อาชีพนี้...รุ่งแน่ (ขอบอก)

อาชีพนี้...รุ่งแน่ (ขอบอก)

อาชีพนี้...รุ่งแน่ (ขอบอก)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
รายงานโดย :สุรีย์รัตน์ พิทักษ์ ภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาส่งผลกระทบไปทั่วโลก เห็นได้จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับหลายบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย ที่ต้องปลดลดคนงานออกเป็นจำนวนมาก ที่น่าตระหนกก็คือ หลายๆ คนออกมาบอกว่า นี่เป็นเพียงแค่การเผาหลอก แต่ปีหน้าละก็เผาจริงแน่ ก็เลยคาดการณ์กันว่า ราวๆ ไม่เกินต้นปี จำนวนคนว่างงานในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นสูงเป็นแสนเป็นล้านคนทีเดียว เอาล่ะ มาตั้งสติให้ดีกันก่อน ใช่ว่าทุกคนจะเสี่ยงไปเสียหมด ยังมีหลายๆ สาขาอาชีพ หลายๆ ตำแหน่งในบ้านในเมืองนี้ที่ยังคงขาดแคลน และยังเป็นที่ต้องการของตลาด (แรงงาน) อยู่ อาชีพ, งาน, อาชีพนี้...รุ่งแน่ ***บุคลากรด้านสุขภาพ ดร.นงลักษณ์ พะไกยะ นักวิจัยสำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งทำงานด้านการศึกษากำลังคนทางด้านสุขภาพ เพื่อแก้ปัญหากำลังคน และการกระจายตัวที่เป็นธรรม เล่าให้ฟังว่า ในปัจจุบันการต้องการกำลังทางด้านสุขภาพนั้นมีความต้องการเพิ่มในปริมาณมาก เนื่องมาจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างของประชากร มีสัดส่วนของผู้สูงอายุมากขึ้น ทำให้ขยายความต้องการกำลังคนในการดูแลมากขึ้น นอกจากนั้นก็เป็นเพราะนโยบายส่วนหนึ่งที่รัฐพยายามจะสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางด้านสุขภาพ (Medical Hub) ก็เป็นผลต่อการขยายกำลังคน ความต้องการของกำลังคนด้วย “ตอนนี้ผู้สูงอายุเป็นประเด็นหนึ่งที่สำคัญมากที่หลายๆ ฝ่ายจับตามองกันมาก เพราะต้องเตรียมกำลังคนที่พร้อมสำหรับส่วนนี้ เพราะจำนวนผู้สูงอายุเริ่มมากขึ้น จำเป็นต้องมีคนดูแล ซึ่งปกติกำลังคนที่ทำงานทางด้านสุขภาพนั้นก็ขาดแคลนอยู่แล้ว แต่จริงๆ แล้วถ้าเทียบจำนวนกันนั้น จำนวนกำลังคนที่เข้ามาอยู่ในระบบไม่ว่าจะเป็นแพทย์ พยาบาลดีขึ้น สัดส่วนต่อประชากรก็ดีขึ้น อาชีพ, งาน, อาชีพนี้...รุ่งแน่ แต่ปัญหาหนึ่งคือคนส่วนใหญ่จะกระจุกกันอยู่ในเมือง ทำให้ในชนบทนั้นขาดแคลนกำลังคนด้านนี้ อย่างสัดส่วนของแพทย์ที่จบใหม่ไปทำงานที่บางอำเภอ บางทีอยู่ได้ไม่นาน ทั้งๆ ที่ต้องใช้ทุนประมาณ 3 ปี แต่เดี๋ยวนี้แค่ 1 ปีกว่าๆ ก็กลับเข้ามาในเมืองกันหมด ย้ายออกจากระบบราชการ อันที่สองคือ พยาบาลที่เป็นกำลังหลัก ที่ตอนนี้น่าจะมีประมาณ 1 แสนคน ปกติพยาบาลจบใหม่จะผูกติดกับทุนของรัฐบาล พอจบออกมาแล้วต้องออกไปทำงานที่ชนบท แต่ช่วงหลังๆ มารัฐบาลไม่ผูกติดทุน พอเขาเรียนจบเข้าก็ไปทำงานที่โรงพยาบาลเอกชน ทำงานในเมืองแทน ในขณะที่ความต้องการสุขภาพเพิ่มมากขึ้นแต่คนที่อยู่ในระบบรัฐ หรือชนบทแย่ลง ก็เลยเกิดกรณีว่าความต้องการกำลังคน กับซัพพลายที่เรามีอยู่ไม่สอดคล้องกัน” ผู้สูงอายุนั้นเป็นประเด็นสำคัญ และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ต้องการกำลังคนด้านสุขภาพเพิ่มมากเป็นพิเศษ เพราะผู้สูงอายุส่วนใหญ่นั้นต้องการการดูแลเป็นพิเศษ และในปัจจุบันผู้สูงอายุก็มีแนวโน้มว่าจะมีเพิ่มมากขึ้น และมีอายุยืนยาวขึ้นด้วย “ตอนนี้ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวขยายมากขึ้น และต่างคนต่างก็มีหน้าที่ภาระที่ต้องไปทำงาน ถ้าเราคาดหวังว่าจะให้ครอบครัวดูแลกันเอง ก็มีข้อจำกัด ต่างคนต่างก็ไม่มีเวลา ก็เลยต้องมีผู้ดูแลที่เป็นมืออาชีพ เพราะฉะนั้นนอกจากบุคลากรทางด้านสุขภาพที่มีอยู่ ที่ต้องดูแลประชาชนคนทั่วไปที่มีไม่ค่อยจะเพียงพออยู่แล้วนั้น เราก็ต้องการกำลังคนที่จะเพิ่มเข้ามาดูแลในส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นไปอีก” สาขาที่ขาดแคลนทางด้านสุขภาพนั้น ดร.นงลักษณ์ บอกว่า มีอยู่ด้วยกันหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็น แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด มีค่อนข้างจำกัด และโอกาสที่เขาจะเข้ามาในระบบค่อนข้างยาก เพราะไม่มีตำแหน่งราชการรองรับ ตามสถานพยาบาลชุมชนถ้าต้องการนักกายภาพบำบัดก็ต้องตั้งอัตราจ้างขึ้นมา นักจิตวิทยาคลินิก ที่คอยให้คำปรึกษาทางด้านจิตใจ เนื่องจากในปัจจุบันคนมีความเครียดเพิ่มมากขึ้น “กำลังคนด้านสุขภาพที่ต้องการสำหรับคนในภาคคนปกตินั้นก็ต้องการอยู่แล้ว แต่เราก็ควรจะต้องมีการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้สูงอายุด้วย เพราะเป็นวาระสำคัญที่เราจะต้องเตรียมตัว ถ้าหากมีการวางแผนกำลังคนโดยที่ไม่นึกถึงปัจจัยของผู้สูงอายุก็อาจจะทำให้เขาพลาดไป ถ้าเราคำนึงถึงแต่ความต้องการทางด้านสุขภาพของคนทั่วไปก็จะทำให้เราประเมินความต้องการของกำลังคนทางด้านสุขภาพต่ำกว่าความเป็นจริง” อาชีพ, งาน, อาชีพนี้...รุ่งแน่ ***ผลิตบัณฑิตรองรับความต้องการของตลาด ไพฑูรย์ สินลารัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ฉายภาพให้เห็นว่า จากงานวิจัย และสำรวจการศึกษาอยู่ระยะหนึ่ง พบว่าสาขาที่มีคนทำงานค่อนข้างน้อย แต่มีความต้องการมากก็คือ ด้านที่เกี่ยวกับการแพทย์ และสุขอนามัย “สาขานี้เห็นได้ชัดว่าความต้องการของสาขายังมีมาก คนที่เรียนไม่ค่อยมีใครตกงาน ส่วนหนึ่งคือความต้องการค่อนข้างมาก แต่ในแต่ละปีนั้นผลิตบุคลากรออกมาค่อนข้างน้อย ในขณะที่สาขาที่มีผู้จบออกมาเป็นจำนวนมาก แต่มีความต้องการน้อย และมีภาวะการตกงานค่อนข้างสูง โดยภาพรวมนั้นก็คือ สาขาสังคมศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ วิทยาศาสตร์พื้นฐาน และอีกสาขาหนึ่งที่น่าสนใจก็คือสาขาวิศวกรรมศาสตร์ที่ออกมาล้นตลาด ลำบากนิดหน่อย ส่วนสาขาที่น่าสนใจที่ผมมีข้อมูลจากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เด็กที่จบสาขาทางด้านบัญชีหางานได้ค่อนข้างดี จำนวนการตกงานค่อนข้างน้อย เพราะฉะนั้นสาขาที่น่าสนใจในขณะนี้ ที่มีแนวโน้มว่าจะไม่ตกงานก็น่าจะเป็นบัญชี เทคโนโลยีสารสนเทศ ยังต้องการอยู่ และก็สาขาที่เกี่ยวกับการโรงแรม การท่องเที่ยว รู้สึกว่าแนวโน้มการตกงานค่อนข้างน้อยอยู่” จากการสำรวจของสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เมื่อปลายปีที่ผ่านมาถึง 10 อาชีพ ยอดฮิตที่เรียนแล้วไม่ตกงาน ก็พอจะบอกได้ว่า 10 สาขาที่จบมาแล้วหางานง่าย คือ อันดับ 1 การบัญชี อันดับ 2 แพทยศาสตร์ อันดับ 3 บริหารธุรกิจ อันดับ 4 คอมพิวเตอร์ อันดับ 5 วิศวกรรมศาสตร์ อันดับ 6 การตลาด อันดับ 7 นิติศาสตร์ อันดับ 8 พยาบาลศาสตร์ อันดับ 9 การจัดการ และอันดับ 10 ก็คือ รัฐศาสตร์

อาชีพ, งาน, อาชีพนี้...รุ่งแน่

ขอบคุณข้อมูล : โพสต์ ทูเดย์

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ ของ อาชีพนี้...รุ่งแน่ (ขอบอก)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook