7 ผลไม้ต้านมะเร็ง กินได้ทุกวันทั้งก่อน และหลังป่วย

7 ผลไม้ต้านมะเร็ง กินได้ทุกวันทั้งก่อน และหลังป่วย

7 ผลไม้ต้านมะเร็ง กินได้ทุกวันทั้งก่อน และหลังป่วย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หากเราลองมองรอบตัวให้ดี จะพบว่าการดำเนินชีวิตของเรานั้นมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ วันนี้หมอมีวิธีที่จะป้องกันไม่ให้โรคร้ายมาเยือนหรือช่วยบรรเทาให้อาการของโรคเบาบางลงง่าย ๆ คือการเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึง ผลไม้ต้านมะเร็งทั้ง 7 อย่าง

7 ผลไม้ต้านมะเร็ง กินได้ทุกวัน

มังคุด

สารสกัดจากมังคุดช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด TH1 และ TH 17 ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยกำจัด และป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็งเกือบทุกชนิดได้ ไม่เว้นแม้แต่มะเร็งเต้านม อีกทั้งเซลล์เม็ดเลือดขาว TH1 ยังเป็นสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรง สามารถช่วยป้องกันโรคได้ดีขึ้น

ทับทิม

น้ำทับทิมอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง และยังมีไฟโตนิวเทรียนท์ รวมถึงกรดเอลลาจิก (Ellagic Acid) ที่มีคุณสมบัติช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในร่างกายมนุษย์ และยับยั้งการขยายตัวของเซลล์ผิดปกติซึ่งอาจจะกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ โดยเฉพาะเซลล์มะเร็งผิวหนัง มะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก

ส้ม

นอกจากส้มรวมไปถึงมะนาว และเลม่อน จะเปี่ยมไปด้วยวิตามินซีแล้ว ยังมีคุณสมบัติต้านมะเร็งได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีสารแคโรทีนอยด์ค่อนข้างสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย มีส่วนช่วยลดโอกาสในการเกิดมะเร็งที่ปาก กล่องเสียง

มันเทศ

ในมันเทศหรือมันหวานยังเปี่ยมไปด้วยกรดคาเฟโออิวควินิก (Caffeoylquinic Acid) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม

องุ่น

องุ่นเขียวอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยให้ร่างกายป้องกันมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมากได้ ในขณะที่องุ่นแดงนั้นช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งและช่วยป้องกันเนื้องอกได้อีกด้วย

ลิ้นจี่

ในเนื้อลิ้นจี่ และเปลือกลิ้นจี่มีสารฟลาโวนอยด์หลายชนิด ซึ่งสารฟลาโวนอยด์ในลิ้นจี่นั้นมีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งได้ โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม

เบอร์รี่

ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ โดยเฉพาะบลูเบอร์รี่มีสารพฤกษเคมี จำพวกแอนโทไซยานิน (Anthocyanins) สูง ซึ่งช่วยชะลอการเกิดเซลล์มะเร็ง และลดเซลล์มะเร็งเต้านมในหนูทดลองได้ถึง 60-75%

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือทานอาหารให้หลากหลาย ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ไม่มากหรือน้อยเกินไป

สนับสนุนข้อมูลโดย นพ.วิกรม เจนเนติสิน

แพทย์เฉพาะทางอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยาและเคมีบำบัด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook