ดูแลสุขภาพกับอาหารต้านอนุมูลอิสระ
หลายคนคงคุ้นหูกับคำว่า “สารต่อต้านอนุมูลอิสระ” ว่าเป็นสารที่มีประโยฃน์ ทานแล้วจะช่วยให้สุขภาพดี ชะลอวัย ต้านโรคต่างๆ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสารชนิดนี้กันค่ะ
สารต่อต้านอนุมูลอิสระ คือ บรรดาเอนไซม์กรดแอมิโน อาหารเสริม วิตามิน และแร่ธาตุ ที่ปกป้องเราจากอนุมูลอิสระ อันเป็นปฏิกิริยาออกซิเดชันที่ควบคุมไม่ได้ซึ่งสามารถทำลายเซลล์และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ร่างกายเราผลิตอนุมูลอิสระทุกวันจากกระบวนการเผาผลาญเพื่อให้เกิดพลังงาน หมายถึง มันคือผลพลอยได้ที่เราไม่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นมลพิษในอากาศ ควันบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ โรคภัยไข้เจ็บ ไปจนถึงอาหารปิ้งย่าง อายุที่มากขึ้น กระทั่งการออกกำลังกายอย่างหักโหมจนเกินไป ล้วนก่อให้เกิดอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้นทั้งสิ้น
เพื่อรักษาระดับปริมาณของอนุมูลอิสระ ร่างกายของเราจะสร้างสารต่อต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด ตัวที่โดดเด่นได้แก่ แคตตาเลส โคเอนไซม์คิวเทน กลูต้าไธโอน เมลาโทนิน วิตามินเอ แอลฟาและเบต้าแคโรทีน วิตามินซี วิตามินอี กรดลิโพอิก ธาตุซีลีเนียม ซูเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทส และธาตุสังกะสี
โดยเมื่อเราอายุมากขึ้น อนุมูลอิสระก็จะสะสมมากขึ้น ในขณะที่ร่างกายสร้างสารต่อต้านอนุมูลอิสระได้น้อยลง ส่งผลให้ความเสี่ยงต่อมะเร็งและโรคหัวใจสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และด้วยเหตุนี้เอง อาหารที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูงและอาหารเสริม เช่น ใบแปะก๊วย สารสกัดจากเมล็ดองุ่น สารสกัดจากชาเขียว ไอโซฟลาโวน ลูทีน และไลโคปีน จึงมีความจำเป็นต่อเรา และยิ่งเราเริ่มรับประทานอาหารเหล่านี้เร็วเท่าใด ก็ยิ่งส่งผลดีต่อร่างกายของเราในระยะยาวมากขึ้นเท่านั้น
บทบาทของสารต้านอนุมูลอิสระ
งานวิจัยมากมายบ่งชี้ว่า สารต้านอนุมูลอิสระสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคหลายโรคโดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่สัมพันธ์กับอาหาร เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น รวมทั้งช่วยชะลอกระบวนการบางขั้นตอนที่ทำให้เกิดความแก่ โดยปกติร่างกายสามารถกำจัดอนุมูลอิสระก่อนที่มันจะทำอันตราย แต่ถ้ามีการสร้างอนุมูลอิสระเร็วหรือมากเกินกว่าร่างกายจะกำจัดทัน อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจะสร้างความเสียหายต่อเซลล์และเนื้อเยื่อได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยลดความเสียหายที่เกิดจาก
ร่างกายได้รับอนุมูลอิสระจากไหน ?
1. การหายใจ จากขบวนการเผาผลาญภายในร่างกายตลอดเวลา ซึ่งเราเรียกว่าปฏิกิริยาออกซิเดชั่นโดยมีออกซิเจน
เป็นตัวเร่ง
2. ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายในการฆ่าเชื้อโรคของเม็ดเลือดขาวภายนอก ได้รับจาก แสงแดด, รังสี UV, ควันจากท่อไอเสีย, มลพิษในอากาศ, ฝุ่น, ควันบุหรี่,แอลกอฮอล์, สารเคมีในอาหาร, อาหารที่มีกรดไขมันไม่อิ่ม, อาหารที่มีธาตุเหล็กมากกว่าปกติ,อาหารที่ไหม้เกรียม ยารักษาโรค ฯลฯ
แหล่งอาหารที่สำคัญของสารต้านอนุมูลอิสระ
สารอาหารและแร่ธาตุต่างๆ ที่มีสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินซี วิตามินอี วิตามินเอ ซิลิเนียม สังกะสี แคโรทีนอยด์ (เบต้าแคโรทีน ลูทีน และไลโคปีน)
1. วิตามินซี อาหารที่ให้วิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง ส้ม มะขามป้อม มะละกอสุก พริกชี้ฟ้าเขียว บลอกโคลี ผักคะน้า ยอดสะเดา ใบปอ ผักหวาน ผักกาดเขียว ตำลึง ผักบุ้ง เป็นต้น
2. วิตามินอี มีในน้ำมันพืชต่างๆ เช่น น้ำมันจากจมูกข้าวสาลี น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกคำฝอย เมล็ดทานตะวัน เมล็ดอัลมอนด์ จมูกข้าวสาลี
3. ซีลีเนียม มีมากในอาหารทะเล ปลาทูน่า เนื้อสัตว์และตับ บะหมี่ ไก่ ปลา ขนมปังโฮลวีต
4. วิตามินเอ มีมากในตับหมู ตับไก่ ไข่โดยเฉพาะไข่แดง น้ำนม พืชผักที่มีสีเขียวเข้ม ผลไม้ที่มีสีเหลืองส้ม เช่น ผักตำลึง ผักกวางตุ้งผักบุ้ง แครอท ฟักทอง มะม่วงสุก มะละกอสุก มะเขือเทศ แอปปริคอท
5. แคโรทีนอยด์ (เบต้าแคโรทีน ลูทีน และไลโคปีน) มีมากในผักที่มีสีเขียวเข้ม ผลไม้ที่มีสีเหลืองส้ม เช่น ผักตำลึง ผักกวางตุ้ง ผักบุ้ง ฟักทอง มะม่วงสุก มะละกอสุก มะเขือเทศ
ประโยชน์ของสารต้านอนุมูลอิสระ
1. ชะลอกระบวนการแก่ชรา
2. ช่วยให้ร่างกายขับสารพิษที่ก่อมะเร็งและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
3. ยับยั้งการเจริญเติบโตจากเนื้องอกต่างๆในร่างกาย
4. ช่วยป้องกันโรคปอดเรื้อรัง หอบหืด หลอดลมอักเสบ ถุงลมโป่งพอง
5. ช่วยบรรเทาอาการของโรคอัลไซเมอร์ได้
6. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้ด้วย
7. ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ
8. ช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดโลหิตในสมองตีบ
9. ช่วยป้องกันโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม
10. ช่วยเป็นเกราะในการป้องกันมลพิษต่างๆ จากสิ่งแวดล้อม
ติดตามเรื่องราวของผู้หญิง ได้ทาง WomanPlus Magazine
ติดตามอ่านแบบออนไลน์ได้ที่ WomanPlus Magazine Online
หรือ ติดตามอ่านฉบับ Mobile App รายละเอียดได้ที่ http://www.womanplusmagazine.com/e-magazine
ติดตามคอลัมน์อื่นๆ เพิ่มเติม ดาวน์โหลดนิตยสารในเครือจีเอ็มได้แล้วที่