"คอเลสเตอรอล" กับ "ไตรกลีเซอไรด์" ต่างกันอย่างไร แบบไหนเลขเกินแล้วอันตรายกว่า

"คอเลสเตอรอล" กับ "ไตรกลีเซอไรด์" ต่างกันอย่างไร แบบไหนเลขเกินแล้วอันตรายกว่า

"คอเลสเตอรอล" กับ "ไตรกลีเซอไรด์" ต่างกันอย่างไร แบบไหนเลขเกินแล้วอันตรายกว่า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พออายุเพิ่มมากขึ้นการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ดูจะเป็นหนึ่งในเรื่องปกติ โดยเฉพาะเมื่อจะต้องตรวจเช็กสุขภาพเบื้องต้น การเจาะเลือดเพื่อเช็กค่าไขมันสะสมในเลือดก็ดูจะเป็นเรื่องเบสิก แต่เมื่อต้องเจาะเลือดเพื่อเช็กค่าไขมันสะสมนั้นเราจะได้ยินศัพท์สำคัญๆ อยู่ 2 ชื่อคือคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ สำหรับบางคนอาจไม่ทราบความหมาย และความแตกต่างของ 2 คำนี้

"คอเลสเตอรอล" กับ "ไตรกลีเซอไรด์" ต่างกันอย่างไร

คอเลสเตอรอลเป็นสารประเภทไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างใช้เองจากตับ โดยคอเรสเตอรอลเป็นสารประเภทไขมันกึ่งแข็งกึ่งเหลวที่มีความจำเป็นต่อร่างกายในการสร้างเซลล์ ผลิตวิตามิน ฮอร์โมน และสารต่างๆ นอกจากร่างกายจะสร้างคอเลสเตอรอลได้เองแล้ว คอเลสเตอรอลที่เหลือยังมาจากอาหารที่เราทาน ซึ่งพบในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์เท่านั้น เช่นนม ไข่ เครื่องในสัตว์ หากทานอาหารเหล่านี้ซึ่งมีไขมันอิ่มตัวสูงก็จะส่งผลให้มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงตามมา ซึ่งเป็นตัวการทำร้ายสุขภาพ

คอเลสเตอรอลแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ

 
ไขมันดี หรือ HDL ทำหน้าที่ป้องกันและต่อต้านการเกิดโรคหลอดเลือดแข็งตัว ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ สำหรับ HDL นั้น ยิ่งสูงยิ่งดีต่อร่างกาย

ไขมันชนิดไม่ดี หรือ LDL เป็นคอเลสเตอรอลที่ก่อให้เกิดการการสะสมของไขมันตามผนังหลอดเลือดจนเกิดการอุดตัน เป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา

ไตรกลีเซอไรด์ เปรียบเสมือนไขมันสะสมในร่างกายของเรา เกิดขึ้นได้จากสองกระบวนการหลัก คือ

  • การสังเคราะห์ภายในร่างกาย: ตับของเราจะผลิตไตรกลีเซอไรด์ขึ้นมาจากพลังงานส่วนเกินที่ไม่ได้ถูกนำไปใช้ เช่น คาร์โบไฮเดรตจากข้าว แป้ง น้ำตาล
  • การรับจากอาหาร: เมื่อเรารับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น หมูสามชั้น เนย หรือน้ำมันต่างๆ ไขมันเหล่านี้จะถูกเปลี่ยนรูปเป็นไตรกลีเซอไรด์และสะสมในร่างกาย

คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์เท่าไรดีต่อสุขภาพ

คอเลสเตอรอลทั้งหมด (Total Cholesterol)

น้อยกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

LDL

-ผู้ที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง ควรควบคุม LDL ให้น้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

-ผู้ที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดปานกลาง ควรควบคุม LDL ให้น้อยกว่า 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

-ผู้ที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดต่ำ ควรควบคุม LDL ให้น้อยกว่า 160 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

HDL

-ผู้ชายมากกว่า 45 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

-ผู้หญิงมากกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)

-น้อยกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

บทสรุป : หากตัวเลขของทั้งคอเลสเตอรอลในส่วนของ LDL หรือไขมันชนิดไม่ดีเกินเกณฑ์ และตัวเลขของไตรกลีเซอไรด์เกิน ถือว่าเป็นอันตราย และเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคด้วยกันทั้งสิ้น

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook