สิทธิในการลาคลอด

สิทธิในการลาคลอด

สิทธิในการลาคลอด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้หญิงทำงานเช่นคุณมีเวลาเตรียมตัวเป็นคุณแม่ได้อย่างเต็มตัวเพื่อดูแลทารกก่อนและหลังคลอดได้อย่างอุ่นใจมากขึ้น ก็คือสิทธิประโยชน์ต่างๆที่ คุณแม่ได้รับขณะลาคลอด คุณแม่บางท่าน ปฎิเสธการลาคลอดเพื่อรีบกลับมาทำงาน ทั้งๆที่ควรอยู่ดูแลลูกน้อยอย่างเต็มที่ในช่วง 3-4 เดือนแรกหลังคลอด ดังนั้น เพื่อให้คุณแม่มีเวลาให้กับลูกน้อย พร้อมทั้งยังไม่เสียสิทธิประโยชน์ที่ควรได้รับ ลองมาดูกันว่า บริษัททั้งภาครัฐและเอกชน มอบสิ่งดีๆให้คุณแม่ในช่วงลาคลอดอย่างไรบ้าง ลาคลอด การใช้สิทธิลาคลอดมีประโยชน์อย่างไรสำหรับคุณ การลาคลอดเป็นโอกาสที่ดีที่คุณแม่จะได้พักฟื้นหลังจากเหน็ดเหนื่อยจากการตั้งครรภ์และคลอดลูก และยังถือเป็นช่วงเวลาอันมีค่าที่คุณจะได้ใช้เวลาสร้างสายสัมพันธ์กับลูกน้อย และเรียนรู้วิธีการดูแลลูกน้อยในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและอบอุ่นไปด้วยความรัก ช่วงแรกๆ เป็นช่วงเวลาที่สำคัญอย่างยิ่งที่คุณจะได้ใช้เวลากับลูกน้อยคนใหม่ ดังนั้น คุณแม่จึงควรที่ใช้โอกาสที่ได้รับอย่างเต็มที่ อย่าปล่อยให้ช่วงเวลาดีๆ เหล่านี้สูญเสียไป สำหรับคุณแม่ที่รับราชการ สามารถดูแลบุตรได้อย่างเต็มที่ด้วยสิทธิ์ลาคลอดได้ 90 วัน โดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ และสามารถรับเงินเดือนได้ตามปกติ โดย 45 วันรับจากส่วนราชการ และอีก 45 วันรับจากสำนักงานประกันสังคม พร้อมมีสิทธิ์ลากิจเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้ไม่เกิน 150 วันทำการ โดยไม่รับเงินเดือน นอกจากนี้ ยังสามารถเบิกเงินช่วยเหลือการคลอดบุตรได้ครั้งละ 400 บาท โดยไม่รวมค่ารักษาพยาบาลซึ่งเบิกแยกเป็นกรณีพิเศษได้ พร้อมยังได้รับเงินสวัสดิการสำหรับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเดือนละ 50 บาทต่อบุตร 1 คน แต่ไม่เกิน 3 คน จนกว่าบุตรจะมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ คุณแม่ที่ทำงานในบริษัทเอกชน ส่วนคุณแม่ที่ทำงานในบริษัทเอกชน สามารถลาคลอดได้ 90 วัน โดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์เช่นกัน ส่วนค่าใช้จ่าย ตามกฎหมายแล้วบริษัทจะต้องทำบัตรประกันสังคมให้ทุกท่าน คุณสามารถใช้บัตรประกันสังคมเบิกค่าใช้จ่ายตามระเบียบของบัตรได้ทันที โดยจะได้รับสิทธิ์ค่าทำคลอดบุตรแบบเหมาจ่ายครั้งละ 12,000 บาท สำหรับบุตรที่คลอดหลัง 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป นอกจากนี้ยังได้รับเงินช่วยเหลือการหยุดงานเพื่อคลอดบุตร ทางประกันสังคมจะมอบเงินชดเชยให้ 50% ของเงินเดือน เฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน คุณแม่ที่ทำงานในรัฐวิสาหกิจ หากคุณแม่ทำงานในรัฐวิสาหกิจ สามารถเบิกเงินช่วยเหลือการคลอดบุตรได้ครั้งละ 400 บาท ไม่รวมค่ารักษาพยาบาล โดยส่วนนี้คุณแม่เบิกค่าใช้จ่ายได้ตามระเบียบพนักงานรัฐวิสาหกิจ และยังได้รับเงินช่วยเหลือบุตรจำนวน 50 บาทต่อคนต่อเดือน พร้อมสิทธิ์ลาคลอดได้ 60 วันโดยรับเงินเดือนตามปกติ และลากิจเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้ไม่เกิน 30 วัน โดยไม่ได้รับเงินเดือน คุณแม่ที่ประกอบอาชีพอิสระ ในกรณีที่คุณแม่ประกอบอาชีพอิสระ สามารถใช้บริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค โดยในส่วนของการฝากครรภ์ การสร้างภูมิคุ้มกันโรคของเด็ก สามารถเข้ารับบริการได้ฟรี หรือชำระ 30 บาท สำหรับการคลอดบุตรไม่เกิน 2 ครั้ง พร้อมการตรวจรักษา รวมถึงค่าห้องและค่ายา การทำงานในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยระหว่างตั้งครรภ์ หากคุณแม่ทำงานอยู่ในพื้นที่หรือตำแหน่งที่มีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ เช่น ทำงานในโรงงานหรือทำงานในตึกที่ต้องขึ้นลงบันไดบ่อยๆ เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์ คุณแม่มีสิทธิ์ขอย้ายแผนกหรือย้ายโต๊ะทำงานเป็นการชั่วคราวช่วงก่อนหรือหลังคลอด โดยยื่นเรื่องควบคู่กับใบรับรองแพทย์ ทั้งนี้ กฎหมายคุ้มครองคุณแม่ตั้งครรภ์ ยังห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงทำงานระหว่าง 22.00-06.00 น. รวมถึงห้ามทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด หรือทำงานประเภทเกี่ยวกับเครื่องจักรกลที่มีความสั่นสะเทือน, งานขับเคลื่อน, งานแบกหามหรือยกของหนักเกิน 15 กิโลกรัมหรืองานในเรืออีกด้วย ในกรณีที่ต้องลางานเพื่อไปพบสูติแพทย์เพื่อตรวจครรภ์ สิทธิ์ในการลาคลอด 90 วันนั้น นับรวมวันหยุดราชการที่มีระหว่างวันลา โดยคุณแม่มีสิทธิ์ได้รับเงินเดือนจากนายจ้างตามปกติ และการเลิกจ้างเนื่องจากตั้งครรภ์ ถือว่าผิดกฎหมาย นอกจากสิทธิ์ในการลาคลอด ในโรงพยาบาลที่คุณแม่ฝากครรภ์มักมีบริการสอนคอร์สเตรียมคลอดให้กับคุณแม่ฟรี โดยส่วนใหญ่จะเรียนครั้งแรกช่วงระยะครรภ์ 3 เดือน และอีกครั้งช่วง 6-9 เดือน ซึ่งแต่ละโรงพยาบาลอาจมีตารางเรียนที่แตกต่างกัน คุณแม่สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โรงพยาบาลที่คุณฝากครรภ์ โดยในคอร์สเรียนจะให้คำแนะนำและความรู้ในการดูแลครรภ์ ทั้งอาหารการกิน รวมไปถึงการฝึกลมหายใจเพื่อใช้ในการคลอด ดังนั้น อย่าลืมสอบถามแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์เกี่ยวกับคอร์สเตรียมคลอด เพื่อประโยชน์ที่คุณควรได้รับและความปลอดภัยของคุณและลูกน้อย

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ สิทธิในการลาคลอด

สิทธิในการลาคลอด
สิทธิในการลาคลอด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook