สํารวจลูกน้อยด้วยอัลตร้าซาวนด์ 4 มิติ
ความตื่นเต้นของคุณแม่อย่างหนึ่งในช่วงตั้งครรภ์ ก็คือการได้เห็นความเป็นไปของลูกในท้องโดยการตรวจครรภ์ด้วยเครื่องอัลตร้าซาวนด์ ซึ่งปัจจุบันอัลตร้าซาวนด์ได้พัฒนาขึ้นมาก จนสามารถดูภาพของลูกในท้องแบบเคลื่อนไหวได้ เสมือนดูภาพยนตร์ ด้วยการตรวจอัลตร้าซาวนด์แบบ 4 มิติ ฉบับนี้ พญ.ฐิตินันท์ ตัณสถิตย์ สูติ-นรีแพทย์ จะเป็นผู้อธิบายถึงการตรวจอัลตร้าซาวนด์ 4 มิติ ให้ได้เข้าใจกันมากขึ้นค่ะ อัลตร้าซาวนด์ 4 มิติ คืออะไร? อัลตร้าซาวนด์ เป็นการตรวจครรภ์โดยการส่งคลื่นเสียงความถี่สูงออกไปจากหัวตรวจ จากนั้นคลื่นเสียงที่ไปกระทบเนื้อเยื่อต่างๆ ภายในร่างกาย จะสะท้อนกลับมายังตัวเครื่อง หัวตรวจก็จะรับสัญญาณคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับนํามาประมวลผลและแปลงเป็นภาพ การอัลตร้าซาวนด์ตรวจการตั้งครรภ์ แบ่งออกเป็น แบบ 2 มิติ เป็นการอัลตร้าซาวนด์เพื่อดูความสมบูรณ์หรือความผิดปกติของทารก ภาพที่แสดง จะมีเพียงความกว้างและความยาว แบบ 3 มิติ ภาพที่ปรากฏนอกจากจะมีความกว้างและความยาวแล้ว ยังเพิ่มมิติของความลึกหรือความหนา ทําให้ภาพนั้นเสมือนวัตถุจริง แบบ 4 มิติ จะเหมือนแบบ 3 มิติ แต่เพิ่มมิติของเวลาเข้ามา ทําให้เห็นภาพเสมือนเหตุการณ์จริงที่กําลังเกิดขึ้นภายในท้องของคุณแม่ (Real Time) ซึ่งจะดีกว่าแบบ 3 มิติ ที่ได้เห็นแค่รูปลักษณ์ หน้าตา หรือแขนขา แต่แบบ 4 มิติจะได้เห็นว่าตอนอยู่ในท้องทารกทําอะไรบ้าง เช่น ดูดนิ้ว ยิ้ม แลบลิ้น เป็นต้น ความจําเป็นของการอัลตร้าซาวนด์แบบ 4 มิติ โดยทั่วไป การอัลตร้าซาวนด์แบบ 4 มิติ มักจะทําเพื่อความเพลิดเพลิน เนื่องจากการอัลตร้าซาวนด์แบบ 2 มิติก็สามารถดูอวัยวะภายในและความ ผิดปกติของทารกได้เกือบหมดแล้ว แต่มีงานวิจัยบางชิ้นที่ใช้แบบ 4 มิติ เพื่อดูว่าตอนที่ทารกอยู่ในท้องมีปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งต่างๆ อย่างไรบ้าง เนื่องจากการอัลตร้าซาวนด์แบบ 4 มิติ จะมีหลายเมนู เช่น โหมด Surface จะประมวลผลมาเป็นภาพพื้นผิว เห็นใบหน้า จมูก ปาก ว่าเป็นอย่างไร แต่จะไม่สามารถบอกได้ว่าข้างในมีความผิดปกติ เช่น เพดานโหว่ หรือมีอาการลําไส้อุดตันหรือไม่ ต้องใช้แบบ 2 มิติดู แต่การอัลตร้าซาวนด์แบบ 4 มิติจะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ เข้าใจมากขึ้นจากการดูแบบ 2 มิติ ในกรณีที่ทารกมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่ หรือเนื้องอกที่ผิวบางชนิด เมื่อประมวลออกมาเป็นภาพ 4 มิติแล้ว ก็จะเห็นรายละเอียดมากขึ้นในลักษณะหลายระนาบว่ามีความผิดปกติที่ใดบ้าง อายุครรภ์กับการอัลตร้าซาวนด์แบบ 4 มิติ หากเป็นการอัลตร้าซาวนด์เพื่อดูความผิดปกติของครรภ์ ควรตรวจตั้งแต่อายุครรภ์ 4-5 เดือน (หรือในช่วง 18-22 สัปดาห์) เพราะอวัยวะต่างๆ มีครบหมดแล้ว ทุกช่วงของอายุครรภ์สามารถทําการตรวจด้วยอัลตร้าซาวนด์ 4 มิติได้ ในช่วงอายุครรภ์น้อยๆ จะช่วยให้ สามารถมองเห็นภาพของทารกทั่วร่างกาย แต่เนื่องจากอัลตร้าซาวนด์เป็นคลื่นเสียง ไม่สามารถผ่านของแข็งหรืออากาศได้ดี แต่สามารถผ่านน้ำได้ดี ช่วงที่เหมาะกับการอัลตร้าซาวนด์แบบ 4 มิติ ก็คือช่วงที่น้ำคร่ำเยอะที่สุด ในระยะ 28-30 สัปดาห์ แต่ก็ขึ้นอยู่กับคน บางคนตั้งแต่ 25 สัปดาห์ขึ้นไป เด็กก็จะเริ่มตัวโต ดูน่ารัก และถ้าอายุครรภ์มากๆ 30 สัปดาห์ขึ้นไป ภาพก็จะออกมาสวยและชัดขึ้น แต่ในช่วงนี้เด็กจะตัวใหญ่และตัวอ้วนขึ้นแล้ว น้ำคร่ำก็จะน้อยลง ภาพที่ออกมาก็มีโอกาสที่จะไม่อยู่ในท่าทางที่จะตรวจได้ อายุครรภ์ที่เหมาะสมจึงอยู่ในช่วงตั้งแต่ 25-34 สัปดาห์ สําหรับการตรวจครรภ์แฝดซึ่งเด็กจะอยู่กันค่อนข้าง แน่นในรก โอกาสที่จะเห็นแบบ 4 มิติ จึงมีน้อยมาก ยกเว้นจะเกิดความผิดปกติของเส้นเลือดที่รก ทําให้เกิดภาวะที่แฝดคนหนึ่งตัวเล็ก แต่อีกคนหนึ่งตัวใหญ่หรือบวมน้ำ ช่วงที่เหมาะกับการตรวจอัลตร้าซาวนด์ 4 มิติของการตั้งครรภ์แฝด คือช่วงอายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์ ทั้งนี้ การตรวจครรภ์ด้วยเครื่องอัลตร้าซาวนด์ เป็นการตรวจด้วยคลื่นเสียงจึงไม่มีอันตรายหรือผลกระทบ ต่อทารก แต่การตรวจต้องใช้ค่าใช้จ่าย คุณหมอจึงมักจะให้ตรวจอย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงกลางของการตั้งครรภ์ ถึงแม้ว่าการอัลตร้าซาวนด์จะไม่สามารถยืนยันได้ว่าทารก จะปกติ แต่ก็สามารถลดความกังวลของคุณแม่ พร้อมๆกับเติมรอยยิ้มให้คุณแม่ยามที่ได้เห็นลูกในท้องได้ พญ.ฐิตินันท์ ดัณสถิตย์ ขอบคุณ : โรงพยาบาลพระราม 9