"ข้าวกล้อง" กับ "ข้าวไรซ์เบอร์รี่" กินข้าวแบบไหนดีกว่ากัน

"ข้าวกล้อง" กับ "ข้าวไรซ์เบอร์รี่" กินข้าวแบบไหนดีกว่ากัน

"ข้าวกล้อง" กับ "ข้าวไรซ์เบอร์รี่" กินข้าวแบบไหนดีกว่ากัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของคนไทยก็เช่นกัน ถึงแม้จะเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่สำคัญ แต่ด้วยความคุ้นเคย หลายคนจึงขาดข้าวไม่ได้ การเลือกข้าวที่ส่งเสริมสุขภาพจึงเป็นทางเลือกที่ดีไม่น้อย ระหว่างข้าวกล้องและข้าวไรซ์เบอร์รี่ แบบไหนดีกว่ากัน เรามาหาคำตอบกัน

"ข้าวกล้อง" กับ "ข้าวไรซ์เบอร์รี่" แบบไหนดีกว่ากัน

ข้าวกล้อง คือขุมสมบัติแห่งสารอาหารที่ซ่อนอยู่ภายในเมล็ดข้าว ด้วยกระบวนการผลิตที่เพียงแค่กะเทาะเปลือกออก ทำให้ข้าวกล้องยังคงอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่สำคัญ อาทิ วิตามินบีรวม ฟอสฟอรัส แคลเซียม เหล็ก โปรตีน และใยอาหารสูง ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่ขาดหายไปในข้าวขาวทั่วไป การบริโภคข้าวกล้องจึงเป็นการเติมเต็มสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายให้ครบถ้วน นอกจากนี้ใยอาหารในข้าวกล้องยังช่วยให้รู้สึกอิ่มนาน ช่วยควบคุมน้ำหนัก และส่งเสริมสุขภาพระบบขับถ่ายอีกด้วย

ข้าวไรซ์เบอร์รี่เป็นข้าวที่ได้รับการคัดเลือกและพัฒนาจากข้าวเจ้าหอมนิล ม. เกษตรศาสตร์ (พันธุ์พ่อ) กับข้าวขาวดอกมะลิ 105 สถาบันวิจัยข้าว (พันธุ์แม่) ลักษณะประจาพันธุ์ ความสูงประมาณ 106 ซม. อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 130 วัน เมล็ดเรียวยาว สีม่วงดำ ข้าวไรซ์เบอร์รี่มีธาตุเหล็กและสารต้านอนุมูลอิสระสูง มีใยอาหารที่อยู่ในราข้าวสูงจึงช่วยชะลอการดูดซึมน้ำ ทาให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นช้ากว่าการบริโภคข้าวกล้องและข้าวขาวขัดทั่วไป จึงเหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน มีสรรพคุณช่วยลดระดับไขมันและคอเลสเตอรอล ช่วยทาให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

คุณค่าทางโภชนาการ ในรำข้าวไรซ์เบอร์รี่มีแอนโทไซยานิน(Anthocyanin) ในระดับความเข้มข้น 15.7 มก./100กรัม รำข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีค่า ORAC ถึง 400 Trolox eq./g งานวิจัยล่าสุดพบว่าในรำข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีสารออกฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง Lupeol และสารอื่นๆ ที่กำลังอยู่ในระหว่างการสกัด นับเป็นครั้งแรกที่มีรายงานการค้นพบ Lupeol ในข้าว ในส่วนของน้ำมันรำข้าวบีบเย็น เมื่อเทียบกับน้ำมันงาแบบหีบเย็น มี beta-carotene อยู่ถึง 23 µg/g และ lutein 14-15µg/g (ไม่มีในน้ำมันงา) พร้อมทั้ง gamma-oryzanol 135 µg/g โดยมีค่า ORAC อยู่ที่ 215 µmol Trolox/

จากการทดสอบคุณสมบัติของสารสกัดจากรำข้าวไรซ์เบอร์รี่ ในการต่อต้านเซลล์มะเร็ง 3 ชนิด คือเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Caco-2) เซลล์มะเร็งเต้านม (MCF-7) และเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (HL-60) พบว่าสารสกัดทั้งชนิดไม่สกัดน้ำมันออก (DCM fraction) และชนิดที่สกัดน้ำมันออกไปบ้าง (MeOH fraction) ให้ผลยับยั้งเซลล์มะเร็งทั้ง 3 ชนิดได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะสารสกัดจาก DCM fraction ให้ผลที่ดีกว่าสารสกัดจาก MeOH fraction และเซลล์มะเร็งในเม็ดเลือดขาว มีความไวต่อการถูกชักนำให้เกิดการตาย ภายหลังการได้รับสารสกัดได้เร็วที่สุด ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า รำข้าวไรซ์เบอร์รี่เป็นแหล่งของสารออกฤทธิ์ต้านมะเร็ง

สรุปคือทั้งข้าวกล้อง และข้าวไรซ์เบอร์รี่ต่างมีประโยชน์ต่อสุขภาพ สำหรับข้าวกล้องนั้นจะโดดเด่นเรื่องการทำให้รู้สึกอิ่มนาน ช่วยควบคุมน้ำหนัก ส่งเสริมสุขภาพระบบขับถ่าย ส่วนข้าวไรซ์เบอร์รี่นั้นยังช่วยต่อต้านมะเร็งอีกด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook