เคล็ดไม่ลับ..ถนอมดวงตาที่รักของคุณ
เคล็ดไม่ลับ..ถนอมดวงตาที่รักของคุณ
ถ้าคุณเป็นคนที่ต้องใช้ชีวิตติดจออยู่เป็นประจำ แนะนำให้อ่านบทความนี้ เพื่อประโยชน์ต่อสายตาของคุณในระยะยาว
พฤติกรรมของคนไทยเปลี่ยนไปจากแต่ก่อน หลายคนใช้ชีวิตติดอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือหน้าจอสมาร์ทโฟน/แท็บเล็ตทั้งวันทั้งคืน ไม่ว่าจะด้วยลักษณะของงานที่ต้องทำ หรือด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่เปลี่ยนไป ล้วนทำให้เราใช้ชีวิต “ติดจอ” อยู่กับโลกออนไลน์ ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มากขึ้น หรือแม้แต่การอยู่กับหน้าจอโทรทัศน์ก็ตาม
นั่นหมายความว่า เราต้องใช้สายตาไปสัมผัสกับ คลื่นแสงสีฟ้า (Blue Light) ซึ่งเป็นคลื่นพลังงานสูง ที่สามารถกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระภายในลูกตา ส่งผลให้เซลล์ประสาทตาเสื่อมได้ ดังนั้น การจ้องมองแสงสีฟ้าจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เป็นเวลานาน จะก่อให้เกิดอาการปวดตา ตาแห้ง พร่ามัว น้ำตาไหล รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม (AMD) นำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น หรือตาบอดได้
ความน่ากลัวของโรคจอประสาทตาภาพเสื่อมและโรคต้อกระจก คือ การมองเห็นของเราจะมีประสิทธิภาพน้อยลง โรคจอประสาทตาเสื่อมจะทำให้การมองเห็นภาพเบลอและบิดเบี้ยว และอาจรุนแรงถึงขั้นเห็นจุดดำมาบังภาพอยู่ตลอดเวลา
เทคนิคการดูแลสายตาในเบื้องต้นทำได้ไม่ยาก เริ่มจากอย่าใช้สายตานานจนเกินไป ถ้าจำเป็นต้องใช้ให้พักสายตาบ่อยๆ หรือการกระพริบตาถี่ๆ ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อตาที่เกร็งนานๆ ได้ หากช่วงเวลาไหนต้องอ่านหนังสือ ควรมีแสงสว่างที่เพียงพอ
ส่วนการดูโทรทัศน์ การใช้คอมพิวเตอร์ แทปเล็ต หรือสมาร์ทโฟนต่างๆ ไม่ควรนั่งดูในที่มืด และควรเว้นระยะให้ห่างพอควร อย่านั่งติดจอภาพมากเกินไป ในตอนกลางวันแสงแดดก็สามารถทำร้ายสายตาเราได้เช่นกัน หากต้องออกไปเผชิญแสงแดดกลางแจ้ง ก็ควรเตรียมไอเท็มสุดชิค อย่างแว่นตากันแดด พกติดตัวไปด้วย อย่างน้อยก็ช่วยกรองแสงยูวีได้ในระดับหนึ่ง
และสุดท้ายซึ่งสำคัญมากที่สุด คือ การรับประทานอาหาร ควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์กับสายตาเป็นประจำ โดยเฉพาะผักสีเหลืองและสีเขียวเข้ม
ทานผักสีเหลืองและสีเขียวเข้มช่วยได้อย่างไร ? ในพืชผักและผลไม้ที่มีสีสันเหล่านี้ มีสารธรรมชาติอย่าง ลูทีน และ ซีแซนทีน ซ่อนอยู่ สารตัวนี้อยู่ในตระกูลของสารแคโรทีนอยด์ และพบได้ในบริเวณดวงตาของเรานี่เอง โดยเฉพาะตรงบริเวณเลนส์ตาและจอรับภาพตา
ในธรรมชาติมีเพียง ลูทีน และ ซีแซนทีน ซึ่งเป็นแคโรทีนอยด์เพียง 2 ชนิด จากกว่า 600 ชนิด ที่พบในจอตา โดย ลูทีน และ ซีแซนทีน ทำหน้าที่ช่วยกรองหรือป้องกันรังสีจากแสงแดดที่เป็นอันตรายต่อดวงตา และช่วยปกป้องเซลล์จอประสาทตาไม่ให้ถูกทำลายด้วยการลดอนุมูลอิสระ เปรียบเสมือนแว่นกรองแสงที่ทำจากธรรมชาติ
ดังนั้น ลูทีน และ ซีแซนทีน จึงทำหน้าที่บำรุงและชะลอความเสื่อมของจอประสาทตาได้เป็นอย่างดี ซึ่งผักและผลไม้ที่มีสารสองตัวนี้ก็มีหลายชนิด เช่น ข้าวโพด แครอท ฟักทอง ผักกาด ผักปวยเล้ง คะน้า ผักโขม เป็นต้น หากเราบริโภคผักและผลไม้ที่มี ลูทีน และ ซีแซนทีน เป็นประจำก็จะทำให้สายตาห่างไกลจากโรคจุดรับภาพเสื่อมและโรคต้อกระจกได้ ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.lzvit-karaoke.com/productinfo.html
ในงานวิจัยเกี่ยวกับโรคจอประสาทตาเสื่อมเอง ก็มีการศึกษาที่สนับสนุนข้อมูลดังกล่าว โดยพบว่าถ้าปริมาณลูทีนและซีแซนทีนในลูกตาน้อย จะพบความเสี่ยงในการเป็นโรคจอประสาทเสื่อมมากขึ้น และพบว่าถ้ามีลูทีนและซีแซนทีนมากในลูกตา จะพบความเสี่ยงในการเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมน้อยลง
มีการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา กับผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้วว่าอยู่ในขั้นที่กำลังจะพัฒนาเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมจำนวน 356 คน ช่วงอายุ 55-80 ปี พบว่าการรับประทานอาหารที่มี ลูทีน และซีแซนทีน ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมได้
นอกจากนี้ยังมีรายงานการวิจัยที่ Medical University of Vienna, Vienna, Austria โดยทดลองให้ลูทีนกับกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม 126 ราย พบว่าลูทีน ช่วยเพิ่ม macular pigment optical density (MPOD) จริง ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมลง
รายงานการวิจัยที่ Harvard School of Public Health, Boston ในผู้ชาย 36,644 คนที่ได้รับอาหารเสริมและวิตามินต่างๆ พบว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารเสริมเป็นลูทีนและซีแซนทีน จะลดความเสื่อมของโรคต้อกระจกถึง 19% และที่ University of Massachusetts ทำวิจัยในสุภาพสตรีถึง 50,461 คน พบว่า ลูทีนและซีแซนทีน จะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต้อกระจกถึง 22% การวิจัยที่ University of Wisconsin Madison Medical School ในผู้สูงอายุ 43-48 ปี จำนวน 1,354 คน พบว่าช่วยลดการเกิดต้อกระจกที่เกิดตรงกลางเลนส์ (Nuclear Cataracts) ได้ถึง 50%
จากการวิจัยทั้งหมดนี้จึงเป็นที่ยอมรับว่า ลูทีนและซีแซนทีน ลดอุบัติการณ์โรคต้อกระจกในผู้สูงอายุได้จริง
แสดงให้เห็นว่า การบริโภคอาหารที่มีลูทีนและซีแซนทีนสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับจอประสาทตาเสื่อมและต้อกระจกได้ เพราะฉะนั้น วิธีง่ายๆ ในการป้องกันโรคร้ายเกี่ยวกับดวงตา ก็สามารถเริ่มต้นได้ที่การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อดวงตา และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจทำดวงตาของเราเสื่อมก่อนวัยอันควร
จะทำให้เรามองเห็นและชื่นชมความสวยงามของโลกใบนี้ ด้วยดวงตาคู่สวยของเราตลอดไป
เอกสารอ้างอิง
1. J Nutr. 2002; 132(3): 518-24.
2. Nutrition. 2003; 19(1): 12-4
3. Am. J. Nurt. 1999; 70: 517-24.
4. Am. J. Clin. Nutr.1999; 70: 509-16.
5. Am J Epidemiol. 1999; 149(9): 801-9.
6. Adv Pharmacol. 1997; 38: 537-56.
7. Arch Ophthalmol. 1993; 111(1): 104-9.
8. JAMA. 1994 Nov 9;272(18):1413-20.
[Advertorial]