คนอยู่ (หรือไป) เพราะหัวหน้างาน

คนอยู่ (หรือไป) เพราะหัวหน้างาน

คนอยู่ (หรือไป) เพราะหัวหน้างาน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คอลัมน์ เอชอาร์ คอร์เนอร์
โดย พิชญ์พจี สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทาวเวอร์ส วัทสัน (ประเทศไทย) จำกัด

ทุกครั้งที่มีคนลาออกในบริษัท สาเหตุที่ถูกยกมาอ้างอิงเป็นประจำ (นอกจากเรื่องเงินเดือน) คือหัวหน้างานไม่ดี

ซึ่งดิฉันเห็นด้วยนะคะว่า หัวหน้างานมีความสำคัญจริงๆ และเป็นปัจจัยหลักในการทำให้พนักงานอยู่หรือไม่อยู่ ซึ่งหมายรวมถึงการสร้างความผูกพันในบริษัทด้วย ถ้ามองจริงๆ แล้วหัวหน้างานจะเป็นหลักในการ

1.ทำให้เกิด Productivity ในการทำงาน ถ้าหัวหน้าไม่สอนหรือไม่เก่ง (คือพยายามสอนแต่สอนผิด) Productivity จะเกิดได้อย่างไร

2.ทำให้เกิด Retention คือพนักงานตัดสินใจอยู่กับองค์กรนาน ๆ แม้มีคนมาชวนให้ออกก็ไม่อยากออก เรื่องนี้เห็นชัดค่ะ บ่อยครั้งที่คนออกตามนาย นายออก เราออกด้วย เพราะติดนาย (ติดในที่นี้หมายถึงพนักงานชอบทำงานกับนายคนนี้ อาจเป็นเพราะเขาแฟร์ เขาเก่ง เขาสอนงาน เป็นต้น)

เรามาดูกันนะคะว่า หัวหน้างานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทจะช่วยสร้างความผูกพัน และการรักษาพนักงานที่มีผลงานดี (Talent) ในองค์กรได้อย่างไร ดูตามภาพจะพบว่า (ดูตารางการจัดประเภทของหัวหน้างาน)

1) ถ้าเราดูตามแกนแนวตั้งเป็นระดับความเก่งงานของหัวหน้างาน จะเน้นผลงานเป็นหลัก (ซึ่งสนับสนุนการเติบโตในปัจจุบันขององค์กร) ในขณะที่แกนนอนเป็นระดับความเก่งคน ซึ่งเน้นการสร้างความไว้วางใจ และการพัฒนาคน (ซึ่งเป็นการสนับสนุนการเติบโตในอนาคตขององค์กร) ทั้งสองเรื่องเป็นปัจจัยสำคัญในการเป็นหัวหน้างานที่ดี

2) จากแกนทั้งสองจะเห็นว่า หัวหน้างานแบ่งได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้

a.ประเภทที่ไม่เก่งอะไรเลย (Poor Manager) (ซ้ายล่าง) หัวหน้างานประเภทนี้องค์กรอาจต้องพิจารณาละคะว่าจะพัฒนา (หรือไม่) อย่างไรดี แต่ที่แน่ ๆ คือหัวหน้างานประเภทนี้เป็นความท้าทายขององค์กรในการสร้าง Productivity และ Retention อย่างน้อยถ้ามีหัวหน้างานประเภทนี้มาก ๆ ก็ลองคิดหาแนวทางจะพัฒนาอย่างไรดีให้มีจำนวนน้อยที่สุด หรือไม่มีเลยยิ่งดี

b.ประเภทที่เก่งแต่งาน (ซ้ายบน) หัวหน้างานประเภทนี้ช่วยเราสร้าง Productivity แต่อาจไม่สร้าง Retention ลองนึกดูว่าเรามีหัวหน้างานที่เก่งแต่สอนงานลูกน้องไม่เป็น อะไร ๆ ต้องทำเองหมดเพราะสอนไม่ได้ จะเกิดอะไรขึ้น หรือหัวหน้างานที่เก่งทำงานแต่พูดไม่เป็น (เป็นแต่ตำหนิลูกน้อง) ดูแลทีมไม่ได้ ทีมก็ไม่อยากอยู่ด้วย เป็นต้น

c.ประเภทที่เก่งแต่คน (ขวาล่าง) หัวหน้างานประเภทนี้ช่วยเราสร้าง Retention แต่อาจไม่สร้าง Productivity ค่ะ ลองนึกดูว่าเรามีหัวหน้างานที่สอนเก่งแต่ไม่รู้เรื่องงาน อยากพัฒนาคนแต่ไม่มี Conten หรือเนื้อหาในการพัฒนา (เพราะตัวเองไม่เก่งเรื่องงาน) ในกรณีนี้ต้องมีลูกน้องที่เก่งเอาตัวรอดได้ หาความรู้เองได้ ก็พออยู่กันได้ค่ะ

d.ประเภทที่เก่งทั้งสอง (ขวาบน) (Good Manager) หัวหน้างานประเภทนี้คือหัวหน้างานในฝันค่ะ เก่งงานด้วย เก่งคนด้วย ช่วยสร้างทั้ง Productivity และ Retention

e.ประเภทที่เก่งทั้งสองไม่พอ ยังเก่งด้านการปรับตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลง (ขวาบนสุดรูปสามเหลี่ยม) (Great Manager) ประเภทนี้คือสุดยอดหัวหน้างานในฝันเลยนะคะ คือประเภทที่นอกจากเก่งคน เก่งงานแล้วยังเก่งในเรื่องการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงด้วย

ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญมากสำหรับหัวหน้างานในปัจจุบัน ที่ต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

3) ซึ่งผลการสำรวจข้อมูลของ Towers Watson ทั่วโลกยังพบว่า หัวหน้างานแต่ละประเภทช่วยขับเคลื่อนการสร้างความผูกพันในองค์กรได้ตามตาราง (ดูตาราง หัวหน้างาน กับความผูกพัน)

แน่นอนที่สุดค่ะ องค์กรที่มี Great Manager มากย่อมได้เปรียบ เพราะสามารถสร้างความผูกพันและรักษาพนักงานที่มีผลงานดี (Talent) ได้ดีที่สุด

ลองพิจารณาดูนะคะว่า เรา (หรือลูกน้อง) เป็นหัวหน้างานประเภทไหน และจะพัฒนาตัวเอง (และลูกน้อง) ให้เป็น Great Manager ได้อย่างไร ขอให้ทุกท่านโชคดีนะคะ

 

 

ขอบคุณภาพประกอบ : http://www.istockphoto.com/

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook