เปิดรายได้อาชีพในฝัน “สจ๊วต แอร์โฮสเตส” 17 สายการบิน งานหนักแต่รายได้ดี

เปิดรายได้อาชีพในฝัน “สจ๊วต แอร์โฮสเตส” 17 สายการบิน งานหนักแต่รายได้ดี

เปิดรายได้อาชีพในฝัน “สจ๊วต แอร์โฮสเตส” 17 สายการบิน งานหนักแต่รายได้ดี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สำรวจค่าตอบแทน "สจ๊วต-แอร์โฮสเตส" ใหม่ป้ายแดง 17 สายการบิน หนึ่งในอาชีพที่หลายคนใฝ่ฝันอยากจะเป็น แม้จะทำงานหนักแต่รายได้ดีงาม


อาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน หรือที่คนไทยเรียกติดปากว่า สจ๊วต และ แอร์โฮสเตส คือหนึ่งในอาชีพในฝันลำดับต้นๆ ของทุกคน ด้วยภาพลักษณ์และบุคลิกที่ดูสวยงาม ประกอบกับได้เดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และที่สำคัญค่าตอบแทนที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับตำแหน่งงานทั่วไป การแข่งขันเข้าสู่อาชีพนี้จึงค่อนข้างสูง ซึ่งก็ล้อไปตามมาตรฐานที่แต่ละสายการบิน กำหนดคุณสมบัติลูกเรือไว้ด้วยเช่นกัน

เฟซบุ๊กแฟนเพจ SkyCoachMam ได้รวบรวมค่าตอบแทนพนักงานต้อนรับน้องใหม่ป้ายแดงคร่าวๆ จากการสอบถามลูกเรือ 17 สายการบิน ระบุว่ารายรับหลักจะมาจาก 1.เงินเดือน 2.ค่าบินคิดตามรายชั่วโมง (ในแต่ละเดือนแต่ละคนอาจได้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับตารางบิน) 3.ค่าพักค้างต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ และ 4. ค่าสวัสดิการ เช่น ค่าน้ำมันรถ ค่าซักรีด ค่าภาษา ฉะนั้น รายได้ของลูกเรือป้ายแดงแต่ละคนจึงไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับตารางบิน บินมากได้มาก บินน้อยได้น้อย ตารางดีได้เงินมาก ตารางไม่ดีอาจได้เงินน้อยกว่า ถ้าขยันบินหรือตารางบินหลายชั่วโมง ก็จะได้ค่าตอบแทนที่สูงขึ้นเป็นลำดับ

จากการรวบรวมข้อมูล จากพนักงานต้อนรับที่ทำงานกับสายการบิน สรุปเป็นได้ตัวเลขรายได้คร่าวๆ ดังนี้

1. สายการบินเจแปนแอร์ไลน์ (JAL) 50,000 - 80,000++

2. สายการบินไทยสไมล์ (Thai Smile) 40,000-45,000++

3. สายการบินนกแอร์ (Nok) 50,000 - 70,000++

4. สายการบินไทย (TG) 45,000 - 60,000++

5. สายการบินไทยไลออน์แอร์ (Thai Lion) 50,000 - 70,000++

6. สายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ (SQ) 70,000 - 100,000++

7. สายการบินเจ๊ทสตาร์ (Jetstar) 50,000 - 70,000++

8. สายการบินเอวาแอร์ (EVA) 50,000 - 70,000++

9. สายการบินไทยแอร์เอเชีย (Thai Air Asia) 65,000 - 70,000++

10. สายการบินนกสกู๊ต (Nok Scoot) 45,000 - 70,000++

11. สายการบินไทยเวียดเจ๊ท (Thai Viet Jet) 50,000 - 65,000++

12. สายการบินคูเวตแอร์ไลน์ (Kuwait) 80,000++

13. สายการบินโอมานแอร์ (Oman) 70,000 - 80,000++

14. สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส (PG) 70,000 - 100,000++

15. สายการบินกาตาร์แอร์เวย์ (QR) 70,000 - 100,000++

16. สายการบินเอมิเรตส์แอร์ไลน์ (EK) 70,000 - 100,000++

17. สายการบินเอทิฮัดแอร์เวย์ (EY Etihad) 70,000 - 100,000++

ทั้ง 17 สายการบินส่วนใหญ่ลูกเรือเบสที่ประเทศไทย ยกเว้น SQ เบสที่สิงคโปร์, Thai Viet Jet เบสทั้งไทยและเวียดนาม, Kuwait เบสที่คูเวส, Oman เบสที่โอมาน, QR Qatar เบสที่โดฮา, EK Emirates เบสดูไบ, EY Etihad เบสที่อาบูดาบี

ข้อดีของสายการบินที่เบสในประเทศไทย คือลูกเรือได้อยู่ใกล้ครอบครัว คนรัก เงินเดือนอยู่ในเกณฑ์ดีมาก เมื่อเทียบกับงานสำหรับเด็กจบใหม่หรือเพิ่งเริ่มงาน ความก้าวหน้าขึ้นอยู่กับว่าทำสายการบินไหน บางสายได้ปรับตำแหน่งเร็ว บางสายอาจช้าหน่อย

ส่วนขอดีของสายการบินตะวันออกกลาง คือได้ทำงานกับต่างชาติ รูทบินมากมายทั่วโลก ไม่จะลูกเรือเข้าใหม่หรือทำมานานแล้วจะได้บินทั่วโลก ไม่ต้องเสียภาษา เงินเดือนดีมาก ก้าวหน้าเร็ว จากลูกเรือสามารถขึ้นสู่ระดับผู้บริหารได้

รู้แบบนี้แล้วหลายคนที่มีความฝัน อยากเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน คงมีกำลังใจเดินตามความฝันขึ้นอีกมาก แม้ว่าหนทางกว่าจะได้เข้าไปเป็นลูกเรือไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินความพยามยามแน่นอน..

ขอบคุณข้อมูลจาก SkyCoachMam

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook