๆ ยุคใหม่ต้องรู้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ความเครียดเรื้อรังในที่ทำงาน ปริมาณงานหนัก และการใช้ชีวิตที่กดดัน รวมถึงงานที่ซับซ้อนที่ต้องทำให้เสร็จอย่างรวดเร็ว  ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะ Burnout Syndrome ในคนทำงาน หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ตรวจสอบและปล่อยให้สะสมเมื่อเวลาผ่านไป อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าได้

รู้จักภาวะ BURNOUT SYNDROME อาการหมดไฟ

สำหรับคนที่ทำงานมานาน ย่อมต้องเผชิญกับปัญหาภาวะหมดไฟได้เช่นกัน แต่รู้หรือไม่ว่าที่มากกว่านั้น คือ ภาวะ BURNOUT SYNDROME เป็นปัญหาทางจิตใจโดยตรง เพราะเป็นความหมดไฟที่พาให้เกิดความสิ้นหวังไปด้วย ซึ่งมักเกิดขึ้นกับผู้หญิงในวัยทำงานมากพอสมควร ยิ่งถ้ามีความเครียดสูง ไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างถูกต้อง มีความเหนื่อยล้าจนกลายเป็นสภาวะอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป จะยิ่งมีความอันตรายพอสมควร เพราะเมื่อป่วยเป็นภาวะนี้แล้ว จะทำให้รู้สึกเบื่อหน่ายตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำอะไรก็รู้สึกไม่สบายใจ มีอารมณ์ที่ไม่คงที่ เหนื่อยล้า สูญเสียพลังงาน ไม่ชอบงานที่ทำอยู่ เป็นเรื่องที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง เป็นเชิงลบ ขาดความสุขในการทำงาน เรียกได้ว่าหมดทุกแรงจูงใจที่จะทำงานให้ดีมากขึ้น ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลากหลายปัจจัย

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะหมดไฟ

การทำงานหนักหรือทำงานที่ไม่ได้ชอบ รวมไปถึงการทำงานที่รักแต่ต้องอยู่ในสภาพสังคมที่กดดันสูง มีเพื่อนร่วมงานไม่ดี ถูกตำหนิบ่อยครั้ง รวมไปถึงการมีปัญหาด้านการตัดสินใจ จะทำให้เสี่ยงต่ออาการ BURNOUT SYNDROME ได้มากเช่นกัน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยโดยรวม ที่ผู้ต้องประสบปัญหาไม่สามารถแก้ไขได้ ไม่มีผู้ให้คำปรึกษา จำเป็นต้องแก้ไขด้วยตัวคนเดียว จึงเกิดเป็นความรู้สึกไร้ตัวตน ไม่มีคุณค่า ไม่ได้รับการตอบรับหรือตอบแทนใด ๆ ที่เหมาะสม จึงส่งผลไปสู่ การใช้ชีวิตที่ไม่มีจุดมุ่งหมาย รู้สึกเบื่อหน่ายและอาจเสี่ยงกลายเป็นภาวะซึมเศร้าที่จะฆ่าตัวตายได้ง่ายเลยทีเดียว สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะนี้มากที่สุด คือ ผู้หญิงวัยทำงานที่ต้องอยู่ในตำแหน่งหน้าที่กดดันสูง มีความรับผิดชอบหนักหน่วง หรือแม้แต่กลุ่มของคนทำงานเป็นแม่บ้าน พนักงานรักษาความปลอดภัย และอาชีพอื่น ๆ ก็สามารถเผชิญต่อสภาวะนี้ได้เช่นกัน

วิธีดูแลตัวเอง พร้อมแนวทางป้องกันภาวะ BURNOUT SYNDROME

  • เมื่อถึงบ้านควรพักผ่อนอย่างเต็มที่ หยุดการใช้งานโซเชียลต่าง ๆ และหยุดการทำงาน ควรทิ้งไว้ที่ทำงานเท่านั้นไม่ควรนำงานกลับมาบ้าน
  • หยุดความวิตกกังวลและความกังวลใจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน พัฒนาทักษะการทำงานของตัวเองและพัฒนาด้านจัดการปัญหา เพื่อรับมือเรื่องต่าง ๆ ในอนาคต
  • เลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเป็นอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำเปล่าสะอาดตลอดทั้งวัน โดยเป็นการจิบเรื่อย ๆ ปริมาณ 8 แก้ว เพื่อทำให้ระบบภายในมีการทำงานอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ
  • ทำกิจกรรมที่ช่วยลดความเครียด เมื่อถึงวันหยุดควรต้องหยุดจริง ๆ แล้วหาการทำกิจกรรมที่คุณชอบ เพื่อเป็นการฟื้นฟูจิตใจ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกาย กระตุ้นสมองให้ผลิตสารเอ็นโดรฟิน และทำให้เซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • เริ่มการพัฒนางานและปรับทัศนคติใหม่ ทำความเข้าใจต่อเนื้องานและองค์กรรวม ไปถึงเพื่อนร่วมงานให้มากขึ้น ลองเปิดใจเพื่อรับฟังคนในครอบครัว เพื่อน คนรอบข้าง หรือมีการปรึกษาปัญหากับทีมงานที่ทำอยู่
  • ปรึกษากับจิตแพทย์เพิ่มเติม เพื่อทำให้คุณได้ระบายและได้รับฟังความคิดเห็น ที่จะนำมาสู่การปรับปรุงตัวของคุณได้มากขึ้น

แม้ว่าการขาดแรงจูงใจในการทำงาน อาจดูไม่รุนแรงพอที่จะจัดเป็นภาวะซึมเศร้า แต่การรู้จักสัญญาณและอาการต่าง ๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญนะคะ การรู้สึกหมดแรงบันดาลใจ ขาดพลังงาน และรู้สึกสิ้นหวัง ล้วนเป็นสัญญาณบ่งชี้ที่ไม่ควรละเลย หากความรู้สึกเหล่านี้ยังคงอยู่ และเริ่มส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน อาจถึงเวลาต้องขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต สิ่งสำคัญคือต้องพิจารณาความเป็นไปได้ของภาวะซึมเศร้า และปรึกษาจิตแพทย์ทันที เพื่อการประเมินและการรักษาที่เหมาะสม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook