เพราะครอบครัวและคนรอบข้างสำคัญ! รับมืออย่างไร? เมี่อต้องเดินเคียงข้างผู้ป่วยซึมเศร้า

เพราะครอบครัวและคนรอบข้างสำคัญ! รับมืออย่างไร? เมี่อต้องเดินเคียงข้างผู้ป่วยซึมเศร้า

เพราะครอบครัวและคนรอบข้างสำคัญ! รับมืออย่างไร? เมี่อต้องเดินเคียงข้างผู้ป่วยซึมเศร้า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ครอบครัวและคนรอบข้างมีบทบาทสำคัญ ที่ช่วยให้ผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าสามารถฟื้นฟูจิตใจได้เร็วขึ้น เพราะการมีคนเดินเคียงอย่างเข้าใจ นอกจากจะทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกโดดเดี่ยวบนเส้นทางการต่อสู้แล้ว ยังช่วยเยียวยาและเป็นพลังอันยิ่งใหญ่สนับสนุนในการก้าวข้าม  แต่ในทางกลับกันหากต้องถูกทิ้งให้เดินไปเพียงลำพัง คงเป็นเรื่องยากในการฝ่าฟัน แต่การเดินไปด้วยกันกับผู้ป่วยก็มีความท้าทายไม่น้อย เนื่องจากต้องคอยรับฟังปัญหา และอาจได้รับผลกระทบจากพฤติกรรมของผู้ป่วย จนทำให้เกิดความรู้สึกเหนื่อย เบื่อหน่าย ท้อแท้ รับมือกับผู้ป่วยยาก สุดท้ายสะสมเป็นความเครียดได้

ดังนั้นครอบครัวและคนรอบข้าง หรือคนที่ดูแลผู้ป่วย ไม่เพียงต้องมีความเข้มแข็ง มีความรู้ ความเข้าใจ ความเห็นอกเห็น และมุ่งมั่นพร้อมฝ่าฟันไปด้วยกัน แต่ต้องดูแลสุขภาพใจของตัวเองด้วย ซึ่งในเบื้องต้นมีวิธี ดังนี้

  • เหนื่อยเกินไปหรือไม่? ถามใจให้รู้เท่าทัน

ควรวางแผนในการดูแลร่วมกันกับครอบครัว หรือคนสนิทรอบตัวผู้ป่วย เพื่อไม่ให้ใครคนใดคนนึงเหนื่อยมากจนเกินไป มีการผลัดเปลี่ยนช่วยกันดูแล และถอยออกมา มีเวลาทำงาน มีเวลาส่วนตัวบ้าง เพื่อให้มีช่วงเวลาผ่อนคลายจากความตึงเครียด

  • เครียดเมื่อไหร่? ต้องปรึกษาจิตแพทย์

หากเกิดความเครียด วิตกกังวล โทษตัวเองมากขึ้น ควรปรึกษาจิตแพทย์ หรือทีมสหวิชาชีพที่ดูแลด้านสุขภาพจิตเพื่อประเมินอาการ และรับคำแนะนำเบื้องต้น

โรคซึมเศร้านอกจากจะส่งผลกระทบกับตัวผู้ป่วยแล้ว ยังมักมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว หรือคนใกล้ตัว  ซึ่งการดูแลผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าต้องใช้ความเข้าใจสูง เพราะเป็นโรคที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน ทุกคำพูดหรือการกระทำของครอบครัวและคนรอบข้างสามารถทำร้ายผู้ป่วยได้ง่าย ๆ วิธีรับมือที่ดีจะทำให้ผู้ป่วยฟื้นฟูได้เร็วขึ้น เช่น การทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน โดยสิ่งสำคัญในการชวนไปทำกิจกรรมต้องจำไว้ว่า หากผู้ป่วยยังอยู่ในสภาพที่ไม่พร้อม ห้ามบังคับเป็นอันขาด  การทำกิจกรรมร่วมกัน จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น และฟุ้งซ่านน้อยลง โดยกิจกรรมที่สามารถชวนผู้ป่วยทำได้เมื่ออาการดีขึ้นแล้ว อาทิ ชวนกันไปออกกำลังกายง่าย ๆ ที่ไม่ต้องใช้สมาธิมากเช่นการวิ่ง การเดิน แอโรบิก ยิ่งช่วยให้ผู้ที่มีอาการซึมเศร้านอนหลับ และทานอาหารได้ดีขึ้น แถมการไปเป็นเพื่อนกับผู้ป่วยยังช่วยให้รู้สึกไม่โดดเดี่ยวอีกด้วย

สังคมปัจจุบัน “โรคซึมเศร้า” อยู่ใกล้ตัวเราทุกคน อย่าตกใจหากใครพบว่าคนใกล้ตัวเป็นโรคซึมเศร้า ที่มีความละเอียดอ่อน ต้องใช้ความเข้าใจเป็นอย่างสูง แต่ก็สามารถที่รักษาให้หายได้หากได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง โดยสิ่งสำคัญคือ กำลังใจจากครอบครัวและคนรอบข้าง ต้องไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยต่อสู้เพียงลำพัง คอยให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยเสมอ ร่วมหาทางออกไปด้วย และอย่าลืมดูแลจิตใจของตัวเองให้พร้อมรับมือ.

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook