เข้านอนตอนท้องว่าง ส่งผลต่อร่างกายอย่างไรบ้าง ?

เข้านอนตอนท้องว่าง ส่งผลต่อร่างกายอย่างไรบ้าง ?

เข้านอนตอนท้องว่าง ส่งผลต่อร่างกายอย่างไรบ้าง ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คุณอาจมีอาการหิวก่อนเข้านอนซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ  เช่น การควบคุมน้ำหนัก การทานอาหารไม่เพียงพอ โดยทั่วไปแล้วการหยุดรับประทานอาหารก่อนเข้านอนหลายชั่วโมงถือว่าดีต่อสุขภาพ ถ้าหากว่าคุณได้รับสารอาหารและแคลอรีเพียงพอตลอดทั้งวัน ถ้าหากคุณรู้สึกหิวก่อนเข้านอนและกังวลว่าท้องว่างจะทำให้คุณนอนไม่หลับ คุณสามารถรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพหลายชนิดในตอนกลางคืนได้ แต่ถ้าไม่สามารถทำได้และจะต้องเข้านอนตอนท้องว่างจะเป็นอะไรหรือเปล่า

เข้านอนตอนท้องว่างส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

การเข้านอนในสภาพท้องว่างอาจไม่เป็นอะไรถ้าหากคุณได้รับสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการในวันนั้นๆ หรือในแต่ละวัน  หรือคุณอยู่ในช่วงลดน้ำหนักซึ่งอาจทำให้คุณรู้สึกหิวก่อนเข้านอนได้ ต่อไปนี้เป็นสาเหตุบางสาเหตุที่ทำให้คุณรู้สึกหิวก่อนเข้านอน และวิธีการสังเกตว่าเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพที่คุณควรใส่ใจ

การทำตามตารางอาหารเพื่อสุขภาพ

โดยทั่วไปตารางอาหารเพื่อสุขภาพจะประกอบด้วยมื้ออาหารหลัก 3 มื้อต่อวัน และมีของว่างเล็กน้อยระหว่างมื้อหากจำเป็น ดังนั้น ขึ้นอยู่กับเวลาที่คุณเข้านอน การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วน และจบมื้อเย็นก่อนเข้านอนหลายชั่วโมง อาจทำให้คุณรู้สึกหิวเล็กน้อยขณะที่กำลังจะหลับ

การลดปริมาณแคลอรี่

คุณอาจรู้สึกหิวและเข้านอนไม่ได้หากคุณตั้งใจลดปริมาณแคลอรี่เพื่อลดน้ำหนัก ดังนั้นควรเช็กให้แน่ใจว่าคุณยังคงรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วน แม้ว่าจะทานแบบคีโตหรือวีแกนก็ตาม ซึ่งจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าความหิวในเวลากลางคืนของคุณไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวล บางโปรแกรมการอดอาหารเช่นการทำ IF อาจส่งผลให้คุณรู้สึกหิวก่อนเข้านอน หรือระหว่างเวลาเข้านอน

การนอนไม่เพียงพอ

คุณอาจรู้สึกหิวก่อนนอนเพราะนอนหลับเไม่พียงพอ การนอนไม่เพียงพอสามารถกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเกรลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นความอยากอาหารและทำให้รู้สึกหิว นอกจากนี้ฮอร์โมนเลปติน ซึ่งควบคุมความอยากอาหาร ก็อาจถูกกระตุ้นจากการนอนไม่เพียงพอ ทำให้คุณรู้สึกหิวแม้ว่าจะรับประทานอาหารไปแล้ว การนอนหลับให้เพียงพอในแต่ละคืนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการลดความรู้สึกหิวก่อนเข้านอน

การขาดสารอาหาร หรือภาวะทุพโภชนาการ

การเข้านอนในสภาพท้องว่างอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงกว่านั้น เช่น ภาวะทุพโภชนาการ การรู้สึกหิวในเวลากลางคืนเนื่องจากขาดสารอาหารและไม่มีอาหารรับประทานในช่วงเวลานั้นๆ ถือเป็นอีกปัญหาที่แตกต่างออกไป

ภาวะทุพโภชนาการถูกนิยามว่าเป็นการบริโภคแคลอรี่น้อยกว่า 1,800 กิโลแคลอรี่ต่อวัน รวมถึงการขาดวิตามิน แร่ธาตุ และส่วนประกอบสำคัญอื่นๆ ที่จำเป็นต่ออาหารที่สมดุล ภาวะทุพโภชนาการในระยะยาวอาจส่งผลให้เด็กเจริญเติบโตช้าลง รวมถึงปัญหาสุขภาพอื่นๆ ในทั้งเด็กและผู้ใหญ่

การเข้านอนในสภาพท้องว่างอาจทำให้คุณรู้สึกท้องโล่ง และรู้สึกไม่ค่อยดี เนื่องจากคุณยังไม่ได้รับประทานอาหารจนอิ่ม แต่การเข้านอนในสภาพท้องว่างอาจมีสุขภาพดีกว่าการรับประทานอาหารใกล้เวลานอนมากเกินไป

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
กำลังโหลดข้อมูล