พชร ปัญญายงค์

พชร ปัญญายงค์

พชร ปัญญายงค์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เช้าวันนั้น เราเคยทำความรู้จัก คุณปลื้ม ม.ล.ณัฐฏกรณ์ เทวกุล แห่งรายการ เรื่องเล่าเช้านี้ เช้าวันนี้ ชายคนดังกล่าวเดินจากไป พร้อมการก้าวเข้ามาของ แบงค์-พชร ปัญญายงค์ ผู้ได้รับมอบหมายจากคุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา ให้ดำเนินรายการช่วงเศรษฐกิจ-การเงิน ด้วยบุคลิกมาดมั่น และลีลาเล่าข่าวที่สนุกเข้าใจง่าย คล้ายฟังคนพากย์บอล ทำให้เขาได้รับการจับตามองจากสาธารณชน และกลายเป็นคนที่ถูกกล่าวขวัญทันที คุณแบงค์สนใจอะไรใน เศรษฐกิจ-การเงิน ที่คนทั่วไปแค่ได้ยินชื่อก็รู้สึก ปวดหัว-หนักกระบาล ผมคุยเรื่องเศรษฐกิจกับคุณพ่อมาตั้งแต่อายุ 6 ขวบ ตอนเด็กๆเวลานั่งกินข้าวกัน คุณพ่อจะเปิดรายการเศรษฐกิจ-การเมือง แล้วถามเรื่องพวกนี้ว่าเรื่องนี้เขาหมายถึงอะไร เป็นประเด็นที่คุยกันตลอด แม้กระทั่งการดำเนินชีวิต เราก็นำปรัชญาทางเศรษฐกิจมาใช้ได้ อาทิ เรื่องค่าเสียโอกาส (opportunity cost) สมมติคุณเลือกที่จะดูการ์ตูนอย่างเดียว ไม่เลือกที่จะนั่งคุยกับพ่อเลย ความรู้ในส่วนที่จะเป็นประโยชน์แก่ชีวิตก็น้อยลง หากถามว่าเรื่องเศรษฐกิจ-การเงินสนุกตรงไหน ผมเห็นว่าสำคัญต่อชีวิตเลยละ ไม่ว่าจะดำรงชีวิตแบบธรรมดาหรือฟุ่มเฟือย อย่างไรก็ต้องใช้เงิน เลยเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่สามารถทำให้สนุกได้ ด้วยวิธีการนำเสนอ คือพูดเรื่องเศรษฐกิจให้เหมือนพากย์บอล อย่าง Money Channel (สถานีโทรทัศน์เพื่อเศรษฐกิจและการลงทุน 24 ชั่วโมง ซึ่งเขาเป็นผู้ดำเนินรายการอยู่ด้วย) เราเน้นว่าต้องดำเนินรายการให้สนุก ด้วยภาพลักษณ์ที่ดีด้วยนะ ผู้ดำเนินรายการแต่ละคนนี่น่าไปเป็นนางงามมากกว่า (หัวเราะ) แต่หน้าตาอย่างนี้ก็มีความรู้ได้ด้วย ไม่ต้องหัวโล้นใส่แว่นเหมือนก่อนแล้ว หรือวันแรกที่มาทำ เรื่องเล่าเช้านี้ (2 ก.ค.) เป็นวันเดียวกับครบรอบสิบปีวิกฤติเศรษฐกิจ 2540 ที่มีการประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ผมก็ต้องหยิบยกเรื่องนี้ไปสื่อกับคนดูช่อง 3 ให้ได้ว่าเศรษฐกิจ-การเงินนั้นสำคัญขนาดไหน สิบปีที่ผ่านมาพลาดอย่างไร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเมื่อสิบปีที่แล้ว กับหกปีที่แล้วเป็นคนเดียวกันนะ เชื่อมโยงเรื่องราวให้คนเห็นภาพ เวลาคนพูดถึงคุณแบงค์มักมีการโยงไปถึง คุณปลื้ม คงเป็นเรื่องาะเขามาก่อนผมในเก้าอี้ตัวเดียวกัน ก็ต้องปล่อยให้คนดูเปรียบเทียบ แล้ววัดกันที่เนื้อหา ส่วนนิสัยไม่เหมือนกันแน่นอน การพูดการจา มุมมองก็ต่างกัน คนส่วนใหญ่มองว่าทั้งสองคนนี้มีความมั่นใจเหมือนกัน แต่ผมว่าผู้ประกาศข่าวกีฬาก็มีความมั่นใจนะครับ (หัวเราะ) ไม่อย่างนั้นก็ไม่ต้องมาสื่อข่าวหรอก ไปเล่นละครดีกว่า...อ้าว ไปกัดดาราเขาอีกแล้ว ที่จริงผมไม่ได้ต่อต้านวงการบันเทิงนะครับ แต่เล่นละครก็ต้องมีความมั่นใจเหมือนกัน ในชีวิตเคยมีเหตุการณ์เด่นๆหรือวีรกรรมบ้างไหม โห มีหลายเรื่อง ตีรันฟันแทงเยอะแยะไปหมด โดนรุมกระทืบ โดนรุมยิง มีเรื่องกับพวกลูกไฮโซต่างๆนานา พวกที่ชอบลากเส้น ชอบมีเรื่องกันตามผับบาร์ แล้วฝั่งเราเป็นคนไม่ค่อยชอบลากเส้นเสียด้วย แต่ชอบใช้กำลังมากกว่า (หัวเราะ) ก็ได้แผลมาเต็มเลย อันนี้เอาสั้นๆแล้วกัน เดี๋ยวจะเยอะเกิน เดี๋ยวนี้เจอใครมาเบ่งก็ยกมือไหว้ ดีแล้วคร้าบ ขอบคุณคร้าบ หวัดดีคร้าบ คือตอนนั้นชีวิตมันถูก เพราะยังเรียนไม่จบ ทั้งที่จริงมันแพงมาตั้งแต่สมัยไหนแล้วในสายตาของพ่อแม่ แต่ในสายตาของเรามันถูก ยังพอที่จะเสี่ยงได้ ใช้ให้คุ้มซะ ทั้งแข่งรถ แต่งรถ รถคว่ำเสียไป 4-5 คันอะไรอย่างนี้ ใช้เงินไม่คิดเท่าไร ทั้งๆที่เศรษฐกิจก็ไม่ได้ดี พอโตมาเดี๋ยวนี้ชีวิตเริ่มแพงแล้ว แพงมากด้วย เลยคิดว่าอย่าไปมีเรื่องดีกว่า ใครมองหน้าก็หลับตาซะ คุณแบงค์ในจอดูดีมาก เคย เฟค ใส่คนดูบ้างไหม นี่ ผมขอฝากไว้ตรงนี้เลย ยังไม่เคยมีใครถาม มีแต่คนถามอ้อมๆว่าเดี๋ยวจะไปเล่นละคร ไปทำงานบันเทิงไหม ผมยืนยันว่าไม่ อย่างที่จะตอบคำถามนี้คือ ทุกอย่างที่เห็นคือทุกอย่างที่เป็น หากคุณไปเห็นผมใส่เสื้อยืดกับกางเกงยีนส์ขาดๆในผับ นั่นก็คือผมเช่นกัน แต่คนละกาละ คนละเทศะ ผมไม่เคยเสแสร้ง และไม่คิดจะเป็นอย่างอื่นที่ตัวเองไม่ได้เป็นด้วย ฉะนั้นละครไม่ต้องพูดถึง ท่องบทไม่เป็น แนวคิดการดำรงชีวิตเรื่องไหนที่ติดอยู่ในใจเสมอมา เคยมีคำที่ผู้ใหญ่ในครอบครัวสอนผมว่า การปิดทองหลังพระ มันไม่ได้อะไรขึ้นมา แต่ถ้าปิดทองหลังพระให้คนเห็น นี่คือการประสบความสำเร็จสูงสุด ไม่ได้เป็นคนหน้าไหว้หลังหลอกนะ ตั้งใจจะทำบุญนี่แหละ แต่รอกาสนิดหนึ่ง จะทำอะไร ทำให้ได้ผลตอบแทน นอกจากนี้ก็มีคำที่คุณพ่อสอนเสมอว่า ห้ามเป็นคนมีเหลี่ยม แต่ให้เป็นคนกลมกลิ้ง เพราะถ้าเป็นคนมีเหลี่ยม กลิ้งไปสักวันมันต้องอยู่ติด หากเราเป็นคนกลมกลิ้ง มันจะกลิ้งไปได้เรื่อยๆ แล้วคุณแบงค์มองเศรษฐกิจ-สังคมไทยว่าเป็นอย่างไร การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือองค์กรไหน มันเป็นนโยบายเศรษฐกิจแบบตามน้ำ วัตถุประสงค์เพื่อเอาใจคนบางกลุ่ม บ้างเอาใจฝั่งตลาดทุน บ้างเอาใจฝ่ายการเมือง บ้างเอาใจประชาชนส่วนมากเพื่อหวังคะแนนเสียง สลับกันอยู่อย่างนี้ ทำให้เราไม่เคยนำหน้าใคร ขณะที่บางประเทศ อย่างอเมริกาเขาทำงานเชิงรุก (proactive) เวลาออกนโยบายทางการเงิน-การคลัง เขาออกก่อนที่มันจะเกิดเหตุการณ์ แต่ของเรานี่ต้องรอให้เงินเฟ้อก่อนถึงจะปรับดอกเบี้ยเงินฝากขึ้น พอเงินเฟ้อลดค่อยลดดอกเบี้ยเงินฝาก ไม่มีการมองว่า เฮ้ย ต้องลดดอกเบี้ยเงินฝากก่อน เพราะสถานการณ์เงินเฟ้อกำลังจะลด ทางการเมือง คุณแบงค์ชอบฝั่ง อดีตไทยรักไทย หรือ ประชาธิปัตย์ มากกว่ากัน จริงๆผมชอบฝ่ายไหนก็ได้ที่เน้นทางด้านเศรษฐกิจ เพราะอย่าลืมว่านี่คือพื้นฐานจริงๆ อย่างทฤษฎีพอเพียง การจะทำให้สำเร็จได้ ต้องขึ้นอยู่กับการบริหารทางด้านเศรษฐกิจ ไม่ว่าฝ่ายไหน ถ้ามีนโยบายที่ดี มาซื้อใจเราได้ เราก็เลือก -------------------------------------------------------------------------------- Column: Young&Smart No.591 (16 September 2007)

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ พชร ปัญญายงค์

พชร ปัญญายงค์
พชร ปัญญายงค์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook