แช่น้ำแข็งเยียวยาบาดแผลทางจิตใจ สร้างความสุขให้ร่างกายได้เหมือนสารเสพติด?
On The Way With Chom สัปดาห์นี้ พาไปพบกับเรื่องของการแช่น้ำแข็งเยียวยาบาดแผลทางจิตใจ สร้างความสุขให้ร่างกายได้เหมือนสารเสพติด? สู่ทฤษฎีเปลี่ยนชีวิต ฝึกหายใจแบบ Wim Hof Method สร้างชีวิตใหม่ที่แข็งแกร่งทั้งภูมิคุ้มกันร่างกายและจิตใจ แชร์ความรู้โดย “แก้ม วริศรา” ซึ่งเป็นคนไทยคนเดียวที่ได้รับรองให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในการสอนวิธี Wim Hof Method
Wim Hof Method คืออะไร ?
แก้ม วริศรา : คือวิธีการของ Wim Hof เขาเป็นคนคิดค้นวิธีการนี้ขึ้นมา เขาก็เลยเรียกวิธีการของ Wim Hof Method เลยละกัน ก็เลยเป็น Wim Hof Method ในวิธีการของเราก็จะประกอบไปด้วย 3 เสาหลัก ที่เป็นการฝึกหายใจแบบ Wim Hof การแช่น้ำแข็ง หรือว่า Cold Exposure เราจะใช้เป็นการสัมผัสความเย็น แล้วก็เป็นการฝึก Mindset หรือฝึกความคิด พอรวมกันทั้งสามอย่างเข้าด้วยกัน ก็คือวิธีการของ Wim Hof
ควรจะต้องเริ่มจากตรงไหน ?
แก้ม วริศรา : สิ่งที่สำคัญที่สุดเลย วิธีการของ Wim Hof ก็คือการฝึกความคิด คือเราต้องเตรียมความคิด เตรียม Mindset ของเรามาตั้งแต่แรก ต้องเตรียมตัวอย่างไร เตรียมอะไรบ้าง บางคนสุขภาพดีอยู่แล้วไม่ได้มีโรคประจำตัวที่เกี่ยวกับเส้นเลือด เราสามารถฝึกได้ แต่ส่วนใหญ่ต้องใช้ความคิดก้าวข้ามความคิดของตัวเองมาก่อน เราถึงจะทำได้ เหมือนเปิดใจ
สำหรับชมรู้สึกว่ายังเป็นอุปสรรคที่ยังไม่สามารถไปลองได้สักที ยังไม่สามารถที่จะปรับให้มันเข้ากับไลฟ์สไตล์ได้ ตอนนี้ก็เลยใช้วิธีไปเข้าตู้ ซึ่งก็รู้สึกว่าคือหลาย ๆ คนที่เคยทำมาทั้งสองแบบนะ ก็จะบอกว่า ยังไงแช่ไปเลย มันพีคกว่า ?
แก้ม วริศรา : ความรู้สึกก็อาจจะต่างกัน เพราะว่าน้ำมันเป็นสื่อนำได้ดีกว่า เวลาที่เราลงปุ๊ปก็เห็นผล ร่างกายของเราได้รับโดยตรงเลย จริง ๆ แล้วประโยชน์จากการแข่น้ำแข็ง เกิดจากการได้ Cold shock proteins เราได้รับตั้งแต่ตอนที่ลง
สำหรับคนที่ไม่เคยทำเลย จะเริ่มต้นเองได้ไหมที่บ้านแบบสั่งน้ำแข็งมาแล้วก็ลงไปเลย ?
แก้ม วริศรา : ต้องบอกก่อนว่า การแช่น้ำแข็งแบบ Wim Hof มันคือการฝึกอย่างหนึ่ง เราได้รับประโยชน์จากเขา ต้องฝึกด้วยวิธีการที่ถูกต้อง ถึงจะได้รับความปลอดภัยจากตรงนั้น บางทีเราลงเลย ก็อาจจะไม่รู้ว่า ต้องลงยังไง แค่ร่างกายเราเปลี่ยน การหายใจเราเปลี่ยนเมื่อไหร่ มันก็อาจจะอันตรายก็มี
เท่าที่เคยได้ยินมาก็คือว่า มันต้องมีการหายใจด้วย อาจจะก่อนแช่น้ำแข็ง แล้วก็ตอนที่อยู่ในนั้น ?
แก้ม วริศรา : เราจะใช้การควบคุมการหายใจแบบอื่น
แปลว่าที่เห็นคนเขาลงกันตามโซเขียลมีเดีย แปลว่าเขาก็ต้องมีการฝึก อย่างน้อยก็คือเบื้องต้นก่อน ?
แก้ม วริศรา : ใช่ หรือว่าตามโซเชียลมีเดียที่เราเห็น เขาอาจจะแช่เหมือนเราเห็นนักกีฬา เดี๋ยวนี้ทีมฟุตบอลเขาแช่กัน หรือนักวิ่ง เขาจะแช่น้ำแข็งตามส่วนอย่างนี้ค่ะ แช่เพื่อลดการอักเสบบ้าง หรือว่าช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อก็ได้ แต่ว่าเขาออาจจะไม่ได้แช่ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง แต่สำหรับเรา เวลาที่เราฝึก จะสอนว่า เวลาที่แช่น้ำแข็ง ทำอย่างไรกับร่างกาย ทำยังไงกับความคิด แล้วเราจะได้รับประโยชน์จากตรงนั้นอีกทีหนึ่ง
คือจะได้มากกว่า ลดการอักเสบ มากกว่าการซ่อมแซมหรือฟื้นฟูร่างกาย ซึ่งอย่างที่คุณแก้มบอก Wim Hof Method ก็คือเริ่มจากปรับความคิดก่อน มันต้องเตรียมใจยังไง ?
แก้ม วริศรา : วิธีการ Wim Hof คือ 3 เสาหลัก แก้มจะให้ทุกคนมาปรับความคิดตัวเองก่อน หลายคนมาด้วยเหตุผลต่างกัน บางคนอยากจะมาแช่น้ำแข็ง บางคนอยากจะมาฝึกหายใจ อยากรู้ว่าการหายใจแบบ Wim Hof มันเป็นยังไง การฝึกความคิด มันช่วยเรื่อองความคิดของตัวเองอย่างไง เราก็จะปรับตั้งแต่แรกเลย จะฝึกเรื่องความคิด ฝึกให้เขารู้ว่าวันนี้เขาจะต้องเจออะไรบ้างแล้วค่อย ๆ เปลี่ยนไป และจะใช้เวลาเรียน workshop ปกติของแก้ม 6 ชั่วโมง เพราะว่าเราจะต้องเตรียมพร้อม เตรียมกาย เตรียมใจตั้งแต่แรก เราจะมาเรียนรู้กันว่า เราแช่เพราะอะไร แก้มจะได้บอกว่า สมมติคุณชมอยากแช่เพราะอยากลองดู เราก็จะรู้ว่าเวลาลองแล้วเรารู้สึกอย่างไง ชอบไหม รู้สึกดีทางไหน อะไรอย่างนี้ บางคนก็จะมาเพื่อฟื้นฟู บางคนเป็นนักกีฬา เขาอยากจะรู้ว่า เขาแช่ถูกต้องไหม เขาต้องแช่นานเท่าไหร่ เริ่มเรียนรู้กันก่อน เวลาที่ลงในน้ำแข็งต้องหายใจยังไง ต้องทำร่างกายเรายังไง
Wim Hof ที่เราเรียกเขาว่า Iceman คืออะไรดลบันดาลให้เขามาค้นหาวิธีนี้ แล้วก็อยากที่จะเอาชนะขีดจำกัดของร่างกายตัวเองขนาดนี้ ?
แก้ม วริศรา : คือจริง ๆ แล้ว Wim Hof คิดวิธีการนี้ด้วยตัวเอง เขาเป็นคนดัชต์ เป็นคนอยู่ที่เนเธอร์แลนด์ เขาจะชอบลงไปแช่ในน้ำแข็ง ที่แม่น้ำแถว ๆ บ้านเขา แต่พอเขาลงแล้วรู้สึกดี การเจอความเย็นมันทำให้เขารู้สึกดี แต่เขาก็ยังไม่รู้ว่ามันคืออะไร แต่ชอบความรู้สึกนี้ ก็ทำมันเรื่อย ๆ เป็นกิจวัตรประจำวัน จนคนเริ่มมาเห็น แล้วก็แบบ คุณทำอะไร ก็จะมีหนังสือพิมพ์ไปสัมภาษณ์เขา รายการโทรทัศน์อะไรอย่างงี้ คุณ Wim Hof ก็ อธิบายไม่ถูกหรอกว่ามันคืออะไร แต่ว่าเขาสามารถทำได้ อะไรอย่างนี้ ทีนี้ก็จะมี คุณทำแบบนี้สิ คุณลงน้ำแข็งสิ คุณเดินเท้าเปล่าบนหิมะสิ
เหมือนกับว่าก็มีคนท้าทายให้เขา เอาชนะขีดจำกัดเดิมของตัวเองตลอดเวลา ?
แก้ม วริศรา : คุณ Wim Hof เขาฝึกเป็นประจำอยู่แล้ว ทีนี้พอถึงช่วงหนึ่งที่เกิดเหตุการณ์ภรรยาของเขาฆ่าตัวตาย จากภาวะซึมเศร้า เขาเสียใจมาก คิดว่าวิธีการอะไรที่เขาทำอยู่ตอนนี้อาจจะช่วยได้ ก็เลยแช่น้ำแข็ง แล้วก็ฝึกหายใจเพื่อทนทาน เพื่อจะรับมือกับความเสียใจของเขาได้ ก็เลยทำมาเรื่อย ๆ เพราะเขาต้องใช้ชีวิตอยู่เพื่อลูก
ก็คล้าย ๆ การทำสมาธิเหมือนกันนะ ?
แก้ม วริศรา : คล้าย ๆ จุดที่เป็น Iceman เพราะเขาทำลายสถิติของเขา เดินโดยใส่แค่กางเกงว่ายน้ำกับรองเท้าแตะ เดินขึ้นเขาเอเวอร์เรสต์ แล้วก็วิ่งมาราธอนเท้าเปล่า ที่ Arctic circle ชาตัวอยู่ในกล่องที่เติมน้ำแข็งลงไป สถิติของ Wim Hof ประมาณ 1 ชั่วโมง 50 นาที ทุกคนคิดว่าเขาประหลาด แต่จริง ๆ แล้ว คุณ Wim Hof คือ เขาฝึกตัวเขาเอง เขาฝึกทั้งความคิดแล้วก็ร่างกายของเขา คุณ Wim Hof เขาจะบอกว่า อะไรที่เขาทำได้ ทุกคนทำได้หมดอยู่ที่การฝึกฝนของเรา
อย่างเราปุถุชนธรรมดา ถ้าจะเข้า Ice bath คือต้องแข่ยังไง อุณหภูมิเท่าไหร่ ได้ยินมาบางที่ก็บอก 13 องศา บางที่ก็บอก 0 องศา ?
แก้ม วริศรา : ในการศึกษามาค่ะ วิทยาศาสตร์ ice bath หรือว่าการสัมผัสความเย็น แช่ตัวในน้ำเย็นต่ำกว่า 15 องศา เราได้รับประโยชน์แล้ว เราไม่ต้องให้มัน 0 องศาแบบนั้นก็ได้ ถ้าอยากให้ได้ผลดีที่สุดก็คือต่ำกว่า 9 องศา อันนี้คือเราก็จะได้รับประโยชน์หมดแล้ว แต่ว่าในการฝึกของเรา มันคือการเทรนร่างกายเนอะ เราก็จะใช้ความเย็นจัดเป็น 0 องศา
แล้วเอาจริง ๆ เราทนได้เหรอ ?
แก้ม วริศรา : ได้ ร่างกายของเราฉลาด เขารู้ว่าเขาต้องทำยังไง เวลาที่เผชิญหน้ากับความเครียดต่าง ๆ สามารถรับมือได้ แต่สิ่งที่เราต้องสู้ คือความคิดล้วน ๆ
แล้วเคยมีเคสที่เกิดอันตรายไหม ?
แก้ม วริศรา : ไม่มีเลย เราสอนวิธีนี้ในไทยมา 5 ปี สอนคนไทยมาเกือบ 3 พันคน 99% ทำได้หมด ทำได้ดีด้วย
แล้ว 1% ที่ทำไม่ได้คืออะไร ?
แก้ม วริศรา : 1% ที่ทำไม่ได้ เพราะว่าเขาเป็นนักกีฬา เป็นนักมวย เพราะเขาก็จะเตรียมพร้อมสำหรับการต่อสู้ อะไรที่มาชนเขาจะสู้กลับ
การตอบสนองของเขา เขาถูกฝึกมาอีกแบบหนึ่ง ?
แก้ม วริศรา : ใช่ พออะไรที่มันมาปุ๊ป เขาก็จะแบบ ฉันจะสู้กลับ ทีนี้พอเขาเจอการแช่น้ำแข็งปุ๊ป เขาจะสู้หมดเลย พอเขาทนไม่ได้แล้ว เขาก็จะขึ้นมา ขึ้นมาเสร็จก็จะเตะถังน้ำแข็ง แล้วก็ลงไปใหม่ อย่างนี้ แล้วเราก็จะแบบ ใจเย็น ๆ คุณต้องเปลี่ยนตรงนี้ก่อน แค่นั้นเลย แต่ที่เหลือก็คือได้หมด
อย่างนี้ก็แปลว่าเราซื้อมาแช่เองที่บ้านไม่ได้ใช่ไหม ?
แก้ม วริศรา : ไม่แนะนำ ถ้าเรายังไม่มีความรู้เลยว่าเราแช่แล้วอันตรายอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง อีกอย่างหนึ่ง การแช่น้ำแข็งแบบ Wim Hof Method ไม่ใช่ การที่แบบว่า ฉันจะแช่ได้กี่นาที ฉันจะทำได้ ฉันจะอยู่ได้นานเท่าไหร่ แต่การแช่น้ำแข็งแบบ Wim Hof เราจะแช่แค่ 2 นาทีเท่านั้น อุณภูมิ 0 องศาแค่ 2 นาที ในการศึกษา 2 นาทีเราได้รับประโยชน์หมดแล้ว ทั้งร่างกาย จิตใจ เราได้รับหมดแล้วค่ะ
เกินมาจากนั้นก็คือ ?
แก้ม วริศรา : เสี่ยงภาวะตัวเย็นฉับพลัน Hypothermia หลังจาก 2 นาทีขึ้นไปเริ่มเสี่ยงแล้ว
มีข้อห้ามอะไรไหม สำหรับการทำ ice bath ?
แก้ม วริศรา : ข้อห้ามหลัก ๆ เวลาเราลงแช่มันมีผลกับเส้นเลือดของเราโดยตรง คนที่ฝึกไม่ได้เลย คือคนที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบเส้นเลือด ความดันสูงจนควบคุมไม่ได้ อันนี้ก็คือเกี่ยวกับเส้นเลือดหมดเลย โรคหัวใจ ลิ่มเลือด โรคเส้นเลือดในสมองแตก คนท้อง คนที่เป็น panic attack วิตกกังวล เพราะว่าอย่าลืมว่ามันคือความเครียด เวลาที่เราหายใจแล้วแช่น้ำแข็งไปอีก มันยิ่งกระตุ้น ห้ามหายใจในน้ำ หรือว่าใกล้น้ำเด็ดขาด ควรหายใจในที่ๆ ปลอดภัยเท่านั้น ควรหายใจในท่านอน บางคนแบบ การหายใจแบบ Wim Hof ช่วยให้เราแช่น้ำแข็งได้นานขึ้น แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่ ต้องควบคุมการหายใจ เพราะว่าการหายใจแบบ Wim Hof อาจจะเป็นการหายใจคล้าย ๆ กับ Hyperventilation เหมือนเราหายใจเร็วกว่าปกติ ทีนี้การหายใจแบบ Wim Hof เราจะหายใจค่อนข้างหนัก คือการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง
การแช่น้ำแข็งดีต่อร่างกายยังไง ตามหลักทางวิทยาศาสตร์ ?
แก้ม วริศรา : ประโยชน์โดยรวม เวลาที่เราฝึก Wim Hof Method ร่างกายของเราก็จะเป็นการเทรนเส้นเลือดทั้งตัว ทั้งการหายใจและการแช่น้ำแข็ง ถ้าเส้นเลือดเราดี ร่างกายของเราก็จะดี ช่วยลดการอักเสบ เวลาเราหายใจฝึกหายใจ ร่างกายของเราก็จะสั่งเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ออกมาฆ่าเชื้อโรค ภูมิคุ้มกันขอองเราก็จะดีขึ้น ปรับภูมิคุ้มกันของเราให้เหมาะสม ช่วยให้การนอนหลับของเราดีขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการออกกำลังกาย
สามารถติดตาม "On the way with Chom" ได้ที่ช่องทาง Podcast : Life Dot , Facebook: Life Dot , Youtube : Life Dot วันจันทร์ (สัปดาห์เว้นสัปดาห์) เวลา 18.00 น.
คลิกชมรายการย้อนหลัง : https://www.youtube.com/watch?v=y20hGbWeQ4Y&t=1344s