"แคลเซียม" กินมากๆ ทำให้กระดูกงอกจริงหรือไม่

"แคลเซียม" กินมากๆ ทำให้กระดูกงอกจริงหรือไม่

"แคลเซียม" กินมากๆ ทำให้กระดูกงอกจริงหรือไม่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ร่างกายของเราไม่สามารถสร้างแคลเซียมขึ้นมาเองได้ ดังนั้นเราจึงต้องได้รับแคลเซียมจากอาหารที่บริโภคเข้าไป แคลเซียมมีบทบาทสำคัญต่อร่างกายหลายส่วน ทั้งกระดูก ฟัน กล้ามเนื้อ และระบบประสาท หากร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว แต่ก็มีหลายๆ คนตั้งคำถามว่าถ้ากินแคลเซียมมากๆ จะทำให้กระดูกงอกจริงหรือไม่

สำหรับเรื่องนี้คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีการเผยแพร่ข้อมูลโดยมีรายละเอียดดังนี้

"แคลเซียม" กินมากๆ ทำให้กระดูกงอกจริงหรือไม่

กระดูกงอก (osteophyte หรือ bone spur) นั้นเกิดจากการที่มีหินปูนมาจับตามข้อ หรือเอ็น แล้วทำให้เกิดเป็นก้อนหรือลักษณะคล้ายๆหนามแหลมๆ โผล่ขึ้นมา ส่วนที่พบได้บ่อย เช่น ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อไหล่ สาเหตุที่เกิดขึ้นนั้นเนื่องมาจากการเสื่อมหรือสึกหรอของกระดูกบริเวณนั้น เช่น การที่ผู้สูงอายุมีร่างกายที่เสื่อมลงส่งผลให้กระดูกเกิดการสึกหรอและเสื่อมลงไปด้วยเช่นกัน และจากการที่ร่างกายไม่สามารถสร้างหรือทดแทนส่วนที่สึกหรอนั้นได้ จึงมีหินปูนพอกตัวขึ้น ซึ่งก็คือการเกิดกระดูกงอกขึ้นมานั่นเอง การรับประทานแคลเซียมเสริมเข้าไปเพื่อให้ได้ตามปริมาณที่แนะนำไว้นั้นเป็นการดี เนื่องจากแคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่สำคัญ เป็นส่วนประกอบของกระดูก ฟัน และมีบทบาทในกระบวนการต่างๆของร่างกาย ในแต่วัยจะมีความต้องการปริมาณแคลเซียมที่แตกต่างกัน โดยประเทศไทยได้กำหนดปริมาณแคลเซียมที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (Thai Recommended Daily Intakes– Thai RDI)เท่ากับ 800 มิลลิกรัม ซึ่งปริมาณนี้สามารถป้องกันภาวะขาดแคลเซียมได้ โดยปริมาณแคลเซียมที่แนะนำให้บริโภคต่อวันนั้นแตกต่างกันไปตามเพศและอายุ หากในสตรีตั้งครรภ์จะมีความต้องการเพิ่มขึ้นเป็น 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นต้น สำหรับผลข้างเคียงของการรับประทานแคลเซียมเกินขนาดพบว่าทำให้เกิดอาการมึนงง หัวใจเต้นผิดปกติ คลื่นไส้ พบผื่นที่ผิวหนัง อ่อนเพลีย ปวดหัว ปากแห้ง ระคายเคืองกระเพาะ แต่ไม่พบรายงานการทำให้เกิดกระดูกงอกแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางกลุ่มต้องระมัดระวังการรับประทานแคลเซียม เช่น ผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง

Reference: Calcium. In: DRUGDEX® Evaluations. [Online]. 2010 Oct 22. Available from: MICROMEDEX® Healthcare Series; 2010. [cited 2010 Oct 29].

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook