6 เหตุผลชวนประหลาดใจ ที่ทารกร้องไห้

6 เหตุผลชวนประหลาดใจ ที่ทารกร้องไห้

6 เหตุผลชวนประหลาดใจ ที่ทารกร้องไห้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

ร้องไห้

1.แหวะนม
ทารกมักแหวะนมออกมาหลังจากกินนม ซึ่งไม่ใช่ปัญหาที่น่าวิตกแต่อย่างใด ทว่าสำหรับทารกบางคนอาการแหวะนม หรืออาเจียนทำให้ไม่สบายตัวและอาจเกิดภาวะทุพโภชนาการได้ ให้ขอคำแนะนำจากแพทย์ถ้ารู้สึกกังวล

2.หูอักเสบ
สังเกตได้จากว่าลูกมักทึ้งที่หู และมีกลิ่น ตามีลักษณะบวมแดง ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของอาการหูอักเสบที่ต้องได้รับการบำบัดจากแพทย์

3.เกร็ง
ทารกหลายคนมีอาการคอแข็งหรือท้องเกร็งหลังคลอดเลยร้องไห้ออกมาเนื่องจากความเจ็บปวด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการบำบัดเช่นกัน

4.เป็นเชื้อรา
ถ้าลูกมีคราบสีขาวที่ลิ้น เมื่อเช็ดเบาๆ แล้วยังไม่จางหายไป สันนิษฐานได้ว่าอาจเป็นอาการติดเชื้อยีสต์ (เหมือนที่สตรีหลายคนเป็นกัน) นอกเหนือจากนี้อาการติดเชื้อดังกล่าวยังเกิดขึ้นที่ก้นของทารกได้ด้วย ซึ่งควรได้รับการบำบัดจากแพทย์

5.ฟันขึ้น (ถึงจะยังมองไม่เห็นฟันก็ตาม)
ตั้งแต่วัย 3 เดือนขึ้นไป ถ้าสังเกตเห็นว่าลูกใช้มือทึ้งที่เหงือก เคี้ยวของแข็งหรือน้ำลายไหลยืด ซึ่งเป็นอาการฟันขึ้นโดยที่อาจจะยังมองไม่เห็นฟันโผล่ขึ้นมา อาจเป็นสาเหตุให้ลูกร้องไห้โยเยได้เช่นกัน

6.คิดถึงแม่
ในวัย 6 เดือนทารกมักร้องไห้ทุกครั้งที่แม่หายตัวไป เรียกว่าเป็นความกระวนกระวายเพราะการพรากจากคนที่รัก อย่ากังวลเพราะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า ลูกกำลังเติบโตและเข้าใจโลกมากขึ้น ที่สำคัญคือแม่มีความสำคัญกับหนูมากมายเหลือเกิน ให้พูดคุยกับลูกเรียบๆ ว่าคุณกำลังจะออกไปไหนหรือทำอะไร และจะกลับมาเมื่อใด


ช่วยลูกจากอาการโคลิก

การร้องไห้อย่างยาวนานในช่วงเวลา 3-4 เดือนแรกเกิด เป็นอาการที่เรียกว่า โคลิก ซึ่งบ้านเราเรียกกันง่ายๆ ว่า ร้องไห้ 3 เดือนมักเกิดขึ้นกับทารกราว 10-15 % ซึ่งสร้างความทุกข์รันทดกับผู้ที่เป็นพ่อแม่อย่างมากแต่ทารกจะผ่านพ้นช่วงนี้ไปได้โดยไร้ปัญหาทั้งทางร่างกายและอารมณ์ บางคนเชื่อว่าอาการโคลิกเกิดจากปัญหาการย่อยหรือแก๊สในลำไส้ทารกมักยกเข่าแนบท้องเหมือนเจ็บปวดผายลม และหน้าแดง แต่อาการหลักของโคลิกคือ ร้องไห้ไม่หยุดนานเป็นชั่วโมง ผู้เชี่ยวชาญบางคนบอกว่าเกิดจากความเหนื่อยล้าและได้รับการกระตุ้นมากเกินไป มากกว่าอาการปวดท้อง ส่วนใหญ่จึงพบว่ามักเกิดขึ้นช่วงพลบค่ำไปจนถึงกลางคืน

จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม จัดเป็นเรื่องที่รับมือได้ยากที่สุดสำหรับพ่อแม่มือใหม่ ให้ลองทำตามวิธีดังต่อไปนี้

- ใช้ยาที่มีขายตามร้านขายยาทั่วไป
ยาที่มีส่วนผสมของซิมีทิโคน (เช่น Infacol)ซึ่งเชื่อกันว่าช่วยระบายลมได้ หรือ Gripe Water ซึ่งทำจากสมุนไพร เช่น ผักชีฝรั่งยี่หร่า ฯลฯ

- เปลี่ยนโภชนาการอาหาร
มีทารกจำนวนไม่น้อยที่มีอาการแพ้น้ำตาลแลคโตสในนม คือร่างกายไม่สามารถดูดซึมน้ำตาลในนมได้ ควรขอคำแนะนำจากแพทย์เพื่อรับการบำบัด

- เปลี่ยนขวดนม
เลือกใช้ขวดนมและจุกนมที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อลดปริมาณอากาศที่ทารกได้รับเข้าไปตอนดูดนม ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นสาเหตุประการหนึ่งของอาการโคลิก

- การนวด
การนวดท้องเบาๆ ช่วยในเรื่องระบบการย่อยอาหารได้ และสามารถกระทำขณะที่ลูกกำลังร้องไห้ได้ ให้นวดที่ท้องลูกเบาๆ วนเป็นวงกลมตามเข็มนาฬิกาแบบเดียวกับทิศทางการเคลื่อนไหวของอาหารภายในท้องทารก

- ทำเหมือนหนูอยู่ในท้องแม่
ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการทารก ดร.ฮาร์วีคาร์ป เชื่อว่าโคลิกเป็นปฏิกิริยาของทารกเมื่อออกมาจากท้องแม่ซึ่งเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยที่สุดมาสู่โลกภายนอก และแนะนำว่า การกกกอดลูกไว้แนบอกสามารถช่วยได้ เพราะคล้ายกับได้อยู่ในท้องพร้อมกับฟังเสียงของหัวใจแม่เหมือนที่คุ้นหู


ควรกังวลไหมหนอ?
การร้องไห้ไม่ได้เป็นสัญญาณที่บอกว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับลูก สิ่งที่บ่งบอกได้คืออาการซึมเศร้าและอ่อนเพลียซึ่งมักบ่งชี้ว่าลูกกำลังไม่สบาย ถ้าลูกแรกเกิดร้องไห้ไม่หยุดและสัญชาตญาณของคุณบอกว่ามีสิ่งผิดปกติ ก็ควรพาลูกไปพบกุมารแพทย์ทันทีโดยเฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้...
- ทารกที่เคยกินอิ่มนอนหลับ แต่จู่ๆ ก็เริ่มร้องไห้จ้า ปลอบอย่างไรก็ไม่ยอมหยุดโดยไร้เหตุผล
- ทารกที่ร้องไห้งอแงและมีสัญญาณว่าป่วย เช่น ตัวเขียว หายใจหอบ มีผื่นแดงขึ้น ไข้สูงมากกว่า 39 องศาเซลเซียส และชัก

 

THE CUDDLE CURE
ดร.ฮาร์วี คาร์ป เชื่อว่ามีแนวทางปลอบประโลมทารกที่กำลังร้องไห้ 5 ประการดังนี้
- ห่อผ้า ห่อผ้าให้แน่นพอควรเพื่อให้ลูกรู้สึกปลอดภัย
- จับลูกนอนบนท้องแม่ อุ้มลูกนอนคว่ำบนท้องแม่ โดยให้เนื้อตัวสัมผัสกัน จะช่วยให้ลูกรู้สึกอุ่นใจยิ่งขึ้น
- ส่งเสียงปลอบประโลม ส่งเสียงจุ๊เบาๆ สม่ำเสมอซึ่งตอนอยู่ในท้องแม่หนูก็ได้ยินเสียงเช่นกัน โดยเฉพาะเสียงการเต้นของหัวใจแม่
- เห่กล่อม เห่กล่อมลูกให้เคลื่อนไหวไปมาเบาๆ ให้ความรู้สึกเหมือนกำลังอยู่ในท้องแม่
- การดูด ไม่ว่าจะเป็นการดูดนมแม่ ขวดนม หรือจุกนมยาง ล้วนสามารถช่วยปลอบโยนทารกแรกเกิดได้เป็นอย่างดี

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook