แพทย์แนะนำ วิธีทำให้ "น้องสาวฟู" ทรงสวย แบบไม่ต้องพึ่งหมอ

แพทย์แนะนำ วิธีทำให้ "น้องสาวฟู" ทรงสวย แบบไม่ต้องพึ่งหมอ

แพทย์แนะนำ วิธีทำให้ "น้องสาวฟู" ทรงสวย แบบไม่ต้องพึ่งหมอ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รายการ Tuck Talk สัปดาห์นี้พบกับเรื่องน่ารู้ใกล้ตัว พฤติกรรมทำน้องสาวพังไม่รู้ตัว? ช่องคลอดแห้ง หลวม ปัสสาวะเล็ด ปัญหาทางเพศยอดฮิตที่คนอายุน้อยก็เป็นได้? อยากช่องคลอดกระชับต้องหัดขมิบวันละ 100 ที กินอาหารเพื่อเสริมฮอร์โมนได้ผลจริงไหม? อยากให้น้องสาวฟู ทรงสวย ต้องทำยังไง แชร์ความรู้โดย “พญ.ไพลิน ศิลป์ประสิทธิ์” ตอบทุกข้อสงสัย

ปัญหาสุขภาพทางเพศที่คุณหมอเห็นมา ตั้งแต่ช่วงอายุ 40 ขึ้นไปหรือวัยทองส่วนมากจะเป็นเรื่องอะไร ?

หมอไพลิน : ส่วนใหญ่วัยนี้ เลข 4 เลข 5 จะมาหาหมอด้วยปัญหาช่องคลอดไม่กระชับ ช่องคลอดแห้ง แล้วก็ปัสสาวะเล็ดค่ะ อย่างถ้าในเคสที่มีกิจกรรมทางเพศกันอยู่สม่ำเสมอ ก็จะมาด้วยปัญหาช่องคลอดไม่กระชับ เวลามีอะไรกันแล้วอาจจะมีลมออกมาจากช่องคลอดได้ ที่เราเรียกว่าช่องคลอดผายลมค่ะ


ถ้าคนที่ไม่มีแฟน ไม่มีกิจกรรมทางเพศเลยล่ะ ?

หมอไพลิน : มีปัญหาเหมือนกันค่ะ ในเคสที่ไม่มีแฟน ไม่มีกิจกรรมทางเพศเลย ก็จะมาด้วยปัญหาช่องคลอดแห้ง ปัสสาวะแสบขัดได้ เนื่องจากในวัยทองฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง ส่งผลต่อเยื่อบุภายในช่องคลอดให้บางลง และการหลั่งของสารหล่อลื่นในช่องคลอดก็ลดลง ทำให้ช่องคลอดแห้ง ซึ่งฮอร์โมนเอสโตรเจนช่วยในการผลิตไกลโคเจนอยู่ในผนักช่องคลอด ตัวนี้เป็นอาหารหลักของแบคทีเรียดี อย่างแลคโตบาซิลลัสในช่องคลอด ตัวนี้จะทำให้ค่า pH ของช่องคลอดเป็นกรดอ่อน ๆ ประมาณ 3.4 – 4.5 แต่พอเอสโตรเจนเราลดลง ก็จะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น


บางคนที่มีปัญหาเรื่องไม่ฟิต ไม่กระชับ เหล่านี้เกิดจากอะไรบ้างนอกจากอายุ ?

 

หมอไพลิน : ช่องคลอดไม่กระชับจริง ๆ แล้วเกิดจากอวัยวะสองอย่างหลัก ๆ คือ กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และผนังภายในช่องคลอด การที่เราอายุมากขึ้นตั้งแต่อายุ 20–25 ปีขึ้นไป การผลิตคอลลาเจนในร่างกายจะลดลงปีละประมาณ 1% รวมถึงอวัยวะภายในของเราด้วย ก็จะทำให้ผนังช่องคลอดบางลงไม่ยืดหยุ่นเหมือนเดิม เพราะขาดคอลลาเจนกับอิลาสติน

ถ้าบางคนกินอาหารเสริมหรือสมุนไพรเพื่อดูแลจากภายนอก พอช่วยได้ในระดับหนึ่งไหม ?

หมอไพลิน : ช่วยได้เป็นการดูแลโดยองค์รวมมากกว่า ก็จะมีสมุนไพรบางตัวอย่างกวาวเครือขาวที่ช่วยเรื่องฮอร์โมนเอสโตรเจนที่สูง แต่แนะนำให้ทานภายใต้การดูแลของแพทย์เพื่อความปลอดภัย อาหารบางอย่างที่มีไฟโตเอสโตรเจนสูง เช่น flaxseed, งา, เต้าหู้, ถั่วเหลือง, แครอท, บล็อคโคลี่ ก็ช่วยได้ค่ะถ้าในแง่ที่ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจน แต่ในบางเคสที่เราไม่ได้เกิดจากปัญหาเอสโตรเจนก็ไม่ช่วยค่ะ

ได้ยินมาว่าถ้าท้องผูกบ่อย ต้องเบ่งเวลาถ่าย จะทำให้ช่องคลอดหย่อนยานจริงไหม ?

หมอไพลิน : หลักๆขึ้นอยู่กับกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานของเราว่าแข็งแรงหรือเปล่า เพราะว่ากล้ามเนื้อนี้มีหน้าที่ 2 อย่างด้วยกัน อันแรกคือช่วยพยุงอวัยวะภายใน ช่องท้องด้านล่าง เช่น กระเพาะปัสสาวะ มดลูก และลำไส้ใหญ่ อีกอย่างหนึ่งคือควบคุมการขับถ่ายของระบบปัสสาวะ อุจจาระ เพราะว่ากล้ามเนื้อมัดนี้มันผ่านตรงรูเปิดของทั้งทวาร รูปัสสาวะ และช่องคลอด ในเคสที่เริ่มมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง แล้วเราเบ่งบ่อย ๆ ก็จะทำให้เกิดความไม่กระชับ แต่ถ้ากล้ามเนื้อยังแข็งแรงก็จะไม่มีปัญหา การท้องผูกไม่ดีอยู่แล้ว และการยกของหนักก็มีผลเช่นกัน โดยเฉพาะในผู้หญิงที่เคยคลอดลูกหลายคน ซึ่งอาจทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรงได้ ถ้ากล้ามเนื้อไม่แข็งแรง ก็อาจเกิดมดลูกหย่อน หรืออวัยวะภายในเคลื่อนลงมาได้ ซึ่งมันเกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อ core body ด้วย เช่น กล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และสะโพก ถ้ากล้ามเนื้อเหล่านี้แข็งแรง จะช่วยลดแรงกระแทกเวลาเรายกของหนักลดลงก็จะไม่มีปัญหา

ถ้าคนมีลูกเยอะ ?

หมอไพลิน : ถ้ามีลูกเยอะมากกล้ามเนื้อก็จะอ่อนแรงอยู่แล้ว ก็จะทำให้มีปัญหาได้ค่ะ

กีฬาบางชนิด วิ่ง กระโดด เหล่านี้ทำให้มีปัญหากับช่องคลอดไหม ?

หมอไพลิน : ก็มีโอกาสนะคะ อย่างบางเคสอายุน้อยแต่มีกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นที่ไปออกแรงกดทับกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน กระโดด วิ่ง เป็นแรงกระแทกเยอะ ๆ อาตตะมีโอกาสทำให้กล้ามเนื้อตรงนั้นเกิดความหย่อนคล้อยได้มากขึ้น ทำให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ด หรือเวลาที่เราไอเรื้อรังจากโรคปอดบางชนิด หรือว่าน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานส่วนนี้ก็จะไปกดทับตรงกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ทำให้อ้อนแรงได้เหมือนกัน

พักผ่อนน้อย มีผลต่อสุขภาพน้องสาวเราไหม ?

หมอไพลิน : มีผลค่ะ การนอนน้อยก็อาจจะเพิ่มความเครียดในร่างกาย  มีผลทำให้การ Aging (ความเสื่อม) ในร่างกายมากขึ้น ทำให้การกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนลดลง พวกนี้ก็จะเกิดความเสื่อมในอวัยวะช่องคลอดได้

ผู้ใหญ่บางคนพอถึงจุดหนึ่งจะปัสสาวะเล็ด กลั้นไม่อยู่เลย ?

หมอไพลิน : สาเหตุหลัก ๆ ก็มาจากกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรง ก็จะทำให้เกิดอาการปัลลาวะเล็ดได้ แต่ว่าเรามีวิธีการออกกำลังกายทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง เรียกว่า Kegel Exercise เป็นการขมิบช่องคลอด การออกกำลังกายแบบ Kegel Exercise คือการขมิบช่องคลอด วิธีการทำคือ ให้ขมิบช่องคลอดค้างไว้ 5-10 วินาที ระหว่างทำ ก็หายใจเข้าออก อย่ากลั้นหายใจ แล้วก็อย่าไปเกร็งโดนกล้ามเนื้อหน้าท้องหรือต้นขาด้านใน มันก็จะผิดจุด ต้องทำต่อเนื่องหลายครั้ง วันละมากกว่า 100 ครั้ง และทำมากกว่า 6 สัปดาห์ถึงจะเห็นผลชัดเจน เพราะฉะนั้นคนส่วนใหญ่ก็จะทำได้ไม่ต่อเนื่องเลยเห็นผลไม่ชัดเจน แต่ว่าตอนนี้มีนวัตกรรมที่ช่วยขมิบช่องคลอด เป็นตัวคลื่นเข้มข้นที่เฉพาะเจาะจงไปที่กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ทำให้เกิดการหดรัดตัวได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ดีกว่าออกกำลังกาย

การรีแพร์คืออะไรคะ ?

หมอไพลิน : การรีแพร์คือการกระชับช่องคลอดมี 2 วิธีด้วยกัน คือ 1.การผ่าตัดจะเหมาะในเคสที่มีปัญหามาก เช่น มดลูกหย่อนลงมาในช่องคลอด กับบางคนที่ผ่านการไม่ผ่าตัดมาแล้วยังไม่เห็นผลเขาก็จะมาใช้วิธีผ่าตัด  แต่ข้อเสียคือต้องพักฟื้น เจ็บตัว และเสี่ยงเรื่องการติดเชื้อได้  2.แบบไม่ผ่าตัด ซึ่งเป็นที่นิยมมาก เพราะว่าไม่ต้องพักฟื้นใช้เวลาการทำรวดเร็ว ไม่นาน ไม่เจ็บตัว การใช้เครื่องก็จะเป็นพลังงาน RF หรือตัวคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า พลังงานความร้อน ตัวนี้จะช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอิลาสตินทำให้ช่องคลอดเรากระชับขึ้น ช่วยให้เกิดความความชุ่มชื้นในช่องคลอดขึ้น

บางคนอายุยังไม่เยอะ 20 กว่า แต่น้องสาวดูโทรมเหมือนอายุ 50–60 อย่างนี้มีไหม ?

หมอไพลิน : ก็เป็นไปได้นะคะ ส่วนใหญ่มาจากกรรมพันธุ์หรือโครงสร้างเฉพาะบุคคล ถ้าเป็นมากๆ ก็อาจจะการผ่าตัดร่วมด้วย ถ้าเป็นไม่เยอะก็อาจจะลองรีแพร์ดูก่อน Nini Repair โดยที่ไม่ต้องผ่าตัด

สาวประเภทสอง LGBTQ ทำได้ไหม ?

หมอไพลิน : ถ้าเป็นเรื่องของรูทวาร จะเป็นกล้ามเนื้อคนละชนิดกัน Mini Repair ก็อาจจะไม่ต้องโจทย์ แต่ว่าถ้าเป็นสาวสองที่ผ่าตัดแปลงเพศมาแล้ว ถ้าเริ่มมีปัญหาหย่อนคล้อย ก็สามารถมาทำได้

จะมีวิธีการดูแลน้องสาวยังไงให้สุขภาพเพศของเราดีขึ้นด้วย ?

หมอไพลิน : อย่างแรกเลยคือการออกกำลังกายโดยการขมิบช่องคลอด (Kegel Exercise) ต้องทำต่อเนื่อง มากกว่า 100 ครั้งต่อวัน อย่างที่สองคือทำให้กล้ามเนื้อ Core Body เราแข็งแรง อย่างกล้ามเนื้อหน้าท้อง สะโพกสควอชก็ได้นะคะ การออกกำลังกาย เช่น โยคะ พิลาทิส ก็ช่วยได้เช่นกันค่ะ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพราะน้ำหนักเกินจะไปกดทับกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ทำให้เกิดการหย่อนคล้อยได้ อย่างที่สามก็อาจจะมีพวกอาหารบางตัวที่เสริม ฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง เช่น flaxseed , งา , เต้าหู้ , ถั่วเหลือง , แครอท, บร็อคโคลี่ ทานให้บาลานซ์ ให้เหมาะสมและหลากหลายค่ะ


สามารถติดตาม  "Tuck Talk"  ได้ที่ช่องทาง Podcast : Life Dot , Facebook: Life Dot , Youtube : Life Dot  วันพฤหัสบดี (สัปดาห์เว้นสัปดาห์) เวลา 18.00 น.

คลิกชมรายการย้อนหลัง  :  https://www.youtube.com/watch?v=Im7tztrbAoE&ab_channel=LIFEDOT

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
kookkak

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบน
เว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้