รถสายด่วน 1669 มีกี่สี แต่ละสีหมายถึงอะไร แบบไหนสำหรับผู้ป่วยวิกฤต

รถสายด่วน 1669 มีกี่สี แต่ละสีหมายถึงอะไร แบบไหนสำหรับผู้ป่วยวิกฤต

รถสายด่วน 1669 มีกี่สี แต่ละสีหมายถึงอะไร แบบไหนสำหรับผู้ป่วยวิกฤต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สพฉ. แนะข้อควรรู้ก่อนโทรแจ้งสายด่วน 1669  เผยผู้โทรแจ้งต้องตั้ง ย้ำเป็นสายด่วนที่ให้บริการเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตินอกสถานพยาบาล  สายด่วน 1669  เป็นสายด่วนฉุกเฉินที่หลายๆ คนคุ้นเคย  หากมีอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินขึ้นมา  ก็สามารถโทรแจ้งได้ทันที  ซึ่งตามหลักของการทำงานของสายด่วน 1669 นั้นเมื่อมีประชาชนโทรเข้ามาเพื่อ  เจ้าหน้าที่จะประเมินอาการว่า เข้าข่ายอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือไม่   เข้าข่ายอาการแบบไหน ก่อนส่งทีมผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินเข้าช่วยเหลือ  ซึ่งปกติแล้วจะแบ่งระดับความฉุกเฉินออกเป็น 5 ระดับ

  • ระดับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (สีแดง) 
  • ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน (สีเหลือง)
  • ผู้ป่วยฉุกเฉิน ไม่รุนแรง (สีเขียว)
  • ผู้ป่วยทั่วไป (สีขาว)
  • ผู้รับบริการสาธารณสุขอื่น ๆ (สีดำ)


เมื่อประเมินว่าเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ก็จะส่งทีมไปรับผู้ป่วย และส่งต่อไปรักษาในโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุด ให้ทันท่วงทีต่อการรักษาชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉิน  เพราะหากส่งผู้ป่วยถึงมือแพทย์ช้าก็จะทำให้เสี่ยงต่อชีวิต โดยเมื่อเจ้าหน้าที่ส่งผู้ป่วยฉุกเฉินถึงโรงพยาบาลแล้วก็เป็นหน้าที่ของโรงพยาบาลนั้นๆ ที่จะทำการรักษาจนพ้นวิกฤตแล้วจึงจะพิจารณาส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยมีสิทธิหรือมีประวัติในการรักษา

รอ.นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ยังกล่าวถึงการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินผ่านสายด่วน 1669 ว่า เป็นสายด่วนที่ให้บริการเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตินอกสถานพยาบาล  แต่หากผู้ป่วยฉุกเฉินมีอาการเกิดขึ้นในสถานพยาบาล ตามหลักการแล้ว ก็ต้องเข้าสู่ระบบของสถานพยาบาลนั้น ๆ ที่ต้องให้การดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐานวิชาชีพ  แต่ถ้าเกินขีดความสามารถ สถานพยาบาลนั้น ๆ ก็จะต้องมีการประเมินส่งต่อผู้ป่วย

ส่วนข้อควรรู้ก่อนโทรแจ้งสายด่วน 1669  นั้น  มีหลักสำคัญอยู่  9 ข้อ คือ

1. เมื่อพบเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินให้ตั้งสติและโทรแจ้งสายด่วน 1669

2. ให้ข้อมูลว่าเกิดเหตุอะไรมีผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บในลักษณะใด

3. บอกสถานที่เกิดเหตุเส้นทางจุดเกิดเหตุให้ชัดเจน

4. บอกเพศ ช่วงอายุ อาการจำนวนผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ

5. บอกระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย

6. บอกความเสี่ยงที่อาจเกิดซ้ำ เช่นอยู่กลางถนนหรือรถติดแก๊ส

7. บอกชื่อผู้แจ้งเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้

8. ช่วยเหลือเบื้องต้นตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่  

9. รอทีมกู้ชีพมารับผู้ป่วยเพื่อนำส่งโรงพยาบาล

เลขาธิการ สพฉ. ยังระบุว่า อยากให้ประชาชนเข้าใจการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ต้องทำการซักถามประวัติอย่างละเอียด เพื่อประเมินอาการผู้ป่วยอย่างถูกต้องเหมาะสม  และบางกรณีอาจไม่สามารถส่งทีมเข้าช่วยเหลือได้เสมอไป เพราะบางครั้งไม่ใช่เหตุฉุกเฉินจริง ๆ แต่เจ้าหน้าที่อาจให้คำแนะนำให้ไปรับบริการอื่นๆ ได้  ขอย้ำว่าสายด่วน 1669 เป็นสายด่วนแห่งชีวิต ดังนั้นผู้โทรแจ้งต้องมีเหตุฉุกเฉินจริง ๆ และที่สำคัญไม่ควรโทรเล่น เพราะอาจตัดโอกาสผู้ป่วยฉุกเฉินรายอื่นได้





แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook