แนะวิธีกัน แมงมุมหม้ายน้ำตาล

แนะวิธีกัน แมงมุมหม้ายน้ำตาล

แนะวิธีกัน แมงมุมหม้ายน้ำตาล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นักวิจัยเตือนภัย "แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล" สุดอันตราย พิษร้ายแรงกว่างูเห่า 3 เท่า ยังไม่มีเซรุ่ม หรือยาถอนพิษ อาละวาดในไทยแถบชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แนะวิธีสังเกตรูปร่างลักษณะ ตัวขนาด 1 ซม. ท้องจะกลมป่องใหญ่กว่าหัวหลายเท่า มีสีน้ำตาลสลับขาวลายเป็นริ้วๆ ชอบแฝงตัวในที่ต่ำ ให้ระวังลูกหลาน

แมงมุมหม้ายน้ำตาล, แมงมุม, สัตว์มีพิษ

แนะทำความสะอาดบ้าน กัน"แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล" นายประสิทธิ์ วงษ์พรม นักวิจัยด้านกีฏวิทยา ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า ลักษณะของแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล จะมีลายตรงหน้าท้องเป็นรูปนาฬิกาทรายสีแสด หรือ สีแดง และหากสังเกตหน้าท้องด้านบนจะมีสีน้ำตาลเป็นลักษณะครึ่งวงกลม ซึ่งบริเวณท้องจะมีสัดส่วนใหญ่กว่าส่วนหัวชัดเจนมาก โดยจะมีลายนูนบนท้องเป็นริ้วสีน้ำตาลสลับสีขาวอ่อนๆ ตรงริ้วเป็นจุดสามจุดเรียงกันสองแถว ซึ่งแมงมุมชนิดนี้จะชักใยทำรังในที่รก เช่น ห้องน้ำเก่า โรงไม้เก่า ลังไม้ หรือแม้กระทั่งเก้าอี้ที่วางไว้นานๆ

แมงมุมหม้ายน้ำตาล, แมงมุม, สัตว์มีพิษ

นายประสิทธิ์ ระบุว่า ส่วนใหญ่แล้วถ้ามนุษย์ไม่ไปสัมผัสจนทำให้แมงมุมตกใจ แมงมุมชนิดนี้จะไม่กัด ยกเว้นว่า แมงมุมจะเข้าไปทำรังในหมวกเก่า หรือ รองเท้าเก่า ถ้าไม่ระมัดระวังอาจโดนกัดได้ ซึ่งเป็นอันตรายมาก เพราะแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล มีพิษรุนแรง หากถูกกัดจะปวดและอักเสบค่อนข้างรุนแรง โดยนายประสิทธิ์แนะนำให้ทำบ้านให้สะอาด ทำความสะอาดลังไม้เก่า หรือ ลังผลไม้ที่ทิ้งไว้นานๆ เพราถ้าเด็กๆ ไปเล่นอาจเกิดอันตรายได้ นอกจากนี้ นายประสิทธิ์ ยังได้ระบุว่า ประชาชนไม่ควรตื่นตระหนกกับเรื่องแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล เนื่องจากการแพร่ขยายพันธุ์ดังกล่าวเป็นการแพร่ขยายพันธุ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ไม่ใช่เป็นการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว

แมงมุมหม้ายน้ำตาล, แมงมุม, สัตว์มีพิษ

นายประสิทธิ์ วงษ์พรม นักวิจัยจากภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ศึกษาเรื่องแมงมุมในประเทศไทย เปิดเผยวันที่ 18 มกราคม ว่า จากการศึกษาและเก็บข้อมูลเรื่องแมงมุมในประเทศไทย พบว่าขณะนี้มีแมงมุมพิษชนิดหนึ่ง ชื่อ "แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล" ซึ่งเดิมพบแต่ในประเทศสหรัฐอเมริกา แถบฟลอริดา เท็กซัส และบริเวณเขตเส้นศูนย์สูตร ปัจจุบันได้แพร่กระจายเข้ามาในประเทศไทยแล้ว เชื่อว่าขณะนี้แมงมุมดังกล่าวได้ขยายพันธุ์กระจายไปยังชุมชนต่างๆ รอบๆ ปากแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง และอ่าวไทยตอนบนแล้ว เบื้องต้นได้รับรายงานว่าเจอแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาลชุกชุมที่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม และมีรายงานมีคนถูกกัดที่นั่น แต่ยังไม่ได้ลงไปตรวจสอบความชัดเจน

