ทำความรู้จักกับ “โรคดึงผม” อาการป่วยที่หลายคนไม่รู้ตัว

ทำความรู้จักกับ “โรคดึงผม” อาการป่วยที่หลายคนไม่รู้ตัว

ทำความรู้จักกับ “โรคดึงผม” อาการป่วยที่หลายคนไม่รู้ตัว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พฤติกรรมการชอบดึงผมหรือขนตัวเองจนติดกลายเป็นนิสัย เกิดขึ้นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ซึ่งก่อให้เกิดผลเสีย ทำให้เส้นผมอ่อนแอ แหว่งและล้าน ในภาษาอังกฤษเรียกว่า hair pulling disorder เราลองมาทำความรู้จักกับโรคนี้กันดีกว่า

อาการของโรคดึงผมมีลักษณะอย่างไร?

โรคนี้พบได้ไม่บ่อยนัก เพียงแค่ 1 – 2 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั่วไป ซึ่งสามารถพบได้ทุกช่วงอายุ โดยอาการของโรคนี้คือ ผู้ป่วยจะชอบดึงผมหรือขน ซึ่งจะทำซ้ำ ๆ จึงส่งผลเสีย ทำให้ผมในบริเวณนั้นแหว่งหรือหายไป ทำให้เส้นผมอ่อนแอ และทำให้เกิดศีรษะล้านได้ง่าย

ลักษณะของผู้ป่วยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด

1.ดึงโดยรู้ตัว ในประเภทแรกนี้ ผู้ป่วยจะรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาในการดึงผมตนเอง ซึ่งอาจเกิดจากความเครียดหรือความไม่สบายใจ ความวิตกกังวลต่าง ๆ เมื่อดึงผมตัวเองแล้วจะทำให้เกิดอาการผ่อนคลาย รู้สึกสบายใจ หรือในบางคนรู้สึกแสบ ๆ คัน ๆ กับการดึงผมหรือขนในบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย จึงทำให้อยากถอนขน เพราะทำให้รู้สึกดีนั้นเอง

2.ดึงโดยไม่รู้ตัว ในกรณีนี้เป็นการถอนขนตัวเองโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจเกิดจากการทำจนกลายเป็นนิสัย ซึ่งอาจเกิดขึ้นในภาวะที่รู้สึกผ่อนคลายสบาย เช่น นอนดูหนังแล้ว แล้วเผลอเอาเอามือไปดึงออกเอง แต่โดยส่วนมากแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการทั้งสองแบบผสมกัน

ตำแหน่งไหนที่ถูกดึงผมและขนบ่อยที่สุด?

นอกจากการดึงผมแล้ว การดึงขนส่วนใหญ่ที่พบบ่อย ก็ได้แก่ ขนคิ้ว ขนบริเวณอวัยวะเพศ ขนตา หรือขนที่แขนขา เป็นต้น

ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วย

โรคนี้ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ แต่มันส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างมาก เพราะเส้นผมที่แหว่งออกไป ส่งผลโดยตรงต่อความมั่นใจในตัวเอง ซึ่งผู้ป่วยต้องหาวิธีการปกปิดเส้นผมที่หายไป หรือในบางรายออกต้องใส่วิกหรือหมวกเวลาออกไปเดินข้างนอกเลยทีเดียว ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาความเครียดและทำให้เกิดโรคซึมเศร้าตามมาอีกด้วย

อาการแรกเริ่มของโรค

โรคนี้มักจะเกิดในช่วงวัยรุ่น และเป็นเรื้อรังมาเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ก็จะมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งก็ขึ้นอยู่สภาวะของจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นความเครียด ความวิตกกังวล และในผู้หญิงจะเป็นมากในช่วงที่เป็นประจำเดือน

การรักษา

โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะไม่ได้รับการรักษา เพราะคิดว่าโรคที่เป็นอยู่นี้ไม่สามารถรักษาได้ แต่การมาพบจิตแพทย์เพื่อใช้พฤติกรรมบำบัด ก็ช่วยทำให้อาการดีขึ้นได้ หรือการใช้ยากลุ่ม selective serotinin reuptake inhibitor ก็ทำให้อาการดึงผมลดลงได้

การดึงผมหรือขนต่าง ๆ บริเวณร่างกายนั้น ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ อย่างที่หลาย ๆ คนคิด แต่จัดว่าเป็นโรคประเภทหนึ่ง ซึ่งหากไม่ทำการรักษาอย่างถูกวิธีแล้ว จะส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะทำให้เส้นผมแหว่ง และทำให้เกิดศีรษะล้านได้ ทำให้เกิดความเครียดและความไม่มั่นใจเพิ่มขึ้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook