รู้ไหม? สมองรับรสของหนูอยู่ไหน

รู้ไหม? สมองรับรสของหนูอยู่ไหน

รู้ไหม? สมองรับรสของหนูอยู่ไหน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
การรับรู้รส เป็นหนึ่งในการเรียนรู้ที่สําคัญเรื่องประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของลูกน้อย ซึ่งมีส่วนสําคัญ จําเป็นต่อการเจริญเติบโต เป็นตัวกระตุ้นให้สมองเกิดการทํางาน มีพัฒนาการที่ดี ผ่านการรับรู้รสชาติอาหารในขวบปีแรก เรามาดูกันว่า ลูกน้อยรับรู้รสได้ดี มีประสิทธิภาพด้วยสมองส่วนไหนค่ะ

ลูกน้อย, การเลี้ยงลูก

สมองส่วนการรับรู้ คือสมองส่วนที่เราเรียกว่า ฟรอนทอลโลบ (Frontal Lobe) เป็นสมองส่วนหน้า ที่ส่วนใหญ่มีหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด การเรียนรู้ ความจํา ความฉลาด ความคิดอย่างมีเหตุผล และคําพูด ในขณะเดียวกันก็ควบคุมการทํางานของกล้ามเนื้อ แขน ขา และใบหน้า สมองส่วนถัดมา คือพารายทอลโลบ (Parietal Lobe) ทําหน้าที่รับรู้ความรู้สึกเกี่ยวกับประสาทสัมผัส สมองส่วนที่เรียกว่า เซนเซอร์รี่มอเตอร์คอร์เท็กซ์ (Sensorimotor cortex) คือพารายทอลโลบและฟรอนทอลโลบ กับสมองส่วนทาลามัส ซึ่งเป็นสมองที่อยู่ตรงใจกลางทํางานร่วมกัน และสมองส่วนที่เรียกว่า เบซาลแกงเกลีย มีการสร้างเส้นใยประสาท ควบคุมการทํางานพื้นฐานค่อนข้างครบถ้วนเมื่อแรกคลอด เช่น การขยับปรือการขยับแขนขาไปมา กระบวนการเรียนรู้ ตั้งแต่แรกเกิดเซลล์ประสาทในสมองจะแตกกิ่งก้าน สร้าง จุดเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายพัฒนาระบบสมอง ผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ คือ การมองเห็นภาพ ได้ยินเสียง สัมผัสทางผิวหนัง การรับรู้เรื่องกลิ่น และรับรู้รส ทันทีหลังคลอด การได้ดูดนมแม่ อยู่ในอ้อมกอด สัมผัสถึงไออุ่นของแม่ กลไกการรับรู้อัตโนมัติที่ทําให้รับรู้การสัมผัสมีปฏิกิริยา ตอบสนองโดยหันมาดูดนมแม่ในทันที เป็นการสร้างประสาทสัมผัสในการรับรู้รสในครั้งแรก กระตุ้นพัฒนาการทางสมอง กระตุ้นสมอง การรับรส สิ่งสําคัญที่ช่วยกระตุ้นการรับรู้เรื่องรสของลูกน้อย ขึ้นตรงอยู่กับการสั่งสมประสบการณ์ ยิ่งมีประสบการณ์มากเท่าใดหรือเร็วเท่าใด สมองจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น เพราะประสบการณ์ที่ได้รับ จะทําให้เกิดการเชื่อมโยงของเซลล์สมอง เกิดการเชื่อมโยงของเส้นใยประสาทสมอง และคงอยู่ตลอดไป วิธีการกระตุ้น สัมผัสรสน้ำนมแม่ที่มีคุณค่าสารอาหารที่ครบถ้วน ช่วยพัฒนาเซลล์สมองให้แตกแขนง ทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะรสิน้ำนมของแม่จะเปลี่ยนไปตามอาหารที่แม่รับประทานเข้าไปด้วยเช่นกัน รวมถึงการรับรสชาติอาหารเสริมตามธรรมชาติ สัมผัส หยิบจับกับอาหาร เมื่อได้รับการสัมผัสความรู้สึกนี้จะส่งต่อไปยังสมอง เก็บไว้ในความทรงจํา ว่าสัมผัสที่ลูกได้รับนั้นเป็นอย่างไร เสียง ที่แม่เรียกชื่อชนิดอาหารก็เช่นเดียวกัน สมองจะเก็บข้อมูลเข้าสู่กระบวนการและจดจําเอาไว้ จนถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาพูดในลําดับต่อไป ภาพ ที่ลูกน้อยเห็น ไม่ว่าอาหาร บรรยากาศต่างๆ เกี่ยวกับการรับรส จะกลายเป็นข้อมูลที่ถูกลําเลียงไปยังสมองเช่นกัน ดังนั้น เมื่อคุณแม่มีการกระตุ้นพัฒนาเครือข่ายเส้นใยสมองอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยทําให้สมองมีการทํางานอย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ รู้ไหม? สมองรับรสของหนูอยู่ไหน

รู้ไหม? สมองรับรสของหนูอยู่ไหน
รู้ไหม? สมองรับรสของหนูอยู่ไหน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook