คุณบริโภคผักและผลไม้ เพียงพอแล้วหรือยัง
ผลการวิจัยจากโกลบอลไฟโตนิวเทรียนท์ พบ 3 ใน 4 ของประชากรกลุ่ม ผู้ใหญ่จากทั่วโลก รับประทานผักและ ผลไม้ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานเกิน 1 เท่าตัว ค้านกระแสสุขภาพดีมาแรง ผู้เชี่ยวชาญแนะเพิ่มปริมาณและสีสัน ผักผลไม้ต่อวันเพื่อสุขภาพแข็งแรง
ถือเป็นเรื่องน่ายินดีที่ในปัจจุบันกระแสรักสุขภาพกำลังได้รับความนิยมไปทั่วโลกและแผ่ขยายมาถึงคนไทย ไม่ว่าจะเป็นเทรนด์การออกกำลังกาย หรือการรับประทานอาหารแบบคลีนฟู้ด ที่เน้นผักผลไม้และอาหารที่ผ่านการปรุงแต่งดัดแปลงน้อยที่สุด โดยเน้นความเป็นธรรมชาติของวัตถุดิบนั้น ไม่มีสารปนเปื้อน และครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารหวานจัด เค็มจัด มันจัด ควบคู่กับการออกกำลังกาย ถือเป็นการนำมาซึ่งสุขภาพที่ดี ซึ่งทั้งหมดทั้งปวงคือการรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการในแบบที่ตรงกับ คำว่าคลีนฟู้ด แต่เชื่อหรือไม่ว่าประชากร กลุ่มผู้ใหญ่จากทั่วโลกรับประทาน ผักและผลไม้แค่ครึ่งหนึ่งของคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดไว้ ที่ปริมาณ 400 กรัมต่อวัน
จากผลการวิจัยของ สถาบันสุขภาพนิวทริไลท์ (Nutrilite Health Institute Center for Optimal Health) ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบริติช เจอร์นัล ออฟ นิวทริชั่น (British Journal of Nutrition) ฉบับเดือนกันยายน 2557 และเพิ่งได้รับ การตีพิมพ์ในรายงานโกลบอลไฟโตนิวเทรียนท์ (Global Phytonutrient Report) ฉบับใหม่ล่าสุด ชี้ให้เห็นว่า ประชากรกลุ่มผู้ใหญ่จำนวนตั้งแต่ 60-87% ในเขตพื้นที่ที่มีการสำรวจใน 13 ภูมิภาค ทั่วโลกนั้น รับประทานผักและผลไม้น้อยเกินไป จึงทำให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ ที่จะส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพดี และต้อง รับประทานผักและผลไม้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยหนึ่ง เท่าตัวของปริมาณที่รับประทานอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้ ได้ปริมาณตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) คือ 400 กรัม ซึ่งเป็นสัดส่วนที่จะให้ผลดีต่อสุขภาพ
รองศาสตราจารย์ ‘ดร.สิริชัย อดิศักดิ์วัฒนา’ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่า “ประเทศไทยมีการสำรวจสถิติการรับประทานผักและผลไม้ ในช่วง พ.ศ. 2550-2554 โดยปริมาณการรับประทานผักและผลไม้ที่แนะนำในแต่ละวันคือ 400 กรัมต่อวัน ซึ่งเป็นปริมาณที่สอดคล้องกับองค์การอนามัยโลก (WHO) แต่พบว่า ประชากรไทยร้อยละ 70 ของกลุ่มประชากรที่สำรวจ มีการรับประทานผักและผลไม้น้อยกว่าปริมาณที่แนะนำในแต่ละวัน ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีผักที่รับประทานได้ถึง 330 ชนิด รวมทั้งผัก พื้นบ้านด้วย สาเหตุที่คนไทยรับประทานผักและผลไม้ต่ำกว่าเกณฑ์เกิดจากสภาพสังคมไทย ในปัจจุบัน ซึ่งปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เวลาส่วนใหญ่มักอยู่กับการทำงานและมีเวลาค่อนข้างจำกัด รวมถึงการเลือกชนิดของอาหาร และอาหารจานด่วนส่วนใหญ่มักมีส่วนประกอบของผักและผลไม้ค่อนข้างน้อย ประชาชนทั่วไปจึงสะดวก ในการเลือกซื้ออาหารประเภทดังกล่าวมากกว่าคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการรับประทานอาหารที่มีผักและผลไม้ที่เป็นองค์ประกอบหลัก
สำหรับกระแสการรับประทานอาหารคลีนเพื่อสุขภาพนั้น เป็นประโยชน์และส่งผลดีต่อร่างกาย แต่ต้องคำนึงถึงปริมาณผักและผลไม้ ที่นำมาประกอบเป็นอาหารคลีนว่าอยู่ในปริมาณ ที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวันหรือไม่ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า การรับประทานผักและผลไม้มากกว่า 569 กรัมต่อวัน ช่วยลดความเสี่ยง การเสียชีวิตจากโรคทางเดินหายใจ ระบบ ไหลเวียนโลหิต และระบบทางเดินอาหาร ขณะที่ผู้รับประทานผักและผลไม้ในปริมาณต่ำกว่า 249 กรัมต่อวัน จะมีความเสี่ยงในโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้น การรับประทานผักและผลไม้ให้เพียงพอ ยังช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งได้ถึง 50% ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจได้ถึง 30% ลด ความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองได้ 6% โรคมะเร็งทางเดินอาหาร กระเพาะอาหาร หลอดอาหาร 1-6% นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันว่า การรับประทานผักและผลไม้ในสัดส่วนดังกล่าวจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ไม่ติดต่อเรื้อรัง ทั้งเบาหวาน และความดัน เป็นต้น”
นอกจากสถิติที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับการ รับประทานผักและผลไม้ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานแล้ว ‘ดร.คีธ แรนดอล์ฟ’ นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการของสถาบันสุขภาพนิวทริไลท์และหนึ่งในทีมวิจัยเผยว่า “จำนวนประชากรถึง 3 ใน 4 ของกลุ่มประชากรผู้ใหญ่ทั่วโลกยังได้รับ ไฟโตนิวเทรียนท์ที่ขาดความหลากหลายและ ไม่เพียงพอต่อการมีสุขภาพดี ไฟโตนิวเทรียนท์หรือสารอาหารตามธรรมชาติที่พบในพืชต่างๆ ทำหน้าที่คอยปกป้องพืชจากศัตรูตามธรรมชาติ รวมทั้งป้องกันการเกิดความเครียดทางกาย และการเกิดสารอนุมูลอิสระ ไฟโตนิวเทรียนท์ทำให้ พืชมีสีสันต่างๆ ดังนั้น การรับประทานสีต่างๆ ในอาหารจะทำให้ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกัน ให้แข็งแรงยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการมีสุขภาพอนามัยที่ดี
นอกจากนี้ ไฟโตนิวเทรียนท์ยังมีคุณประโยชน์ ต่อสุขภาพร่างกายอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการต้านอนุมูลอิสระ การเติบโตของเซลล์อย่างสมดุล ช่วยฟื้นฟูความเสียหายของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย และกระตุ้นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยบำรุงสายตา กระดูก หัวใจ ไปจนถึงระบบสมองและระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย แม้ว่าขณะนี้จะยังไม่มีข้อกำหนดสากลของปริมาณไฟโตนิวเทรียนท์ที่มนุษย์ควรได้รับต่อวัน แต่ การวิจัยจำนวนมากมีผลลัพธ์ที่สอดคล้องกันว่า การรับประทานอาหารที่มีไฟโตนิวเทรียนท์ หรือสารออร์แกนิกที่พบได้ในผักและผลไม้จำนวนมากนั้น ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพนานัปการ แต่ยังเป็นเรื่องน่าเสียดายที่คนส่วนใหญ่ยังไม่เห็นความสำคัญและตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างการรับประทาน ผักและผลไม้ รวมถึงปริมาณไฟโตนิวเทรียนท์ ที่ร่างกายควรได้รับ”
ดังนั้นปริมาณและความหลากหลายของผักและผลไม้ที่เรารับประทานนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง ไม่ว่าเราจะอาศัยอยู่ในภูมิภาคใดบนโลกใบนี้ เราควร รับประทานผักและผลไม้ในทุกๆ โอกาสที่สามารถทำได้ ตามปริมาณที่แนะนำคือ 400-500 กรัม ต่อวัน หากอยู่ในพื้นที่ที่ผักหรือผลไม้มีน้อยหรือไม่หลากหลาย การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเพิ่มปริมาณ ไฟโตนิวเทรียนท์ตามที่ร่างกายต้องการได้ ซึ่งประโยชน์ของสารไฟโตนิวเทรียนท์แยกตามสีของผักผลไม้ได้ดังนี้
เมื่อได้รับทราบข้อมูลและประโยชน์สารพัดของการรับประทานผักและผลไม้ และการได้รับสารไฟโตนิวเทรียนท์กันแล้ว ก็ถึงเวลาตระหนักเรื่องการบริโภคอาหารคลีน เพิ่มปริมาณผักและผลไม้ให้มากขึ้นในแต่ละวันอย่างครบถ้วนและเพียงพอ โดยไม่เลือกรับประทานแต่ผักชนิดเดิมๆ หรือชนิดเดียวกันซ้ำๆ และให้ความสำคัญกับ การออกกำลังกาย ควบคุมอารมณ์ให้แจ่มใส เบิกบาน หาทางสลัดความเครียดออกจากตัวเอง หลีกเลี่ยง เหล้าและบุหรี่ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ และทำให้มีอายุยืนยาวอย่างน่าอัศจรรย์ หมดเวลาหาข้อแก้ตัวให้กับตนเอง และหันมาเพิ่มสีสัน ให้กับชีวิต รับประทานผักและผลไม้หลากสีกัน ให้มากๆ ทุกวัน เพราะสุขภาพดีเริ่มได้ง่ายๆ ที่ตัวคุณเอง
ภาพประกอบจาก istockphoto