การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คือการลงทุนในทุนมนุษย์

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คือการลงทุนในทุนมนุษย์

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คือการลงทุนในทุนมนุษย์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลักฐานในปัจจุบันชี้ให้เห็นชัดเจนกว่าเดิมว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นประโยชน์อย่างมหาศาลต่อสุขภาพของเด็ก และต่อเศรษฐกิจ เช่นเดียวกันทั้งในประเทศที่มีรายได้สูงและรายได้ต่า การเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สามารถช่วยให้เด็กนับแสนคนให้มีชีวิตรอดปลอดภัย และยังช่วยประหยัดงบประมาณในแต่ละปีได้ถึง หลายแสนล้านดอลลาร์ แต่ทั้งๆ ที่การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีประโยชน์นานัปการ ยังพบว่าทั่วโลกยังขาดการลงทุนด้านนโยบายและการดาเนินงานที่ช่วยส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ขณะที่ทั่วโลกพยายามจะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี 2030 การเพิ่มการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเป้นสิ่งที่จาเป็น เพราะได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นวิธีที่ง่ายและคุ้มทุนในการผลักดันไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

การศึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของ The Lancet

ชุดบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ The Lancet ทาให้เห็นถึงความชัดเจนในหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และคุณประโยชน์ที่ได้รับจากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ นี่เป็นบทความวิชาการแรกที่วิเคราะห์ทิศทางของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของโลกและความเหลื่อมล้า ในขณะที่ศึกษาถึงประโยชน์และผลลัพท์ที่ตามมาสาหรับแม่และเด็ก ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า
- การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจระดับปานกลางและต่า (LMICs) จะสามารถช่วยชีวิตเด็กกว่า 820,000 รายต่อปี ซึ่งเป็นเด็กที่มีอายุต่ากว่า 6 เดือนถึงร้อยละ 87

- ระยะเวลาในการให้นมแม่ที่นานขึ้นมีความสัมพันธ์กับระดับเชาวน์ปัญญา (IQ) ที่เพิ่มสูงขึ้น (เฉลี่ย 3 จุด) ซึ่งการศึกษาครั้งนี้แปลผลได้ว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการเรียน และเพิ่มประสิทธิภาพการทางานปละประกอบอาชีพได้นานขึ้นได้อีกด้วย

- เมื่อผู้หญิงเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นาน 1 ปี จะช่วยลดความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมได้ร้อยละ 6

- ในระดับโลก ความสามารถในการรู้คิดที่น้อยลง ซึ่งสัมพันธ์กับการไม่ได้กินนมแม่ ทาให้สูญเสียถึง 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี หรือ 0.49 ของมวลรวมรายได้ประชาชาติ (GNI)

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทย

ในขณะที่แม่ 8 ใน 10 คนในประเทศไทยเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน อยู่ในกลุ่มที่ต่ามากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก มีตัวชี้วัดที่แสดงให้เห็นถึงโอกาสที่จะทาให้เกิดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นแรงผลักที่ส่งผลต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ

จากรายงาน State of the World’s Children1 ขององค์การ UNICEF พบว่า

- ทารกร้อยละ 46 ได้รับนมแม่ใน 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอด

- ทารกร้อยละ 12 ได้รับนมแม่อย่างเดียวในช่วงหกเดือนแรก

- ทารกร้อยละ 32 ได้รับนมแม่ต่อเนื่องจนถึงอายุ 1 ปี

- เด็กร้อยละ 18 ได้รับนมแม่ต่อเนื่องจนถึงอายุ 2 ปี

นอกจากนี้ ตัวชี้วัดอื่นที่เกี่ยวกับการให้อาหารทารกและเด็กเล็กก็ยังน่าเป็นห่วง

- ทารกได้รับอาหารเสริมตามวัย เช่นกล้วยและข้าว ก่อนวัยที่ควรได้รับ โดยพบว่าบางรายเริ่มตั้งแต่อายุ 1 เดือน

- ทารกร้อยละ 96 ที่ไม่ได้รับนมแม่อย่างเดียว ได้รับน้าดื่ม

-  ทารกร้อยละ 71 ได้รับอาหารผ่านขวดนม

การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้นโยบายและการดาเนินงาน

จากการศึกษาของ Lancet พบว่ามีผู้หญิงจะมีโอกาสเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้นถึง 2.5 เท่า หากได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน ประเทศไทยควรพิจารณาถึงนโยบายและแนวทางการดาเนินการที่ได้รับการระบุใน The Lancet ว่าเป็นที่มีประสิทธิภาพมากเพื่อนามาใช้ เช่น

- ควบคุมการส่งเสริมการตลาดของนมผงสาหรับทารกและเด็กเล็ก โดยผ่านมาตราการทางกฎหมายและการติดตามอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันมิให้การส่งเสริมการตลาดบั่นทอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

- ขยายนโยบายเกี่ยวกับการปกป้องสิทธิของแม่ทางาน รามถึงการลาคลอด เพื่อช่วยให้พนักงานหญิงมีเวลาที่เพียงพอหลังคลอด สามารถดูแลทารกและให้นมแม่ได้อย่างเต็มที่

- เสริมสร้าง “วัฒนธรรมนมแม่” โดยสนับสนุนให้โรงพยาบาลดาเนินแนวทางโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก และสนับสนุนโครงการต่างๆ ที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

- แสดงความเจตจานงที่มุ่งมั่น ทั้งในภาครัฐและประชาสังคม เพื่อสนับสนุนงบประมาณ และเวลาอย่างเพียงพอให้แก่การดาเนินงานด้านการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เส้นทางสู่เป้าหมาย

ประเทศไทยมีประวัติที่ดีเยี่ยมในการลดจานวนเด็กที่ขาดสารอาหาร แนวทางการดาเนินงานด้านโภชนาการในระดับชุมชนนั้นได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าสามารถช่วยให้บรรลุเป้าหมายด้านโภชนาการได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากรายงานภาวะโภชนาการโลกในปี 2015 แสดงให้เห็นว่า ในปัจจุบันความสาเร็จเหล่านี้เริ่มมีการหยุดนิ่งหรือถดถอย รายงานดังกล่าวติดตามตัวชี้วัด 8 ข้อ ซึ่งรวมถึง ภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลัน ภาวะทุพโภชนาการเรื้อรังปานกลาง และภาวะน้าหนักเกินในเด็กอายุต่ากว่า 5 ปี อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ภาวะโลหิตจางในผู้หญิง และภาวะน้าหนักเกิน โรคอ้วนและโรคเบาหวานในผู้ใหญ่

ขณะนี้ ประเทศไทยมีโอกาสทาให้เกิดความก้าวหน้าและความเข้มแข็งนโยบายและการดาเนินงานที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ไม่ว่าจะเป็นความพยายามในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายโภชนาการของ WHO หรือยุทธศาสตร์โลกสาหรับการพัฒนาภาวะสุขภาพของเด็กและสตรี การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็จะช่วยให้การทางานด้านสุขภาพและการพัฒนาได้ผลดียิ่งขึ้น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สามารถสร้างแรงผลักสาคัญที่จะทาให้บรรลุเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการลดอัตราการเสียชีวิตในเด็ก การแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการและสุขภาพของเด็ก การศึกษา ภาวะสุขภาพของแม่ ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook