“น้ำยาบ้วนปาก” แบบไหนที่ใช่สำหรับคุณ

“น้ำยาบ้วนปาก” แบบไหนที่ใช่สำหรับคุณ

“น้ำยาบ้วนปาก” แบบไหนที่ใช่สำหรับคุณ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เพราะการแปรงฟันดูแลความสะอาดได้เพียง 25% ของพื้นผิวทั้งหมดในช่องปากเท่านั้น ในขณะที่แบคทีเรียในช่องปากแฝงตัวอยู่ตามส่วนต่างๆ เช่น ฟัน เหงือก กระพุ้งแก้ม เพดานปาก ดังนั้นการแปรงฟันแม้อาจทำให้รู้สึกสะอาด แต่แบคทีเรียทั้งหลายยังคงตกค้างอยู่ในช่องปาก และพร้อมก่อตัวเป็นไบโอฟิล์มได้ทันทีหลังแปรงฟันเสร็จ ซึ่งแบคทีเรียในไบโอฟิล์มนี่เองที่เป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาช่องปากต่างๆ อาทิ ฟันผุ กลิ่นปาก เหงือกอักเสบ รวมถึงโรคปริทันต์ที่รุนแรงด้วย ซึ่งกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงร่วมกับหลายโรคในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือกลุ่มโรค NCDs (Non-Communicable Diseases) ได้แก่ โรคเบาหวาน, โรคหลอดเลือดสมอง และหัวใจ, โรคถุงลมโป่งพอง, โรคมะเร็ง, โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนลงพุง เป็นต้น ซึ่งแน่นอนย่อมส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย และสุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคดังกล่าวในที่สุด

วิธีง่ายๆ ในการดูแลสุขภาพช่องปากให้สะอาด จะได้ช่วยให้ไม่เกิดปัญหาในช่องปากก็คือ การใช้น้ำยาบ้วนปากผสมแอนตี้แบคทีเรียทุกครั้งหลังการแปรงฟัน ซึ่งดูจะเป็นวิธีที่สามารถช่วยกำจัดแบคทีเรียได้ดีสุด เพราะคนส่วนมากมักแปรงฟันได้ไม่สะอาด และทั่วถึงดีพอ แล้วยังไม่ค่อยใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ ดังนั้นน้ำยาบ้วนปากจึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาไม่กี่วินาทีก็สามารถช่วยซอกซอนเพื่อลดการสะสมของแบคทีเรียได้ทั่วทั้งปาก แม้ในบริเวณที่การแปรงฟันเข้าไม่ถึง เพิ่มความมั่นใจ และลดโอกาสการเกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก

แต่ก็ใช่ว่าน้ำยาบ้วนปากจะมีประสิทธิภาพเหมือนกันไปซะทั้งหมด เพราะแต่ละชนิดก็มีส่วนผสมของสารออกฤทธิ์ที่ต่างกันออกไป เรามีวิธีเลือกน้ำยาบ้วนปากที่ดีมาฝากกัน

หลักๆ เลยก็ดูจากสารออกฤทธิ์ และส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ ซึ่งในท้องตลาดจะมีส่วนประกอบ และคุณสมบัติของสารระงับเชื้อหรือสารออกฤทธิ์แบ่งได้ 3 ประเภทได้แก่ ประเภทแรก คลอเฮกซิดีน (Chlorhexidine) จะเป็นน้ำยาบ้วนปากซึ่งทันตแพทย์มักแนะนำให้ใช้หลังการผ่าตัดภายในช่องปาก เพื่อป้องกันแผลติดเชื้อ แต่ไม่แนะนำให้ใช้ทันทีหลังการแปรงฟัน และไม่ควรใช้ต่อเนื่องเกิน 2 สัปดาห์ เนื่องจากอาจเกิดคราบสีที่ฟันซึ่งไม่สามารถกำจัดด้วยการแปรงฟัน น้ำยาบ้วนปากประเภทนี้ต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือทันตแพทย์เท่านั้น ประเภทต่อมาคือ น้ำมันสกัดธรรมชาติ (Essential Oils) จะเป็นน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของน้ำมันสกัดธรรมชาติ

จุดเด่นของน้ำยาบ้วนปากชนิดนี้ คือเป็นชนิดที่ไม่มีประจุ และมีโมเลกุลขนาดเล็กจึงซอกซอนได้ดี ช่วยลดการเกิดคราบไบโอฟิล์ม และดูแลสุขภาพเหงือกได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติอย่างมากมาย สามารถใช้ได้เป็นประจำทุกวัน โดยไม่ก่อให้เกิดคราบสีที่ฟัน น้ำยาบ้วนปากชนิดนี้จะมีรสชาติเฉพาะตัวจากสารสกัดธรรมชาติทำให้ขณะบ้วนจะรู้สึกเย็นสดชื่น และประเภทสุดท้าย เซทิลไพริดิเนียม คลอไรด์ (Cetylpyridinium Chloride หรือ CPC) ช่วยลดการสะสมแบคทีเรีย และดูแลสุขภาพช่องปาก ใช้ได้เป็นประจำทุกวัน

แต่สำหรับน้ำยาบ้วนปากชนิดนี้ เป็นสารออกฤทธิ์ที่มีประจุ ดังนั้นควรใช้หลังการแปรงฟันอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงเพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด และไม่ควรรับประทานอาหารหรือน้ำทันทีหลังบ้วน เพราะอาจทำให้เกิดการติดสีของอาหารที่ฟันได้ สารในกลุ่มนี้ยังมีการวิจัยทางคลินิกถึงประสิทธิผลในการลดคราบไบโอฟิล์ม และเหงือกอักเสบไม่มากนัก

คราวหน้าก่อนจะเลือกซื้อน้ำยาบ้วนปากอย่าลืมดูสารออกฤทธิ์ และส่วนประกอบให้ดี เพราะสุขภาพภายในปากดีๆ เริ่ม และเลือกได้ด้วยตัวคุณเอง

[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook