คุณแม่ควรรู้! อาการนอนกรณในเด็กอาจเป็นอันตรายได้
การนอนกรณในเด็ก ไม่ใช่เรื่องเล็ก ซึ่งพ่อแม่ไม่ควรชะล่าใจและคิดว่าเป็นเรื่องปกติเด็ดขาด เพราะการที่ลูกนอนกรณอาจนำไปสู่ภาวะการหยุดหายใจขณะนอนหลับจนทำให้เสียชีวิตได้เลยทีเดียว เพราะฉะนั้นเรามาทำความเข้าใจกับอาการนอนกรณในเด็กกันหน่อยดีกว่า
สาเหตุของการนอนกรณ
การที่ลูกน้อยนอนกรณอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
- โครงหน้ามีความผิดปกติ ทำให้ทางเดินหายใจส่วนต้นตีบแคบ เป็นผลให้ลูกนอนกรณ
- ต่อมทอนซิลโต ทำให้เกิดผลกระทบต่อการหายใจของเด็ก โดยเฉพาะเมื่อมีเสมหะ มีน้ำมูกและมีอาการเจ็บคอร่วมด้วย
- ความอ้วน เพราะจะทำให้ผนังคอหนาขึ้น จนช่องคอแคบลง ส่งผลให้เด็กนอนกรณและอาจเสียชีวิตจากการหยุดหายใจขณะหลับได้
- เป็นโรคทางพันธุกรรม ที่ส่งผลให้นอนกรณ
- มีอาการจมูกบวมอักเสบเรื้อรัง ทำให้หายใจลำบากและเกิดการนอนกรณได้
อาการนอนกรณในเด็กที่ต้องเฝ้าระวัง
อาการนอนกรณแบบไหนที่มีแนวโน้มว่าลูกจะเสี่ยงภาวะหยุดหายใจในขณะนอนหลับ และควรไปพบแพทย์โดยด่วน สามารถสังเกตได้ดังนี้
- ลูกมักจะคัดจมูกเป็นประจำ และมักจะต้องอ้าปากหายใจบ่อยๆ เนื่องจากการหายใจทางจมูกไม่สามารถนำออกซิเจนเข้าปอดได้อย่างเพียงพอ
- ลูกมักจะนอนกรณอ้าปากและหายใจเสียงดังเป็นประจำ
- มีอาการนอนกระสับกระส่ายเพราะนอนไม่หลับ และต้องลุกขึ้นมานั่งบ่อยๆ เนื่องจากหายใจไม่ออก
- มีการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าวัยอย่างเห็นได้ชัด ทั้งทางด้านร่างกายและสติปัญญา
การรักษาอาการนอนกรณ
การรักษาอาการนอนกรณ สามารถทำได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ดังนี้
1.รักษาด้วยการดูแลเบื้องต้น
ในกรณีที่ไม่รุนแรง แพทย์จะแนะนำให้พ่อแม่ดูแลลูกในเบื้องต้นก่อน ด้วยการปรับสุขอนามัยการนอนใหม่ พร้อมทั้งควบคุมอาหารและหมั่นออกกำลังกายในรายที่น้ำหนักเกินเกณฑ์
2.การรักษาด้วยยา
แพทย์จะให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก เพื่อให้เด็กหายใจได้ดีขึ้น ยาละลายเสมหะ ในกรณีที่มีเสมหะ เป็นต้น
3.การรักษาด้วยการผ่าตัด
ในกรณีที่มีสาเหตุมาจากต่อมทอนซิลหรืออะดีนอยด์ แพทย์จะวินิจฉัยและอาจทำการรักษาด้วยการผ่าตัด
เมื่อรู้แบบนี้แล้ว หากลูกมีอาการนอนกรณ ก็อย่าได้ชะล่าใจเลยเชียว เพราะนั่นอาจนำไปสู่ภาวะหยุดหายใจในขณะหลับและเสียชีวิตได้ ดังนั้นพ่อแม่จึงควรสังเกตเมื่อลูกนอนหลับเสมอ และเช็คดูว่าลูกมีอาการที่เข้าข่ายภาวะหยุดหายใจหรือไม่ เพื่อจะได้รีบพาไปพบแพทย์และทำการรักษาได้ทันนั่นเอง