The Carry All อุปกรณ์ต่างๆ สำหรับลูกน้อย
เรื่องของการช้อปปิ้งข้าวของสำหรับลูกน้อย เป็นกิจกรรมยอดฮิตสำหรับคุณแม่อยู่แล้ว ใครที่เห่อหน่อยก็ซื้อกันตั้งแต่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ แถมคาดเดาเองด้วยว่าลูกจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย ในกรณีที่เดาผิดก็จะทำให้เปลืองเงินโดยเปล่าประโยชน์นะคะ
ฉะนั้นการเลือกซื้อของทุกอย่าง ควรรออัลตร้าซาวด์ก่อนจะดีไม่น้อย ซึ่งเรื่องหลักๆ ที่คุณแม่ให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ก็เห็นจะเป็นโทนสีและสไตล์ ลูกชายก็ต้องสีฟ้า ลูกสาวก็ต้องสีชมพูอะไรประมาณนี้ เพราะลูกน้อยก็คือตุ๊กตาตัวน้อยๆ ของคุณ คุณแม่เลยมีความสุขอย่างมากกับการแต่งตัวให้
แต่เหนือสิ่งอื่นใดก็คือความปลอดภัยค่ะ เราจึงจะมาลงรายละเอียดในการซื้ออุปกรณ์สำหรับลูกน้อยกัน ให้คุณแม่ทุกคนได้รับข้อมูลรอบด้านเพื่อความมั่นใจ และคุ้มค่าในการใช้จ่ายสำหรับเจ้าตัวน้อย
เรามาเริ่มต้นกันที่ ที่นั่งในรถสำหรับเด็ก ค่ะ โดยที่นั่งในถสำหรับเด็กมี 2 แบบคือแบบสลับด้านได้ ชนิดนี้คุณแม่ต้องอุ้มลูกน้อยออกจากที่นั่งและแกะสายรัดออกเมื่อลงจากรถ ซึ่งตอนที่ลูกยังเล็กจะให้หันหน้าเข้าหาเบาะ แต่พอโตขึ้นก็ให้ออกมาทางด้านกระจกได้ ส่วนแบบที่ 2 คือแบบแคปซูล ที่นั่งจะติดอยู่กับกรอบป้องกัน คุณแม่สามารถอุ้มลูกน้อยออกจากรถได้ โดยไม่ต้องปลดสายรัด จะมีประโยชน์เวลาที่ต้องอุ้มลูกออกจากรถขณะที่เค้ากำลังหลับปุ๋ย อุปกรณ์เสริมก็มีที่หนุนศีรษะ เพื่อลดการเคลื่อนไหวของศีรษะลูกขณะรถเคลื่อนที่ คุณแม่ยุคประหยัดต้องลงคะแนนให้ของมือสองเป็นแน่แท้ อันนี้เราไม่ว่ากัน แต่ขอให้สอบประวัติการใช้ พร้อมกับเช็คด้วยตัวเองอีก 1 รอบอย่างพินิจพิจารณา รถเข็น ก่อนซื้อคุณแม่ต้องรู้ก่อนว่าคุณเป็นคุณแม่แบบไหน 1. คุณแม่ฟิตแอนด์เฟิร์ม รักการออกกำลังกายเป็นชีวิตจิตใจ เส้นทางในการใช้รถเข็นก็ต้องไกลหน่อย และอาจจะต้องเดินไปบนถนนในแบบต่างๆ เรียบบ้าง ขรุขระบ้าง ฉะนั้นควรเลือกรถเข็นแบบที่สามารถรอบรับแรงกระแทกได้ดี หรือถ้าออกกำลังกายจนเหนื่อยขึ้นมา ก็ควรจะต้องใช้รถเข็นที่พับเก็บได้ง่าย ขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา จะได้นั่งรถกลับบ้านได้สะดวก สามารถทดสอบความสะดวกด้วยการลองพับรถเข็นด้วยมือข้างเดียว 2. คุณแม่ยอดประหยัด ที่อยากจะใช้รถเข็นคันเดียวแล้วไม่ต้องเปลี่ยน เพราะไม่อยากจะเสียเงินบ่อยๆ เราขอแนะนำให้เลือกรถเข็นที่สามารถปรับให้นอนราบได้ สำหรับเวลาลูกยังแบเบาะ แล้วถ้าได้แบบสลับด้านจับด้วยก็จะดีมากๆ เพื่อคุณแม่จะได้มองเห็นคุณลูกตลอดเวลา พอโตขึ้นมาหน่อยลูกของคุณก็จะได้มองไปข้างหน้าได้ และถ้าคุณวางแผนที่จะมีลูกหัวปีท้ายปี ต้องหารถเข็นที่สามารถนั่งได้ 2 คนไปเลยก็ดี จะได้ไม่ต้องซื้อรถเข็น 2 คัน 3. คุณแม่จอมช้อป ควรหารถเข็นที่มีเก็บของทางด้านหลังหรือด้านล่างที่กว้างซักหน่อย อันนี้ไม่ได้รองรับของที่คุณแม่ช้อปอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังช่วยเก็บของจำเป็นสำหรับลูกน้อยด้วย 4. คุณแม่ซูเปอร์เซฟ เรื่องความปลอดภัยต้องมาเป็นอันดับ 1สำคัญที่สุดสำหรับรถเข็นก็คือสายรัด และที่ดีที่สุดควรมี 5 จ คือ สายรัดระหว่างขา 1 เส้น, สายรัดตัก 2 เส้น และสายรัดไหล่อีก 2 เส้น ถ้ามีครบจะช่วยทำให้มั่นใจได้ว่าลูกน้อยจะไม่เลื่อนไหลจากรถเข็น และไม่สามารถปีนออกจากรถได้ และควรจะฝึกเด็กให้ชินกับการรัดเข็มขัดทุกจุดตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น เมื่อเวลาโตขึ้นจะได้ไม่ต่อต้านการรัดสายรัด นอกจากสายรัดแล้วก็ยังมีสิ่งที่ควรทำเสมอก็คือการเช็คความปลอดภัย เรื่องของการยุบตัว ที่ล็อคล้อยังทำงานปกติหรือไม่ สุดท้ายคือเรื่องความสมดุลของรถเข็น เพื่อให้คุณแม่มั่นใจว่ารถเข็นจะไม่พลิกคว่ำ โต๊ะหรือเสื่อสำหรับเปลี่ยนผ้าอ้อม โต๊ะหรือเสื่อนี้อาจจะไม่จำเป็น ถ้าคุณแม่มีที่ประจำสำหรับเปลี่ยนผ้าอ้อมที่สบายและปลอดภัยอยู่แล้ว ที่เปลี่ยนผ้าอ้อมที่ดีไม่ควรมีลมโกรก มีอุปกรณ์ในการเปลี่ยนผ้าอ้อมครบครัน แต่ถ้าบ้านไหนมีบริเวณกว้าง มีมุมมากมาย ก็ควรใช้เสื่อเปลี่ยนผ้าอ้อมแบบบุนวมหรือมีพลาสติกคลุมทับที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย เสื่อควรมีขอบยกสูงประมาณ 10 เซ็นติเมตรป้องปันการกลิ้งของเด็ก เรื่องของความปลอดภัยก็ยังมองข้ามไม่ได้เหมือนเดิม ต้องดูให้ดีว่าที่จะใช้เปลี่ยนผ้าอ้อมต้องมีความแข็งแรงมั่นคง และไม่สูงจากพื้นมาก ไม่ควรมีปลั๊กไฟอยู่ใกล้ๆ สายเชือกผ้าม่านและมู่ลี่ก็ต้องระวังเช่นกัน ที่สำคัญห้ามปล่อยลูกอยู่ตามลำพังโดยเด็ดขาด เพราะแม้เสี้ยววินาทีเดียว ลูกอาจพลัดตกหรือประสบอุบัติเหตุต่างๆ ได้ อ่างอาบน้ำสำหรับเด็ก คุณสามารถอาบน้ำให้ลูกที่ไหนก็ได้ อ่างอาบน้ำธรรมดา อ่างล้างมือ หรือแม้แต่ฝักบัวก็ยังได้ แต่อ่างอาบน้ำสำหรับเด็กเป็นทางเลือกที่ดี หลักการเลือกก็มีง่ายๆ คือ ระบายน้ำออกได้ง่าย มีความยาวพอควร และสามารถติดตั้งเก้าอี้กันลื่นได้ด้วย โดยเก้าอี้กันลื่นนี้เอาไปใช้ต่อได้เมื่อลูกโตขึ้น กับอ่างที่ใบใหญ่ขึ้น สำหรับคุณแม่ยอดประหยัดก็อาจจะไม่เทใจให้อ่างอาบน้ำสำหรับเด็กก็ได้ เพราะโอกาสใช้มีเพียง 12 สัปดาห์เท่านั้น ถ้าคิดว่าไม่จำเป็นและมั่นใจในฝีมือการอาบน้ำเด็กของตัวเอง ก็ไม่ต้องซื้อก็ได้นะคะ เตียงเด็ก คุณแม่ที่กำลังจะซื้อเตียงให้ลูกน้อยของคุณ มีลิสต์ต้องเช็คเพื่อความปลอดภัยดังต่อไปนี้ - ระหว่างที่นอนและด้านข้างทั้งสี่ด้านของเตียงนั้น ไม่ควรมีช่องว่างขนาดเกินกว่า 2 นิ้วมือของผู้หญิง - ฐานของที่นอนควรมีระยะห่างจากขอบบนของเตียงอย่างน้อย 600 มิลลิเมตร - ช่องว่างระหว่างซี่ลูกกรงควรมีความห่างระหว่าง 50-85 มิลลิเมตร - ด้านข้างของเตียงและที่นอนควรมีระยะห่างกันไม่เกิน 25 มิลลิเมตร - ควรระวังอย่าให้มีรูหรือช่องว่างที่แขน ขา ศีรษะหรือนิ้วมือของลูกน้อยเข้าไปติดได้ - พยายามเลือกเตียงที่มีขาตั้งไม่เกินสองขาและมีล้อเลื่อน - ควรเลือกเตียงที่มีฐานเตียงติดอยู่กับที่โดยที่มีฐานเตียงอยู่ในระดับต่ำที่สุด หากสามารถปรับระดับฐานเตียงได้ ให้ปรับฐานเตียงให้อยู่ระดับต่ำสุดทันทีที่ลูกน้อยนั่งได้ เก้าอี้โยกหรือเปลโยกที่เคลื่อนย้ายได้ เก้าอี้โยกจะมีประโยชน์มากเมื่อลูกน้อยยังเล็ก และสามารถปรับขนาดได้เมื่อลูกโตขึ้น ถ้าคุณแม่เลือกเก้าอโยกชนิดที่ปรับความสูงของพี่พิงหลังได้ก็จะดีมาก เพราะสามารถใช้เป็นเก้าอี้สำหรับป้อนข้าวเด็กได้ด้วย สำหรับความปลอดภัยมีลิสต์ให้ตรวจสอบดังนี้ - ดูให้แน่ว่าฐานกว้างและมั่นคงเพื่อป้องกันการพลิกคว่ำ - ตรวจดูว่าเก้าอี้โยก/เปลโยกมีสายรัดเพื่อความปลอดภัย าห้าจุดำ - เก้าอี้โยกได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ใช้บนพื้นเท่านั้น - ตรวจบริเวณโดยรอบอย่าให้มีสิ่งที่อาจเป็นอันตราย อุปกรณ์ป้อนอาหารลูกน้อย หากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อุปกรณ์ป้อนนมที่คุณแม่จำเป็นต้องใช้จะมีน้อยมาก ได้แก่ เก้าอี้สบายที่มีที่หนุนหลัง 1 ตัว, แผ่นปิดเต้านมและบราสำหรับป้อนนมที่ใส่กระชับอย่างน้อย 3 ตัว และเบาะสำหรับวางแขนและวางลูกน้อย เบาะรูปตัววีำ จะดีที่สุด หากคุณแม่เลือกที่จะเลี้ยงลูกด้วยอาหารทดแทนนมหรือนมผง คุณแม่จะต้องเตรียมสิ่งของต่อไปนี้ให้พร้อมเมื่อกลับมาบ้าน - อุปกรณ์ฆ่าเชื้อสำหรับทำความสะอาดขวดนม อาจเป็นเครื่องฆ่าเชื้อแบบไฟฟ้าหรือเป็นเตาไมโครเวฟ ก็ได้ หรือเพียงต้มขวดในของเหลวที่ใช้ฆ่าเชื้อ - ขวดนมและจุกนมที่เหมาะกับลูกน้อยประมาณ 6 ชุด - นมผงสูตรที่เหมาะสำหรับลูกน้อยและช้อนตวงนม - เครื่องทำความสะอาดขวดและจุกนม เครื่องช่วยเฝ้าติดตามเด็ก ต่อไปนี้คือฟังก์ชั่นที่มีประโยชน์ของเครื่องมอนิเตอร์ที่คุณแม่ควรมองหาเมื่อเลือกซื้อมอนิเตอร์สักเครื่อง เครื่องมอนิเตอร์นี้มีไว้สำหรับฟังเสียงลูกน้อยในขณะที่คุณอยู่อีกห้องหนึ่ง และไม่ควรใช้เครื่องนี้เมื่อคุณจะต้องอยู่ไกลจากลูกน้อยมากๆ ควรตรวจระยะห่างในการใช้งานระหว่างเครื่องลูกและเครื่องแม่ เครื่องแม่ควรทำงานได้โดยใช้พลังงานจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่ไฟบ้าน หากเครื่องแม่สามารถชาร์จไฟได้จะเป็นการดีที่สุด เครื่องแม่ควรมีไฟแสดงผลและมีฟังก์ชั่นเสียงด้วย เครื่องมอนิเตอร์บางรุ่นในปัจจุบันอาจมีเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวและการหายใจเป็นฟังก์ชั่นพิเศษด้วย สำหรับเครื่องมอนิเตอร์บางรุ่น เครื่องลูกจะสามารถเรืองแสงได้ด้วย เกมทดสอบ คุณจะเป็นคุณแม่แบบไหน? ที่นี่ (http://huggiesmum.minteraction.net) คลิกดู แหล่งคู่มือออนไลน์สำหรับว่าที่คุณแม่ ที่นี่ (http://www.huggies.co.th/BeingAParent)