"สุนัขถูกงูกัด" ต้องทำอย่างไร รับมือหรือดูแลเบื้องต้นอย่างไรบ้าง

"สุนัขถูกงูกัด" ต้องทำอย่างไร รับมือหรือดูแลเบื้องต้นอย่างไรบ้าง

"สุนัขถูกงูกัด" ต้องทำอย่างไร รับมือหรือดูแลเบื้องต้นอย่างไรบ้าง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

งูเป็นสัตว์เลือดเย็นที่สามารถอาศัยอยู่ในสภาพอากาศหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นทะเลทราย ป่าชื้น หนองน้ำ หรือทุ่งหญ้า และมีหลายสายพันธุ์ของงูที่พบได้ทั่วไปในรัฐโคโลราโด เนื่องจากงูเป็นสัตว์เลือดเย็น พวกมันจึงไม่มีกลไกในการควบคุมอุณหภูมิร่างกายของตัวเอง ดังนั้นจึงมักจะแสวงหาสถานที่อบอุ่น ในช่วงฤดูหนาว งูจะจำศีลอยู่ใต้ก้อนหิน ในอุโมงค์ หรือรู และบางครั้งอาจเข้ามาหลบอยู่ในบ้านของมนุษย์ได้ และแน่นอนว่าสัตว์เลี้ยงแสนรักของเราก็อาจจะได้รับอันตรายจากงูไปด้วย สำหรับสุนัขหากถูกงูกัดต้องทำอย่างไรบ้าง

สุนัขถูกงูกัดต้องทำอย่างไร ปฐมพยาบาลได้ไหม

สัตว์เลี้ยงประมาณ 80% ที่ถูกงูกัดจะรอดชีวิตได้หากได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการตอบสนองที่รวดเร็วจึงมีความสำคัญมาก ซึ่งรวมถึงการสังเกตอาการเริ่มแรกของการถูกงูกัด และรีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันที แม้ว่าความรุนแรงของอาการจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น แต่คุณควรสังเกตอาการเหล่านี้ในสุนัขของคุณ

เมื่อสุนัขถูกงูกัด สัญญาณที่เห็นได้ชัดคือ รอยเขี้ยว 2 จุดบริเวณที่ถูกกัด น้องหมาจะรู้สึกเจ็บปวดและอาจร้องออกมา หรือเดินขากะเก็งหากถูกกัดที่ขา แต่ละชนิดของงูมีพิษที่ส่งผลต่อร่างกายแตกต่างกันไป โดยแบ่งได้เป็นหลักๆ ดังนี้

  • พิษประสาท (Neurotoxins): ทำให้น้องหมาเดินเซ เกร็ง ชัก หรือเป็นอัมพาต พบได้ในงูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม และงูทะเล
  • พิษทำลายกล้ามเนื้อ (Myotoxin): ทำให้กล้ามเนื้อปวดเมื่อยรุนแรง กล้ามเนื้อแข็ง และปัสสาวะสีเข้ม พบได้ในพิษงูทะเล
  • พิษทำลายเม็ดเลือด (Hemotoxins): ทำให้เลือดออกง่าย มีรอยช้ำ และเลือดแข็งตัวช้า พบได้ในพิษงูกะปะ งูเขียวหางไหม้ และงูแมวเซา

วิธีดูแลเบื้องต้นหลังสุนัขถูกงูกัด

เวลาเป็นสิ่งสำคัญมากเมื่อสุนัขถูกงูกัดค่ะ การพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์โดยเร็วที่สุด จะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายได้ทันท่วงที ในระหว่างที่พาไปโรงพยาบาลสัตว์ เราก็สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้น้องหมาได้ เพื่อบรรเทาอาการและช่วยให้น้องปลอดภัยยิ่งขึ้น

  1. ล้างแผล: ล้างบริเวณที่ถูกกัดด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือ เพื่อชะล้างพิษออกให้มากที่สุด
  2. อย่ามัดแผล: การมัดแผลอาจทำให้เนื้อตายได้
  3. เก็บหลักฐาน: หากทำได้ ให้เก็บซากงูหรือถ่ายรูปไว้ เพื่อให้สัตวแพทย์สามารถเลือกเซรุ่มรักษาได้อย่างเหมาะสม
  4. รีบพาไปหาหมอ: พาสุนัขไปพบสัตวแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook