<font color=996633>พ่อแม่ควรทำอย่างไร เมื่อลูกรักเพศเดียวกัน</font>

<font color=996633>พ่อแม่ควรทำอย่างไร เมื่อลูกรักเพศเดียวกัน</font>

<font color=996633>พ่อแม่ควรทำอย่างไร เมื่อลูกรักเพศเดียวกัน</font>
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คงจะมีบ่อยครั้ง ที่คุณพ่อคุณแม่ไปไหน ๆ แล้ว ได้พบเห็นกริยาใกล้ชิดสนิทสนมที่ผู้หญิง 2 คนมีต่อกันเป็นพิเศษ เช่น เดินจูงมือ โอบไหล่ มองตาเง้างอน อาจจะเป็นสาวผมสั้น-ผมยาว หรือ ผมยาว-ผมยาว หรือ ผมสั้น-ผมสั้น ก็แล้วแต่ คุณพ่อคุณแม่มีความรู้สึกอย่างไรบ้างคะ ? เฉย ๆ ใช่ไหม ไม่ได้ให้ความสนใจอะไรเป็นพิเศษ หรือว่ารู้สึก "ขัดหูขัดตา" คิดอยู่ในใจว่า "ลูกเต้าใครนะ" เลี้ยงดูยังไงถึงปล่อยให้รักชอบเพศเดียวกันแบบนี้ แต่ถ้า 1 ใน 2 คนนั้น เป็นลูกหลานในครอบครัวตนเอง ความรู้สึกของคุณพ่อคุณแม่จะเปลี่ยนไปทันทีใช่ไหมคะ จะมีปฏิกริยาเหล่านี้ตามมาใช่หรือเปล่า? - วิตกกังวล ไม่สบายใจ เฝ้าคิดว่าจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงลูกได้อย่างไร รักเพศเดียวกัน - สั่งห้ามให้ลูกเลิกคบเพื่อนคนนั้น - อยากพาลูกไปหาจิตแพทย์ - โกรธลูกที่ทำตัวเสื่อมเสีย - ห่วงใยในอนาคตของลูกยิ่งกว่าครั้งใด - พยายามหาต้นตอของคนหรือ "สิ่ง" ที่ทำให้ลูกเป็นแบบนั้น - ลงโทษลูกด้วยวิธีการต่าง ๆ - โทษตัวเองว่าเลี้ยงลูกไม่ดี ฯลฯ รู้มั๊ยคะว่า วิธีการแสดงออกหรือการกระทำต่าง ๆ เหล่านี้ สร้างแรงกดดันให้กับลูกหลานของเรา มากเพียงใด แน่นอนว่าคงไม่มีพ่อแม่คนไหนต้องการเห็นลูกเป็นทุกข์ เจ็บปวด แต่บางครั้ง "อคติและความเข้าใจผิด" ที่เรามีอยู่ก็ทำให้สิ่งที่ไม่ควรจะเป็น "ปัญหา" กลายเป็นปัญหาขึ้นมาจริง ๆ และอาจรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย จนวันหนึ่ง คุณพ่อคุณแม่อาจพบว่า ตัวเองกับลูกกลายเป็นคนแปลกหน้าต่อกันไปเสียแล้ว! 6 ข้อสำหรับพ่อแม่ เมื่อลูกรักเพศเดียวกัน 1. เริ่มต้นที่ความเข้าใจ ทำความเข้าใจก่อนว่า การที่คนทั่วไปในสังคม (รวมทั้งเราด้วย) มีความรู้สึกด้านลบกับคนที่รักเพศเดียวกันเพราะขาดข้อมูลที่ถูกต้อง มีความเชื่อผิด ๆ ว่าการรักเพศเดียวกันเป็นบาป เป็นโรคติดต่อ เป็นความผิดปกติทางจิตใจ ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็มีผลสรุปออกมาแล้วว่าการรักเพศเดียวกันนั้น เป็นพียงทางเลือกหนึ่งในการดำเนินชีวิตที่ทุก ๆ คนควรได้รับสิทธินี้ ควรขจัดอคติที่ว่าคนรักเพศเดียวกันนั้นเป็นปัญหาสังคม เพราะแท้จริงแล้ว แรงกดดันจากสังคมต่างหากที่สร้างแรงกระทบและก่อปัญหาแก่คนรักเพศเดียวกัน อย่าลืมว่าแม้แต่ในประกาศรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันในมาตรา 26 ก็ระบุเอาไว้ว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง" 2. ถามตัวเองให้ชัดเจนว่า... ลองถามตัวเองสักครั้งว่า ความรักที่เรามีต่อลูกของเรานั้น ต้องมีการจำกัดเงื่อนไขด้วยหรือ พ่อแม่หลายคนเคยพูดว่า ไม่ว่าลูกจะเป็นอย่างไรก็ตาม ลูกก็คือลูก คือสิ่งมีค่าในชีวิต แม้ลูกบางคนจะเคยทำความผิดร้ายแรงเช่นก่อคดีฆาตกรรม เกี่ยวข้องกับยาเสพติด พ่อแม่ก็ยังรัก ยังพร้อมให้ความช่วยเหลือเมื่อลูกเสียใจสำนึกผิด แล้วในกรณีที่ลูกเพียงแต่ต้องการใช้ชีวิตในอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งไม่ได้สร้างปัญหาให้กับใคร ความรังเกียจ เหยียดหยามที่ผู้อื่นมีต่อลูกของเราเป็นสิ่งที่เกิดจากอคติ อุปาทาน ทำไมเราจึงต้องสร้างแรงกดดันให้แก่ลูกของเราอีกด้วย 3. หาคำตอบเรื่องความคาดหวัง ถามตัวเองอีกข้อว่า ที่เราโกรธลูก ไม่พอใจความประพฤติ ของลูกเพราะเราต้องการให้ลูกเป็น ไปตามความคาดหวังของเราใช่หรือไม่ ลองทบทวนย้อนหลังว่าเราคาดหวังอะไรกับลูกบ้าง เราเคยถูกคนอื่นเช่นพ่อแม่ พี่น้อง ญาติ ของเราคาดหวังมาก่อนหรือไม่ ลองนำความรู้สึกของเราเปรียบเทียบกับความรู้สึกของลูก เพื่อหาคำตอบว่า ความคาดหวังนั้น ๆ ก่อให้เกิดผลดีทุกอย่างจริงหรือ? 4. เลิกตั้งมาตรฐานกับลูก เลิกคิด เลิกเข้าใจผิดว่า คนรักเพศเดียวกันนั้นคือ พฤติกรรมการแสดงออกที่ไม่เหมาะสมเสมอไป การที่ลูกของเรามีบุคลิกภาพที่แตกต่างจากเพศเดียวกันคนอื่น ๆ เช่น ไว้ผมทรงเดียวกับผู้ชาย ชอบนุ่งกางเกง ดูเข้มแข็งกว่าผู้หญิงทั่วไป ฯลฯ ไม่ได้หมายความว่า ลูกของเราเป็นคนประหลาด ผิดปกติ นั่นเป็นเพียง รสนิยมและความชอบบางอย่างของเขาเท่านั้น นอกจากนั้น คนที่รักเพศเดียวกันจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น ผู้หญิงรักผู้หญิง ผู้ชายรักผู้ชาย อาจไม่ได้มีบุคลิกภาพนอกแสดงถึงความเป็น ทอม-ดี้-ตุ๊ด-แต๋ว อย่างที่สังคมเรียกขานตลอดเวลา มีคนรักต่างเพศอีกมากมายที่มีบุคลิกภายนอกแตกต่างจากเพศเดียวกันกับตน เช่น ผู้หญิงจำนวนมากที่ชอบไว้ผมสั้น แต่กายทะมัดทะแมง มีท่าทางห้าวหาญ ฯลฯ เพราะฉะนั้น อย่าใช้ภาพลักษณ์ภายนอก มากำหนดมาตรฐานและตัดสินลูกของเรา ตราบใดที่เขารู้จักกาละเทศะ มั่นใจในตนเอง ประพฤติตนเป็นคนดีของสังคม เช่นเดียวกับเราเองที่มั่นใจในเอกลักษณ์และตัวตนของเรา อย่าลืมว่า ความแตกต่างหลากหลายเป็นสิ่งปกติบนโลกใบนี้ 5. อย่าดูถูกว่าการรักเพศเดียวกันเป็นแต่เรื่องบนเตียง เซ็กส์ หรือกามารมณ์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในชีวิตก็จริง แต่ไม่ว่า จะรักเพศเดียวกันหรือรักต่างเพศ กามารมณ์ก็ไม่ใช่ "เรื่องเดียว" ในชีวิต ลูกของเราก็เหมือนคนทั่วไป ต้องเรียนหนังสือ ทำงาน ประกอบอาชีพ ทำงานอดิเรก ฯลฯ ไม่ควรมองว่าคนรักเพศเดียวกันคือคนที่ถือเรื่องเพศเป็นใหญ่ อย่าลงความเห็นว่าการที่ลูกมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันเป็นเรื่อง "ผิดหรือบาป" เพศสัมพันธ์ในวัยและโอกาสที่เหมาะสมเป็นเรื่องธรรมชาติ 6. หลีกเลี่ยงการกล่าวโทษตัวเอง อย่าคิด หรือลงโทษตัวเองว่า การที่ลูกรักเพศเดียวกันนั้นเป็นความผิดของเรา ทุกครอบครัวสามารถมีลูกที่รักเพศเดียวกันได้เสมอ การรักเพศเดียวกันก็เหมือนกับการรักต่างเพศ สามารถเกิดขึ้นกับใคร ที่ไหนก็ได้ มีรายงานมากมาย กล่าวถึงคนรักเพศเดียวกันที่มาจากครอบครัวที่อบอุ่น มีคนรักเพศเดียวกันอยู่ทั่วทุกมุมโลก และไม่มีงานวิจัยใดบ่งบอกสาเหตุแน่ชัดว่า คนรักเพศเดียวกันเพราะอะไร สิ่งสำคัญที่สุดจึงไม่ใช่การพยายามหาสาเหตุของการรักเพศเดียวกัน แต่อยู่ที่ว่า เราควรรักลูก เข้าใจลูก และปฏิบัติอย่างไรต่อลูกของเรามากกว่าค่ะ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ <font color=996633>พ่อแม่ควรทำอย่างไร เมื่อลูกรักเพศเดียวกัน</font>

<font color=996633>พ่อแม่ควรทำอย่างไร เมื่อลูกรักเพศเดียวกัน</font>
<font color=996633>พ่อแม่ควรทำอย่างไร เมื่อลูกรักเพศเดียวกัน</font>
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook