สถาบันโภชนาการมหิดลเผย "อาหารแช่แข็ง" กินผิด เสี่ยงอันตราย แช่ อุ่นยังไงให้ปลอดภัย
Thailand Web Stat

สถาบันโภชนาการมหิดลเผย "อาหารแช่แข็ง" กินผิด เสี่ยงอันตราย แช่ อุ่นยังไงให้ปลอดภัย

สถาบันโภชนาการมหิดลเผย "อาหารแช่แข็ง" กินผิด เสี่ยงอันตราย แช่ อุ่นยังไงให้ปลอดภัย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อาหารแช่แข็ง มื้อเร่งด่วน สารอาหารน้อยกินบ่อยทำร้ายสุขภาพ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าอาหารแช่แข็งแบบสำเร็จรูปเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของคนมีเวลาน้อย บางคนถึงกับซื้อมาตุนไว้ในช่องฟรีส แต่รู้หรือไม่ว่าอุณหภูมิในตู้เย็นบ้านทั่วไปไม่เหมาะสำหรับแช่แข็งอาหารเหล่านี้ เพราะอาจส่งผลให้อาหารเป็นพิษอันตรายต่อร่างกายได้อีกด้วย


วันนี้ รศ. ดร.ชลัท ศานติวรางคณา ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ ม.มหิดล จะมาพูดถึง 3 ความเสี่ยงผลเสียต่อสุขภาพหากกินอาหารแช่แข็งอย่างไม่เหมาะสม พร้อมแนะนำวิธีการเลือกกินอาหารแช่แข็งที่ดีต่อสุขภาพรวมไปถึงการเก็บและอุ่นอาหารแช่แข็งที่ถูกวิธีเพื่อให้กินอาหารแช่แข็งได้อย่างถูกสุขลักษณะและไม่ทำร้ายสุขภาพ

หลายคนเชื่อว่าช่องแช่แข็งเป็นช่องแช่อมตะ ซึ่งจริงๆ ก็ไม่ถูกต้อง เพราะคุณภาพอาหารสามารถลดลงได้ระหว่างการแช่แข็ง โดยเฉพาะในบรรจุภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสมถ้าเก็บไว้นานๆ เอาออกมาใช้แล้วนำกลับไปแช่อีก เสี่ยงกับจุลินทรีย์ที่จะเติบโต ทำให้อาหารเป็นพิษได้เหมือนกัน



การแช่แข็งเป็นวิธีการเก็บอาหารที่สามารถรักษาคุณค่าอาหาร และสามารถเก็บได้เป็นระยะเวลานาน นิยมเอามาใช้เป็นวิธีในการเก็บรักษาอาหาร อาหารแช่แข็งที่เรานำมากินก็มักจะเป็นเมนูซ้ำๆ ไม่กี่เมนู ดังนั้นการกินเป็นประจำ ซ้ำๆ ก็อาจจะเสี่ยงเรื่องของการได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ซึ่งจะมีเรื่องผัก เส้นใยอาหารน้อย ดังนั้นจึงไม่ได้มื้ออาหารที่หลากหลายพอ

อาหารที่กินเหลือแล้วนำมาอุ่นซ้ำ จะทำให้สารอาหารต่างๆ ลดลงได้ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มวิตามิน B,C และสารแคโรทีนอยด์ ลดลงเป็นต้น หลายเมนูโซเดียมสูง เสี่ยงต่อสุขภาพ ซึ่งใน 1 วันเราแนะนำให้กินไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม คนที่มีปัญหาโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคไต ไม่เหมาะสมที่จะกินเป็นประจำ ถ้าสารอาหารไม่ครบ เราอาจจะกินเสริมด้วยการกินผัก ผลไม้เพื่อให้มีความหลากหลายของสารอาหาร และได้ปริมาณสารอาหารที่สมดุล อาหารแช่แข็งไม่ควรกินบ่อยจนเกินไป เนื่องจากมีโซเดียมสูง อีกเรื่องหนึ่งคือถ้าเราเลือกอาหารแช่แข็ง เราสามารถดูฉลากข้างหน้าได้ว่าอันไหนที่มีปริมาณโซเดียมไม่มากเกินไป ไม่ควรเกิน 500-600 มิลลิกรัม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
kookkak

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบน
เว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้