แมงมุมหม้ายน้ำตาล, แมงมุม, สัตว์มีพิษ

นายประสิทธิ์กล่าวว่า แมงมุมชนิดนี้ มีพิษรุนแรงทำลายระบบเลือด และระบบภูมิคุ้มกัน พิษร้ายแรงกว่าพิษของแมงมุมแม่หม้ายดำ 2 เท่า และร้ายแรงกว่าพิษงูเห่า 3 เท่าทีเดียว เพียงแต่เวลาแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาลกัด จะปล่อยพิษออกมาไม่หมด ความร้ายแรงอาจจะไม่เท่าแม่หม้ายดำ เพราะแม่หม้ายดำ หรืองูเห่า กัดแล้วปล่อยพิษออกมาทั้งหมด เปรียบเทียบให้เห็นภาพก็คือ หากโดนงูเห่า หรือแม่หม้ายดำกัด จะปล่อยพิษออกมาในระดับมิลลิกรัม คือ 1 ส่วนในพันส่วน แต่แม่หม้ายน้ำตาลจะปล่อยพิษออกมาในระดับ ppm คือ 1 ส่วนในล้านส่วน อย่างไรก็ตาม หากถูกกัดหลายตัวพร้อมกันปริมาณพิษก็จะเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

แมงมุมแม่ม่ายดำ, แมงมุม, สัตว์มีพิษ

นายประสิทธิ์กล่าวต่อไปว่า สำหรับลักษณะทั่วไปของแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาลนั้น พบว่าขนาดของตัวมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร บริเวณท้องจะโตกว่าหัวหลายเท่า ท้องจะกลมป่อง ด้านล่างมีลักษณะคล้ายรูปนาฬิกาทรายสีส้ม ด้านบนมีสีน้ำตาลสลับขาวลายเป็นริ้วๆ มีจุดสีดำสลับขาวตรงท้องข้างละ 3 จุด รวมเป็น 6 จุด วางไข่ครั้งละ 200-400 ฟอง สาเหตุการแพร่ระบาดนั้น คาดว่า จะเข้ามากับเรือสินค้าเป็นหลัก และมีรายงานด้วยว่า มีพ่อค้าบางคนนำมาขายให้คนที่ชอบเลี้ยงสัตว์แปลก โดยไม่รู้ว่าเป็นสัตว์ที่มีพิษร้ายแรง ขณะนี้ ยังไม่มีรายงานอย่างเป็นทางการว่า มีผู้เสียชีวิตจากการถูกแม่หม้ายน้ำตาลกัด แต่มีรายงานการถูกกัดแล้วจากหลายพื้นที่ ส่วนใหญ่ผู้ถูกกัดจะมีอาการแพ้อย่างแรง แผลจะเหวอะหวะ และเป็นผื่นบวมแดงเจ็บปวด มีหนอง แผลจะหายช้ามาก เพราะพิษทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ระบบน้ำเหลือง และทำลายเม็ดเลือดขาว คนที่ถูกกัดส่วนใหญ่มักไม่ทราบว่าแผลดังกล่าวเกิดจากอะไร ขณะนี้ ยังไม่มีเซรุ่ม หรือยาถอนพิษ ทำได้แค่รักษาตามอาการเท่านั้น ยังโชคดีว่า แมงมุมชนิดนี้ไม่มีนิสัยดุร้าย ไม่โจมตีหรือบุกกัดใครอย่างไม่มีเหตุผล จะหลบมากกว่าสู้ และจะกัดเมื่อถูกรุกรานที่อยู่เท่านั้น

แมงมุมแม่ม่ายดำ, แมงมุม, สัตว์มีพิษ

นักวิจัยแมงมุมให้ข้อสังเกตความแตกต่างระหว่างแมงมุมทั่วไปกับแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาลว่า นอกจากลักษณะลำตัวแล้ว ให้สังเกตลักษณะการทำรัง หรือการชักใย แมงมุมทั่วไปจะชักใยค่อนข้างสวยงามเป็นระเบียบ และชักใยอยู่ที่สูง เช่น ตามขื่อ ตามคาน หรือหลังคาบ้าน แต่แม่หม้ายน้ำตาลจะทำรังอยู่ที่ต่ำ สูงไม่เกิน 1 เมตร ลักษณะรังหรือใยจะยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ พบเห็นได้ตามใต้โต๊ะ เก้าอี้ รองเท้าเก่าในบ้าน ที่น่าเป็นห่วงคือ เด็กๆ ที่ชอบคลานเข้าไปอยู่ตามซอกมุมบ้าน หากไปเจอแมงมุมชนิดนี้อาจจะถูกกัด และตกอยู่ในอันตรายได้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลในเชิงลึก รวมทั้งเรื่องการกระจายพันธุ์ จึงขอความร่วมมือ สำหรับผู้พบเห็นแมงมุมที่มีลักษณะดังกล่าว ขอความกรุณาแจ้งมายังภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ด้วย

อัลบั้มภาพ 7 ภาพ

อัลบั้มภาพ 7 ภาพ ของ แนะวิธีกัน แมงมุมหม้ายน้ำตาล

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook