กล้วย VS ข้าว หม่ำแรกอะไรดีนะ

กล้วย VS ข้าว หม่ำแรกอะไรดีนะ

กล้วย VS ข้าว หม่ำแรกอะไรดีนะ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กล้วย VS ข้าว
หม่ำแรกอะไรดีนะ

Q: ตอนนี้น้องวัย 5 เดือนค่ะ กำลังเตรียมจะเริ่มอาหารตามวัย ไปพบข้อมูลว่าให้เริ่มจากข้าวบด แต่บางข้อมูลก็ว่าให้เริ่มจากกล้วยน้ำว้าขูด ควรเริ่มจากอะไร และเริ่มกินอย่างไรดีคะ?

การให้อาหารตามวัยกับลูกน้อยก็เพราะเขาโตขึ้น ร่างกายต้องการสารอาหารและพลังงานมากขึ้นนั่นเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะเริ่มราวอายุ 6-8 เดือน หรือบางคนอาจเร็วกว่านั้น “ชนิดอาหารที่เริ่มให้ลูกนั้นไม่จำกัดค่ะ จะเป็นกล้วยน้ำว้าสุกขูดเอาแต่เนื้อ หรือข้าวสวยบดก็ไม่ผิดแต่อย่างใด เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยง่ายทั้งคู่ แต่มีหลักที่อยากให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจนั่นคือ ควรเริ่มอาหารตามวัยลูก ด้วยอาหารที่ย่อยง่ายและควรเริ่มให้ลูกกินอาหารทีละอย่าง” รศ.ดร. ประไพศรีศิริจักรวาลจากสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ชี้ประเด็นสำคัญ

ให้ทีละอย่าง คืออย่างไร
ระยะแรกเริ่มจาก 1 มื้อ โดยอาจเป็นมื้อกลางวัน เช่น ให้กินกล้วยน้ำว้าสุกขูด 1 มื้อ 1 สัปดาห์ และสัปดาห์ต่อไปค่อยเป็นข้าวบด 1 มื้อ 1 สัปดาห์ จากนั้นก็ค่อยกลับมาเป็นกล้วยบด เป็นต้น การให้ลูกน้อยได้รู้จักอาหารทีละชนิดก็เพื่อสังเกตระบบย่อยระบบขับถ่าย หรือผิวหนังของลูกว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร เช่น จากการแพ้อาหารบางชนิด เป็นต้น

เมื่อดูแล้วว่าร่างกายลูกรับกล้วยหรือข้าวได้แล้ว จึงค่อยเพิ่มชนิดอาหารไปพร้อมกับกล้วยขูดหรือข้าวบดทีละชนิด และสังเกตความเปลี่ยนแปลงอีก เช่น ข้าวบดกับตับจะเติมน้ำซุปก็ได้ ข้าวบดกับไข่แดง หรือข้าวบดกับเต้าหู้หลอด ต่อเมื่อลูกเริ่มกินอาหารได้ดี จึงมีการเติมผักเพิ่มเติม เช่น ตำลึง ฟักทอง ผักหวานเสริมเข้าไปด้วย เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการให้ครบ 5 หมู่

3 ข้อเริ่มถูก จุดเริ่มต้นนิสัยกินดี
1 เนื้ออาหารค่อนข้างละเอียด ด้วยวิธีบด แต่ไม่ปั่น แม้จะเป็นทารกแต่ลูกน้อยก็มีความพร้อมกินอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลวที่เนื้ออาหารค่อนข้างละเอียด ด้วยวิธีการบด เพื่อให้กลืนได้ง่าย และลูกจะได้ฝึกทักษะการเคี้ยวและการกลืน

ไม่ควรใช้วิธีปั่นอาหาร เพราะอาหารจะละเอียดเกินไป ลูกไม่ได้ฝึกการเคี้ยว การกลืน จะส่งผลให้เมื่อโตขึ้นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกกินอาหารยากขึ้น

2 คอยปรับเนื้ออาหารให้เหมาะสม พ่อแม่จึงต้องหมั่นสังเกตว่าลูกสามารถเคี้ยวและกลืนได้ดีขึ้นหรือยัง และค่อยๆ ปรับเนื้ออาหารหยาบขึ้น เป็นชิ้นเล็กๆ เนื้ออาหารที่เหมาะสมจะช่วยให้ลูกคุ้นเคยกับอาหาร ได้สัมผัสรสอาหารมากขึ้น รู้สึกว่าอาหารที่กินอร่อย กินแล้วสนุก จะมีทัศนคติที่ดีกับอาหาร

ส่วนเด็กที่กินแต่อาหารเนื้อละเอียดมาก ทำให้เขาไม่ได้รับสัมผัสและรสชาติของอาหาร เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กินยากเมื่อโตขึ้น

3 ค่อยๆ เพิ่มจำนวนมื้อ ตามช่วงวัย เช่น เมื่ออายุ 6-8 เดือน กินอาหารตามวัย 1 มื้อควบคู่กับนมแม่ อายุ 8- 9 เดือน เพิ่มอาหารตามวัยเป็น 2 มื้อ ควบคู่นมแม่ อายุ 10-12 เดือน เพิ่มอาหารเป็น 3 มื้อควบคู่นมแม่ โดยจัดเวลากินอาหารห่างจากมื้อนม 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้ลูกท้องว่างและกินอาหารได้ดีขึ้น

ส่วนปริมาณอาหารให้ค่อยๆ เพิ่มตามที่ลูกน้อยจะรับได้

4 จำกัดเวลาการป้อน ควรอยู่ที่ประมาณ 15-20 นาที แต่ไม่ควรเกิน 30 นาที และเมื่ออายุได้ราว 9 เดือนลูกน้อยจะเริ่มใช้นิ้วหยิบอาหารได้ ควรเปิดโอกาสให้ลูกหยิบอาหารกินเอง หรือมีช้อนส้อมให้ลูกถือ เป็นการเริ่มฝึกกินด้วยตัวเองค่ะ

ขอบคุณภาพประกอบ : http://www.istockphoto.com/

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook