เผลอตวาดแว้ดใส่ลูก ทางออกที่ถูก ควรทำอย่างไร

เผลอตวาดแว้ดใส่ลูก ทางออกที่ถูก ควรทำอย่างไร

เผลอตวาดแว้ดใส่ลูก ทางออกที่ถูก ควรทำอย่างไร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Q: คุณแม่เป็นคนขี้หงุดหงิดและเครียดง่ายมากค่ะ ต้องจัดการหรือดูแลรับผิดชอบทั้งงานที่ทำงานและภาระที่บ้าน ยอมรับว่าเครียด หลายๆ ครั้งเลยมักจะเผลอแว้ดหรือตวาดใส่ลูกโดยไม่ตั้งใจ บางครั้งก็โดยไม่รู้ตัว จนคนรอบข้างต้องมาสะกิดบอก รู้สึกผิดกับลูกมากๆ เลยค่ะ เขาจะเสียใจไหมคะ ตอนนี้ลูก 5 ขวบแล้ว

                เป็นคำถามประเภทอยากให้ตอบว่าไม่เสียใจ จะได้สบายใจ มีกำลังใจเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง แต่แล้วจะตวาดอีก

                คำตอบที่ตรงไปตรงมาคือ “เสียใจ”

                อย่างไรก็ตาม ก่อนวัยรุ่น เด็กๆ ต้องการพ่อแม่โดยไม่มีเงื่อนไขอยู่แล้ว อย่าว่าแต่ตวาดเลย ในคดีละเมิดทางเพศหรือทำร้ายร่างกายบุตร  เด็กทุกคนยังจะโกหกเพื่อปกป้องพ่อแม่ และให้การเพื่อป้องกันพ่อแม่เสมอ ด้วยความหวังที่ไม่เคยหมดหวังอยู่ข้อหนึ่ง นั่นคือพ่อแม่คงจะรักเราสักวันหนึ่ง

                ความเสียใจเกิดขึ้นแน่นอน  แต่มักอยู่ไม่นานแล้วหายไป  อย่างไรก็ตามมีคำถามว่าหายไปไหน

                หากเชื่อจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)ความเสียใจนั้นมุดลงไปซ่อนไว้ในจิตใต้สำนึก หากไม่มากก็แล้วไป แต่ถ้ามากเกินไปหรือสะสมไปเรื่อยๆ จะเป็นบ่อเกิดของพยาธิสภาพทางจิต หรืออาจจะไปรบกวนการสร้างซูเปอร์อีโก้(Superego) ซึ่งจะเป็นมาตรฐานทางศีลธรรมหรือจริยธรรมหรือข้อปฏิบัติของเด็กๆ ที่จะเจริญรอยตามพ่อแม่ในวันข้างหน้า

                ในเด็กมากกว่า 5 ขวบ ความเสียใจนั้นอาจจะพุ่งเข้าภายในแล้วทำร้ายจิตใจเกิดเป็นบาดแผลตรงๆ หากบาดแผลไม่มากก็หายได้เหมือนแผลถลอก น้อยมากก็ไม่มีแผลเป็น  มากหน่อยอาจจะมีแผลเป็นนิดหน่อย ทำซ้ำๆ ก็คงมีแผลเป็นบ้าง  แต่ถ้าแผลใหญ่มากความเจ็บปวดก็อาจจะมากและนาน เป็นต้นเหตุของอารมณ์เศร้าได้

                ที่เล่ามาเป็นจิตวิเคราะห์ จะไม่เชื่อก็ได้

                หากเชื่อจิตวิทยาทั่วไป (Psychology) การแว้ดหรือตวาดมักเป็นแรงเสริมทางลบให้เด็กๆ กระทำพฤติกรรมที่ทำให้ถูกแว้ดหรือตวาดซ้ำๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนทำดีไม่มีชม ตอนพลาดแว้ดทุกที เช่นนี้จะพลาดให้ดูบ่อยๆ

                หลักการของการปรับพฤติกรรมที่ได้ผลดีข้อหนึ่งคือ การสูญพันธุ์ (Extinction) กล่าวคือเราต้องการจับคู่พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ (คือพฤติกรรมกวนประสาทเรานั่นแหละ) กับความเงียบ (Silent) ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าเมื่อเราจับคู่พฤติกรรมใดๆ กับความเงียบอยู่เรื่อยๆ ทำอะไรก็ไม่มีอะไรตอบสนอง พฤติกรรมนั้นจะหายไปเอง หลักการข้อนี้ใช้ได้กับเด็กเล็กเสมอ อยู่ที่พ่อแม่จะมีความเพียรมากเพียงใด

                ดังนั้นวิธีที่ดีกว่าคือ

1. บอกกล่าวชัดๆ ว่าเราไม่ให้ทำอะไร

2. บอกด้วยความนิ่ง สงบ เอาจริง แล้วเงียบ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook