วิธีเลือกช่างภาพคู่ใจในวันสำคัญของคุณ

วิธีเลือกช่างภาพคู่ใจในวันสำคัญของคุณ

วิธีเลือกช่างภาพคู่ใจในวันสำคัญของคุณ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ควรหาช่างภาพที่คุณถูกใจล่วงหน้าอย่างน้อย 6 เดือน โดยถามข้อมูลจากเพื่อน ญาติพี่น้อง รวมถึงบริษัทรับจัดหางานแต่งงาน และควรสัมภาษณ์ช่างภาพอย่างน้อย 3 คน เพื่อหาคนที่ใช่สำหรับคุณ หากมีออร์แกไนซ์จัดงานและดูแลเรื่องนี้ให้ด้วย คุณก็ควรพบปะพูดคุยกับช่างภาพที่ออร์แกไนซ์จัดไว้ให้ด้วย เพื่อแจกแจงถึงสไตล์ภาพแบบที่คุณต้องการ แนะนำว่าควรเลือกช่างภาพ ที่เปิดใจกว้าง พร้อมรับฟังไอเดียของคุณ และควรเลือกคนซึ่งมีผลงานการถ่ายภาพพิธีแต่งงานในสไตล์ที่ เหมือนหรือใกล้เคียงกับที่คุณวาดภาพไว้ในใจ



รายละเอียดที่ควรคุยกับช่างภาพ

1. สัญญาแจกแจงข้อตกลงและรายละเอียด ซึ่งควรครอบคลุมไปถึงหนดเวลาที่ช่างภาพต้องมาถึง ระยะเวลาที่ช่างภาพต้องอยู่ เก็บภาพนานกี่ชั่วโมง วรแต่งกายอย่างไรอัตราค่าจ้างซึ่งคุณควรตกลงรายละเอียดการจ่ายเงินด้วยว่าจะจ่ายในลักษณะไหนอาจแบ่งจ่ายตามขั้นตอนงาน และ จ่ายงวดสุดท้ายเมื่อคุณได้รับอัลปั้มสมบูรณ์ทั้งหมด

2. สถานที่จัดงานและบรรยากาศ คุณควรพาช่างภาพไปดูสถานที่จัดพิธีจริง เพื่อพูดคุยเพิ่มเติมว่า อยากได้ภาพมุมใด ในลักษณะใด การเห็นภาพจริงจะช่วยใน การทำงานของช่างภาพง่ายขึ้น และเตรียมความพร้อมทางด้านอุปกรณ์ถ่ายภาพได้อย่างเหมาะสม และควรหาโอกาสพาช่างภาพมายังสถานที่จัดงานแต่งงานจริงอีกครั้งเมื่อ ใกล้กำหนด ตรงนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการถ่ายภาพเอาต์ดอร์ เพราะช่างภาพสามารถสัมผัสถึงลักษณะอากาศและบรรยากาศที่แท้จริงซึ่งส่งผลถึงมุมและแสงที่สวยงามของภาพถ่าย

3. รูปแบบและขนาดของงานเลี้ยงรับรอง ถ้างานเลี้ยงเชิญแขกกว่า 300 คนขึ้นไป ควรจ้างช่างภาพมากกว่า 1 คนป้องกันไม่ให้พลาดภาพสำคัญๆ ส่วนงานเลี้ยงขนาดกลาง ช่างภาพควรมีผู้ช่วยด้วย เพื่อช่วยจัดองค์ประกอบในการถ่ายภาพหมู่ และช่วยจัดเตรียมอุปกรณ์การถ่าย

4. กำหนดการงานพิธี ทำรายการให้กับช่างภาพ พร้อมแนบหมายกำหนดการรายละเอียดพิธี เพื่อไม่ให้พลาดภาพสำคัญๆ และแขกคนสำคัญ อาจหาคนในครอบครัวคอยจับตามองหาแขกคนสำคัญ และบอกช่างภาพอีกครั้ง

5. ช่วงเวลาในการถ่ายภาพ ภาพถ่ายเป็นหมู่คณะกับบุคคลในครอบครัว เพื่อนฝูงหรือญาติสนิท อาจถ่ายภาพก่อนเริ่มงานโดยคุณสามารถหามุมในแบบที่ต้องการได้ โดยไม่ต้องเร่งรีบกับการ ต้อนรับแขกซึ่งทยอยมาร่วมงาน อีกทั้งตื่นเต้นกังวล
กับพิธีการที่กำลังเริ่มต้นขึ้น


รูปแบบของภาพ

พอร์เทรตและไลฟ์สไตล์สมัยก่อนนิยมถ่ายรูปสไตล์พอร์เทรต หรือถ่ายรูปคนแบบเป็นทางการ แต่ปัจจุบันนิยมเก็บภาพแบบไลฟ์สไตล์บอกเล่าเรื่องงานพิธีผ่านภาพถ่ายมากกว่า หากคุณชอบทั้งสองสไตล์ ควรคุยกับช่างภาพอย่างละเอียด

ภาพสีและถาพขาวดำ ภาพสีช่วยให้เห็นถึงสีสันความสดสวย ส่วนภาพขาวดำและภาพซีเปียให้อารมณ์ ของความคลาสิกถ้าต้องการความหลากหลาย ควรบอกช่างภาพให้ชัดเจนถึงสัดส่วนของรูปแต่ละอย่าง

ดิจิตอลกับฟิล์ม การถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอลสามารถปรับแก้หรือใส่ลูกเล่นได้อีกมากมาย และเห็นภาพได้ในเวลารวดเร็ว ส่วนภาพที่ถ่ายด้วยฟิล์มยังคงมีเสนห์ในเรื่องมิติความคมชัด อารมณ์ความรู้สึก หากคุณเลือกการถ่ายภาพแบบดิจิตอลควรถามให้แน่ใจว่าไฟล์ต้นแบบจะเป็นลิขสิทธิ์ของคุณทั้งหมดหรือไม่ เพราะมีบางกรณีช่างภาพถือโอกาสนำรูปของคุณ ไปโฆษณาโดย ไม่ขออนุญาต


การเก็บรักษาภาพถ่าย

1. ภาพถ่ายด้วยฟิล์มแล้วนำมาล้างอัดขยาย เมื่อเวลาผ่านไปสีอาจซีดจาง ปัจจุบันคุณสามารถเก็บรักษาภาพเหล่านั้นได้ในรูปแบบของดิจิตอล ไม่ว่าจะเป็น โฟโต้ ซีดี หรือซีดีรอม

2. คนส่วนใหญ่มักเก็บภาพแต่งงานใส่ในอัลบั้มซึ่งผลิตขึ้นสำหรับเก็บภาพงานแต่งงานโดยเฉพาะ ดังนั้น ควรเลือกอัลบั้มที่ทำจาก วัสดุคุณภาพดี เพื่อความคงทนของภาพ

3. หากชอบสร้างสรรค์โดยการแปะภาพลงบนวัสดุหรือกระดาษก่อนนำไปจัดเก็บ ควรเลือกใช้กาว กระดาษ หรือพลาสติกคุณภาพดี เพราะอาจมีผลกับการเก็บรูป

4. ควรเก็บอัลบั้มรูปไว้ในห้องอับแสง ปราศจากความชื้น และฝุ่น ไม่ควรเก็บในห้องที่มีเพดานต่ำ มีอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงตลอด เพราะเป็นปัจจัยในการทำลายคุณภาพของรูปถ่าย


ช่างถ่ายภาพวีดีโอ

การบันทึกภาพเคลื่อนไหวหรือวิดีโอ เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของบันทึกความทรงจำ ซึ่งสามารถเก็บรายละเอียดทั้งหมดและบอกถึงเหตุการณ์บางอย่างซึ่งเกิดขึ้นในขณะคุณไม่ได้ร่วมอยู่ด้วย การค้นหาช่างภาพวิดีโอ ควรหาล่วงหน้าก่อนถึงวันงานโดยสอบถามข้อมูลจากเพื่อนฝูงและคนรอบข้าง พยายามคุยกับคนที่คุณสนใจ จากนั้นขอดูผลงาน คุณภาพของภาพที่ปรากฎในวิดีโอ สีต้องคมชัด การตัดต่อเรื่องราวต้องต่อเนื่อง กลมกลืนระหว่างฉากต่อฉาก ที่สำคัญช่างภาพวิดีโอควรใจกว้าง และรับฟังข้อคิดเห็นของคุณ หากระหว่างการพูดคุยในรายละเอียดและรูปแบบ สร้างสรค์ที่วาดหวัง เขาแสดงท่าทีก้าวร้าวคุณต้องตัดใจ แม้ผลงานจะเป็นที่ถูกใจก็ตาม เพราะท้ายที่สุดเขาจะไม่รับฟังไอเดียของคุณ

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook