เคล็ดลับ 5 วิธีกู้ภัยผิวหน้าแพ้ง่าย
แม้หลายคนจะบอกว่าตนเองมีผิวหน้ามัน ผิวผสม ผิวธรรมดา หรือบางครามีผิวแห้ง แต่คุณทราบหรือไม่ว่า มีเจ้าสภาพผิวประเภทหนึ่งที่สามารถมาเยือนคุณได้ทุกเมื่อคือ ผิวแพ้ง่าย
ผิวแพ้ง่ายพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยผู้หญิงไทยกว่า 50% มีผิวที่แพ้ง่าย ซึ่งปัจจัยหลักเกิดจากชั้นไขมันปกป้องผิวถูกทำลายจากสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะแสงแดดหรือมลภาวะ หรือการใช้สารเคมีต่างๆบนผิวหนัง จนเกราะป้องกันผิวหนังอ่อนแอลง เป็นเหตุให้สารที่ก่อให้เกิดความระคายเคืองเข้าสู่ผิวได้ง่าย อาการผิวแห้งและระคายเคืองจึงตามมา
สาเหตุของผิวแพ้ง่ายเกิดจากความไม่สมดุลและความไม่แข็งแรงของผิว อันได้แก่ ผิวหน้าที่ขาดน้ำ สังเกตได้จากการเกิดริ้วรอยเล็กๆ ที่ฟ้องว่าความชุ่มชื้นใต้ผิวหนังไม่เพียงพอ ผิวหน้าแห้ง ผิวแตก อายุที่มากขึ้นมีแนวโน้มที่ผิวจะมีความอ่อนไหวมากขึ้น และปัจจัยภายนอกเช่นแสงแดดและมลภาวะ เป็นต้น แม้บางคนจะเคยมีผิวแข็งแรงมาตลอด
แต่ก็มีโอกาสมีผิวที่เปลี่ยนแปลงไปสู่ผิวแพ้ง่ายได้ ทั้งจากสารเคมี มลภาวะ ผิวสูญเสียน้ำ เกราะป้องกันผิวทำงานไม่เต็มที่ โดยอาการที่บ่งบอกว่าคุณมีผิวแพ้ง่าย คือ ผื่น แดง อาการบวม ผิวแตก แห้ง หยาบ กร้าน ลอกเป็นขุย คัน หรือบางกรณีมีอาการแสบตึงร่วมด้วย
ฟิซิโอเจล ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาการดูแลผิวที่ล้ำหน้าด้วยความเข้าใจในโครงสร้างและความต้องการของผิวอย่างแท้จริง จึงขอมอบวิธีการกู้ภัยผิวหน้าจากอาการแพ้ง่าย มี 5 ขั้นตอนและหากทำอย่างเคร่งครัด ก็เชื่อเลยว่าผิวคุณจะกลับมาสดใสแข็งแรงได้สบาย
1.หลีกเลี่ยงจากสาเหตุตัวการทำให้แพ้ : ให้ลองฝึกสังเกตว่าอาการแพ้ผื่น สิวผด คัน ลอก ขุย ฯลฯ มาเมื่อคุณทำพฤติกรรมใด แล้วทดลองหยุดหรือหลีกเลี่ยงสิ่งนั้น เช่น เปลี่ยนครีมทาหน้าใหม่ เปลี่ยนน้ำหอม เปลี่ยนอาหารการกิน วิตามินหรือยา? เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม ที่นอน หรือสภาพอากาศ แล้วหันมาใช้ครีมบำรุงที่ไม่มีวัตถุกันเสีย ปราศจากน้ำหอม ไม่มีการแต่งสี สารเคมีที่ก่อให้เกิดการอุดตัน และสำคัญที่สุดคือไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้
2.งดการขัดผิว และทำทรีทเม้นท์บนใบหน้า :สาวๆ บางคนเมื่อมีอาการแพ้ ผื่นขึ้น ผิวหน้าลอก สิวบุก จะเข้าใจว่าต้องรีบเยียวยาหนังหน้าด่วนจี๋ ระดมทรีทเม้นใส่อาหารผิว ทั้งนวดทั้งขัดไม่ยั้งหวังจะให้ผิวกลับมาแข็งแรงโดยไว แต่หารู้ไม่ว่าการขัดผิวหน้า จะทำให้ชั้นไขมันปกป้องผิว (Skin lipid barrier) ถูกทำลาย ก่อให้เกิดการระคายเคืองผิว ทำให้ผิวแห้งยิ่งขึ้นไปอีก(จริงอยู่ที่เราควรขัดผิวเพื่อผลัดเซลส์ผิวใหม่บ้างแต่ต้องท่องจำให้ขึ้นใจว่า ห้ามทำในช่วงที่ผิวไม่แข็งแรงนะจ๊ะ)
3.ห่างไกลเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์และบุหรี่ : งานวิจัยหลายฉบับพบว่าการสูบบุหรี่มีผลเสียต่อผิว ทำให้แผลหายช้ากว่าปกติ ปัญหาสิว และเป็นต้นตอของมะเร็วผิวหนัง เนื่องจากสารเคมีในบุหรี่ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระทำลายโครงสร้างของผิวในชั้นเซลส์ ทั้งยังลดภูมิคุ้มกันของร่างกาย ในส่วนของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์นั้น จะส่งผลให้ร่างกายปัสสาวะบ่อย ขาดน้ำ ทั้งยังทำให้ร่างกายขาดวิตามินบีทำให้ผิวแห้ง เกิดอาการคันตามผิวหนัง ยิ่งไปกระตุ้นให้เกิดการเกา (ในช่วงมึนเมา ฮาาาาา...) ทำให้อาการแพ้ลุกลาม
4.หลีกเลี่ยงแสงแดดและทาครีมกันแดด : บางคนเมื่ออกแดดรู้สึกว่าผิวมีอาการระคายเคือง เกิดอาการคันนั้น อาจเกิดจากผิวหน้ามีอาการแพ้แดด โดยอาการจะคล้ายคลึงกับอาการผิวแพ้ง่ายทั่วไป พบร่วมกับอาการผิวแดง คัน อาจมีตุ่ม ผื่น หรือพุพองร่วมด้วย ซึ่งสาเหตุหลักมาจากรังสียูวี ดังนั้นจึงควรหมั่นทาครีมกันแดดในช่วงระหว่าง 10.00 – 15.00 น. โดยควรเลือกครีมกันแดดที่เหมาะสำหรับผิวบอบบางแพ้ง่ายปราศจากสารระคายเคืองผิว เช่น น้ำหอม แนะนำควรเลือกครีมกันแดดแบบเนื้อเจลที่ปราศจากความมันทำให้ผิวรู้สึกสดชื่น เนียนนุ่ม และไม่ก่อให้เกิดสิว โดยเลือกค่า SPF ตั้งแต่ 40 PA+++ ขึ้นไป เพื่อการปกป้องทั้งรังสียูวีเอและยูวีบีในช่วงกว้าง ไม่เสื่อมสลายเร็วเมื่อโดนแสง
5.เลือกผลิตภัณฑ์ที่ “ใช่” กู้ภัยหนังหน้าพัง : มาถึงตรงนี้หลายคนใจร้อน อยากให้ฟันธงกันมาเลยว่าควรใช้ครีมอะไร ซึ่งผู้เขียนแนะนำได้ว่า สิ่งที่ดีที่สุดคือควรเลือกครีมที่มีค่า PH ใกล้เคียงกับผิว โดยควรใส่ใจตั้งแต่การเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหน้า ที่อ่อนโยนแม้ผิวที่บอบบางปราศจากสารสบู่ มีค่าใกล้เคียงกับน้ำ ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ช่วยให้หน้าไม่แห้งตึง หลังจากล้างหน้า และสำหรับครีมบำรุงควรเลือกครีมที่เหมาะกับผิวบอบบางแพ้ง่าย ไม่มีส่วนผสมของตัวการหลักที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคือง ได้แก่ สี น้ำหอม และสารกันเสีย
สำหรับเคล็ดไม่ลับของการฟื้นฟูผิวหน้าให้กลับมาดีดังเดิมก็คือควรเลือกครีมที่มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับชั้นไขมันที่ปกป้องผิวหนังตามธรรมชาติ (Physiological lipid) เพื่อช่วยปกป้องผิวและฟื้นฟูผิวจากการถูกทำร้าย ไม่ว่าจากสารเคมี มลภาวะ หรือการขัดผิว และคืนความชุ่มชื้นให้ผิว อีกทั้งควรเลือกครีมที่มีส่วนผสมของ Ceramide ที่ช่วยเติมเต็มชั้นไขผิวหนังที่พร่องไปอีกด้วย