ขนฟูหรืออ้วน? เปิดวิธีเช็กหุ่นน้องแมว แบบไหน “อ้วน” เสี่ยงโรค?

ขนฟูหรืออ้วน? เปิดวิธีเช็กหุ่นน้องแมว แบบไหน “อ้วน” เสี่ยงโรค?

ขนฟูหรืออ้วน? เปิดวิธีเช็กหุ่นน้องแมว แบบไหน “อ้วน” เสี่ยงโรค?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เชื่อว่าทาสแมวหลายคน เมื่อเห็นน้องเหมียว ตัวกลมปุกปุยแล้วคงอดใจไม่ไหวอยากจะอุ้มมากอด มาฟัด แต่เคยสงสัยไหมว่าความน่ารักที่เห็นนั้นเป็นแค่ขนฟู หรือว่าน้องกำลังมีน้ำหนักเกินจนเสี่ยงต่อโรคต่างๆ?

วันนี้ Sanook จึงอยากพาทุกคนมารู้จักวิธีเช็กหุ่นน้องแมวง่าย ๆ ว่าแบบไหนอ้วนเสี่ยงโรค รวมทั้งเปิดวิธีควบคุมน้ำหนักน้องแมว จะเป็นอย่างไร ไปดูเลย!

แมวอ้วน

แมวอ้วน เสี่ยงโรคอะไรบ้าง?

ก่อนที่เราจะไปดูวิธีเช็กหุ่นน้องแมว เรามาดูกันดีกว่าปัญหาน้ำหนักเกินในแมวอันตรายแค่ไหน สำหรับปัญหาน้ำหนักเกินในแมวพบได้บ่อย และอาจนำไปสู่โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดัน รวมไปถึงมะเร็งต่าง ๆ โดยเฉพาะมะเร็งในช่องท้อง

วิธีเช็กหุ่นน้องแมว แบบไหนอ้วนเสี่ยงโรค

สำหรับวิธีการเช็กว่า แมวอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักเกินหรือไม่ จะไม่สามารถเช็กได้ด้วยน้ำหนักของแมวเพียงอย่างเดียว เนื่องจากแมวแต่ละตัว มีสายพันธุ์ และโครงสร้างร่างกายที่แตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม เจ้าของสามารถเช็กหุ่นน้องแมวว่าอยู่ในเกณฑ์ไหน ผ่าน “Body Condition Score” หรือ “คะแนนประเมินร่างกายของแมว” ซึ่งสามารถเช็กง่าย ๆ ได้ที่บ้าน ตามข้อมูลจาก สมาคมสัตวแพทย์ผู้ประกอบการบําบัดโรคสัตว์เล็กโลก (WSAVA) ระบุวิธีการประเมินร่างกายของแมว ไว้ 9 ระดับ แต่เพื่อให้ทุกคนเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น Sanook ได้สรุปมาให้ทุกคน 4 ข้อสั้น ๆ ดังนี้

แมวอ้วน
1. น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ (THIN)

สำหรับแมวที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ เจ้าของสามารถสังเกตเห็นซี่โครงแมวได้ด้วยตาเปล่า และเมื่อมองจากด้านบนจะเห็นเอวคอดลงไปอย่างชัดเจน

2. น้ำหนักสมส่วนตามเกณฑ์ (IDEAL)

สำหรับน้องแมวที่สมส่วน เจ้าของจะไม่สามารถสังเกตเห็นซี่โครงชัดด้วยตาเปล่า แต่เมื่อจับบริเวณตัวแมวจะสัมผัสได้ถึงซี่โครงผ่านชั้นไขมันต่าง ๆ และเมื่อมองจากด้านบนจะเห็นเอวคอดลงไปเล็กน้อย

3. น้ำหนักเริ่มอ้วน (OVERWEIGHT)

สำหรับน้องแมวที่อยู่ในเกณฑ์เริ่มอ้วน เจ้าของจะไม่สามารถสัมผัสซี่โครงได้มากนัก เนื่องจากมีชั้นไขมันมากขึ้น รวมถึงมีแผ่นหลังกว้างขึ้น เมื่อมองจากด้านบนเห็นเอวไม่ชัด และมองจากด้านข้างจะสังเกตได้ว่าพุงกลมมากขึ้น

4. น้ำหนักเกินเกณฑ์ (อ้วน, OBESE)

สำหรับแมวที่อยู่ในเกณฑ์อ้วนเกินไป เจ้าของจะไม่สามารถสัมผัสได้ถึงกระดูกซี่โครงของแมว เนื่องจากมีชั้นไขมันที่หนามาก รวมถึงจะสังเกตเห็นท้องห้อยลงมามากขึ้น และไม่สามารถเห็นรอยคอดของเอว หากน้องแมวของใครมีลักษณะดังนี้ ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่อันตราย และจำเป็นต้องลดน้ำหนัก

วิธีควบคุมน้ำหนักแมว

วิธีควบคุมน้ำหนักแมวที่ดีและสะดวกที่สุดสำหรับเจ้าของ คือการเลือกให้อาหารในปริมาณที่เหมาะสมกับน้องแมว อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่เจ้าของมักเลือกวิธีหักดิบ หรือลดปริมาณอาหารน้องในปริมาณเยอะ ๆ ทันที ซึ่งไม่ใช่วิธีที่ดีนัก เนื่องจากอาจทำให้น้องขาดสารอาหารบางชนิดได้

ดังนั้นการเลือกอาหารที่ตอบโจทย์ในเรื่องของการลดน้ำหนัก อย่างอาหารเม็ดแมว “Lifemate Grain Free สูตร Indoor Cat” ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก เนื่องจากมีพลังงานและไขมันต่ำ อีกทั้งยังเสริมด้วย  L-CARNITINE ช่วยเผาผลาญพลังงานส่วนเกินออกจากร่างกาย เหมาะสำหรับแมวที่มีกิจกรรมน้อย หรือต้องการลดน้ำหนัก นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วย Superfoods อย่างผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ แครอท น้ำมันปลาแซลมอน ที่ช่วยเสริมสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยดูแลให้น้องอยู่กับเราไปนาน ๆ

แมวอ้วน

 

 

 

[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook