สวนสนุก IMAGINIA เปิดตัวเครื่องเล่นใหม่ พัฒนาสมอง 9 ด้าน
IMAGINIA สวนสนุกแห่งจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์สุดล้ำในอาเซียน ฉลองก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 ชูคอนเซปต์ใหม่ ‘IMAGINIA: Tale comes to life’ เนรมิตตัวละครในโลกนิทานสู่จินตนาการในชีวิตจริง พร้อมประกาศดึงแนวคิดรูปแบบการเล่นเพื่อพัฒนาสมอง EF ช่วยสร้างทักษะชีวิต ผ่านการเล่นสนุก ปลุกจินตนาการ เสริมสร้างพัฒนาการ 9 ด้าน มาใช้ในสวนสนุกเป็นแห่งแรกและครั้งแรกในเมืองไทย
ด้าน “ผู้บริหาร” เป็นปลื้ม หลังเปิดมา 2 ปี กระแสตอบรับดีมาก ทั้งในไทย และนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทั้งนี้ เพื่อตอกย้ำความสำเร็จในด้านการเสริมสร้างทักษะชีวิตให้กับเด็กๆ จึงได้คิดโปรเจ็คต์พิเศษสำหรับการฉลองเข้าสู่ปีที่ 3 ด้วยกิจกรรม สุดครีเอทีฟ “IMAGINIA with Guru” ที่จะเปิดประสบการณ์การเรียนรู้ และสร้างโอกาสค้นพบพรสวรรค์เฉพาะตัว ให้เด็กๆ ได้สนุกไปกับกิจกรรมเวิร์คช็อปสุดสร้างสรรค์ประจำสัปดาห์ โดยกูรูเฉพาะด้าน ผู้มีชื่อเสียงแถวหน้าในวงการระดับประเทศ อีกทั้งได้พัฒนาโซนเล่นใหม่ อีก 2 โซน เพื่อต่อยอดแนวคิด การเล่นแบบพัฒนาสมองเสริมสร้างทักษะชีวิต
ภายในงานได้รับเกียรติร่วมงานจาก คุณเหมือนฝัน สิริกรณ์ คุณาวงศ์ ผู้อำนวยการ บริษัท อิเมจิเนีย เพลย์แลนด์ จำกัด, คุณเสริมคุณ คุณาวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ บริษัท ซีเอ็มโอ จำกัด, พญ.เบญจพร ตันตสูติ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น หรือ หมอมินบานเย็น แห่งเว็บเพจ ‘เข็นเด็กขึ้นภูเขา’, คุณพีช สิตมน ผลดี และน้องเต็นท์ เจษฎ์บดินทร์ พร้อมเปิดเผยวิธีการเลี้ยงลูกแบบฉบับคนรุ่นใหม่
คุณเหมือนฝัน สิริกรณ์ คุณาวงศ์ ผู้อำนวยการ บริษัท อิเมจิเนีย เพลย์แลนด์ จำกัด ดำเนินธุรกิจสวนสนุก IMAGINIA สวนสนุกปลูกจินตนาการ 3 ภาษา (ไทย-อังกฤษ-ญี่ปุ่น) เปิดเผยว่า ในโอกาสก้าวเข้าสู่ปีที่ 3
IMAGINIA เห็นความสำคัญของการเติบโตที่ดีจากคุณค่าของการเล่นในเด็ก จึงได้คิดค้นรูปแบบการเล่นผ่านจินตนาการผสมผสานรากฐานการเล่นแบบคลาสสิคและร่วมสมัย โดยนำแนวคิดเรื่องการพัฒนาสมอง EF ช่วยสร้างทักษะชีวิต มาพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับการเล่นในโซนต่างๆ ของ IMAGINIA ซึ่ง EF หรือ Executive Functions เป็นกระบวนการทางความคิดในสมองส่วนหน้าที่ช่วยให้สามารถวางแผน มุ่งมั่นในการจดจ่อและจดจำ รวมถึงจัดสรรการทำงานที่หลากหลายให้ประสบความสำเร็จได้ โดย EF เป็นพื้นฐานของการเกิดวุฒิภาวะทางอารมณ์ หรือ EQ
ทั้งนี้ สวนสนุก IMAGINIA ได้ศึกษาแนวคิดเรื่องการพัฒนาสมอง EF อ้างอิงข้อมูลจาก ศูนย์พัฒนาการเด็ก มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (2014) โดยระบุว่า การพัฒนาสมอง EF เป็นการเสริมสร้างพัฒนาการ 9 ด้าน ดังนี้
1. Working Memory (ความสามารถในการจดจำข้อมูลเพื่อใช้งาน) ,2. Inhibitory Control (การยับยั้งชั่งใจ-คิดไตร่ตรอง) ,3. Shift Cognitive Flexibility (การยืดหยุ่นความคิด) ,4. Focus (การใส่ใจจดจ่อ) ,5. Emotion Control (การควบคุมอารมณ์) ,6. Self-Monitoring (การรู้จักประเมินตัวเอง) ,7. Initiating (การริเริ่มและลงมือทำ) ,8. Planning and Organizing (การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ) และ 9. Goal-directed persistence (ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย)
“เรานำแนวคิดเรื่องการเล่นแบบสร้างทักษะ EF มาใช้ โดยได้พัฒนาให้รูปแบบการเล่นผ่านเครื่องเล่นในโซนต่างๆ จะต้องสอดคล้องกับหลักการเสริมสร้าง EF โดยเด็กๆ ที่มาเล่นที่ IMAGINIA จะได้รับพัฒนาการครบถ้วน ซึ่งแต่ละโซนจะเขียนอธิบายถึงประโยชน์ของการเล่นกำกับไว้ทุกโซน
นอกจากนี้ IMAGINIA ยังพัฒนาโซนใหม่เพิ่มขึ้นอีก 2 โซน อีกด้วย อาทิ Space Stadium และ Stomping Ground พร้อมจัดกิจกรรมพิเศษ IMAGINIA with Guru ตลอดปีนี้ ให้เด็กๆ ได้ร่วมเวิร์คช็อป กับกูรู ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ที่ครอบคลุมทั้งเรื่อง ศิลปะ ดนตรี วรรณกรรม นอกเหนือจากวิชาการในห้องเรียน เพื่อกระตุ้นพรสวรรค์ของเด็กๆ ให้เด่นชัดขึ้น
โดยผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ สนุกสนาน และสร้างสังคม พร้อมรับใบรับรอง Certificate จากอิเมจิเนีย สร้างความภาคภูมิใจในตัวเองกับให้เด็กๆ ทั้งนี้ IMAGINIA หวังร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์วัยเด็กและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สู่การเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จ” ผู้อำนวยการ สวนสนุก IMAGINIA กล่าว
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการฉลองโอกาสก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 ของ IMAGINIA เราได้เนรมิตตัวละครในโลกนิทานมาสู่จินตนาการในชีวิตจริง ภายใต้คอนเซ็ปต์ใหม่ ‘IMAGINIA: Tale comes to life’ ด้วยการสร้างสรรค์เหล่ามาสคอสตัวละครใหม่ ได้แก่ “น้องมะลิ”, “น้องฟลุต” และ “อาโอะ” นอกเหนือจาก “มังกรลูมอส” ที่ชื่นชอบของเด็กๆ พร้อมพบกิจกรรมที่สนุกสนานมากมาย ที่จะเติมจินตนาการ เพิ่มการเรียนรู้ให้มากขึ้น
IMAGINIA สวนสนุกแห่งจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์สุดล้ำในอาเซียน เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ – พฤหัสบดี เวลา10.00 - 19.00 น. และ วันศุกร์ – วันอาทิตย์ เวลา 10.00 - 20.00 น. ณ โซน EM Playground ชั้น 3 ศูนย์การค้า The Emporium
เกี่ยวกับทักษะ EF
EF ทักษะสมอง จุดเริ่มต้นพัฒนาการและกระบวนความคิดสู่ความสำเร็จ
เมื่อ IQ ดี EQ เด่น ไม่เพียงพอ!!! ในช่วง 2-3 ปีหลังมานี้ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับด้านพัฒนาการเด็กทั่วโลกได้เน้นย้ำถึงความสำคัญและตื่นตัวเรื่องการพัฒนาทักษะสมอง EF มากขึ้น หลังพบการศึกษาและงานวิจัยมากมายบ่งชี้ว่า EF เป็นรากฐานของการพัฒนามนุษย์และพื้นฐานในการดำเนินชีวิตที่ดีอันนำไปสู่การประสบความสำเร็จในชีวิต
EF หรือ Executive Functions เป็นกระบวนการทางความคิดในสมองส่วนหน้าที่ช่วยให้สามารถวางแผน มุ่งมั่นในการจดจ่อและจดจำ รวมถึงจัดสรรการทำงานที่หลากหลายให้ประสบความสำเร็จได้ โดย EF เป็นพื้นฐานของการเกิดวุฒิภาวะทางอารมณ์ หรือ EQ และจากงานวิจัยที่ติดตามเด็กอัจฉริยะมานานกว่า 80 ปี พบว่า IQ ไม่ได้การันตีความสำเร็จในชีวิต
การพัฒนาสมอง EF จึงเป็นการเสริมสร้างพัฒนา EF 9 ด้าน ได้แก่ 1. Working Memory (ความสามารถในการจดจำข้อมูลเพื่อใช้งาน) ,2. Inhibitory Control (การยับยั้งชั่งใจ-คิดไตร่ตรอง) ,3. Shift Cognitive Flexibility (การยืดหยุ่นความคิด) ,4. Focus (การใส่ใจจดจ่อ) ,5. Emotion Control (การควบคุมอารมณ์) ,6. Self-Monitoring (การรู้จักประเมินตัวเอง) ,7. Initiating (การริเริ่มและลงมือทำ) ,8. Planning and Organizing (การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ) และ 9. Goal-directed persistence (ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย)
ทำให้ฝึกเด็กให้เป็นคนคิดเป็น ทำงานเป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่กับผู้คนเป็น มุ่งมั่นในการทำสิ่งต่างๆ จนลุล่วง และมีความสุข อันเป็นทักษะในกระบวนการคิดขั้นสูงและพื้นฐานสำคัญของการดำเนินชีวิตให้เติบโตอย่างมีคุณภาพและประสบความสำเร็จในทุกด้าน ทั้งการเรียน ชีวิตส่วนตัว ครอบครัว หรืออาชีพ และยังเป็นการเสริมภูมิต้านทานและลดความเสี่ยงต่อการถูกหล่อหลอมยั่วยุที่ผิดพลั้งท่ามกลางสภาวะสังคมยุคใหม่เช่นปัจจุบัน
เล่นอย่างไร ให้เสริมทักษะสมอง EF
ศูนย์การพัฒนาการเด็ก มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้อธิบายว่าเด็กไม่ได้เกิดมาพร้อมกับทักษะชีวิตดังกล่าว แต่มีความสามารถในการพัฒนาได้ทั้งที่บ้านและการศึกษาขั้นปฐมวัย อีกทั้งมีงานวิจัยระบุว่าวัย 3-6 ปี เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการพัฒนาทักษะ EF ดังจะเห็นได้จากหลายองค์กรทั่วโลกและมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง อาทิ ฮาร์วาร์ด มอนทรีออล และจอห์นฮอปกินส์ ได้นำ EF มาปรับใช้ในหลักสูตรการเรียนการสอน
นอกจากนี้ คู่มือกิจกรรมสำหรับการพัฒนาและฝึกฝนทักษะ EF ศูนย์การพัฒนาการเด็ก มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ยังแนะนำวิธีการพัฒนาทักษะสมอง EF ที่เหมาะสมกับช่วงวัยต่างๆ ดังนี้
6 – 18 เดือน: พัฒนาทักษะการจดจ่อ จดจำ และการควบคุมตัวเอง เช่น การฝึกให้เด็กได้เล่นซ่อนของเล่นใต้เสื้อผ้า การส่งเสียงซ่อนหา การเลียนแบบผู้ใหญ่ที่เด็กวัยนี้มักชื่นชอบ เช่น กวาดพื้นหรือเก็บของ การเคลื่อนไหวนิ้วมือประกอบเพลง การพูดคุย ทั้งนี้ มีการค้นพบว่าเด็กที่ใช้ 2 ภาษา มีทักษะสมอง EF ดีกว่า
18 – 36 เดือน: พัฒนาทักษะด้านภาษา ช่วยให้เด็กบอกสิ่งที่คิดและการกระทำ รวมถึงแสดงออกมาได้ อย่างการเล่นที่ต้องใช้ความเคลื่อนไหวที่ช่วยฝึกทักษะร่างกาย และยังช่วยให้รู้จักการคิดและมุ่งมั่นต่อในการทำสิ่งต่างๆ จนสำเร็จ โดยการหาอุปกรณ์และโอกาสในการเล่น เช่น ฝึกฝนทักษะใหม่อย่างการขว้างบอล การทรงตัวบนแผ่นไม้ การวิ่งขึ้นลงที่ลาดเอียง การกระโดด และสร้างกฎให้ทำตามง่ายๆ เพื่อเพิ่มทักษะความจำและการควบคุมตัวเอง การฝึกให้ร้องเพลงตาม พร้อมเคลื่อนไหวร่างกายแบบสนุกๆ เพื่อฝึกจดจ่อมุ่งมั่น พูดคุย ชวนเล่าเรื่อง และบอกความรู้สึก รวมถึงการเล่นเกมจับคู่หรือเรียงลำดับ และการเล่นสมมุติ
3 - 5 ปี: การฝึกเรียนรู้กฎและแบบแผน เพื่อให้เด็กสามารถพึ่งพาตัวเองได้ ด้วยการเล่นสมมุติ เช่น พ่อแม่ลูก คุณหมอกับคนไข้ การส่งเสริมจินตนาการด้วยหนังสือ ทัศนศึกษา วีดีโอ หรือของเล่นเสริมจินตนาการ การเล่าเรื่องราว แต่งนิทาน เกม จังหวะดนตรี การเล่นจับคู่ เรียงลำดับ เกมปริศนา และทำอาหาร
5 - 7 ปี: เด็กวัยนี้จะเริ่มสนุกกับเกมที่มีกฎ เช่น การใช้เกมการ์ด เกมบอร์ด เกมที่ต้องใช้ร่างกายและความไว อย่างเก้าอี้ดนตรี โยคะ หรือเทควันโด เกมเคลื่อนไหวหรือเกมเพลง เกมที่ได้ฝึกความคิดและเหตุผล หรือเกมทายใจให้เด็กได้ฝึกสมองการจดจำและการยืนหยุ่นความคิด
7 - 12 ปี : การใช้เกมที่มีความท้าทายและซับซ้อนมากขึ้น เช่น เกมการ์ด เกมบอร์ดกับเด็กอื่นๆ ที่ยากขึ้น เกมที่ได้ใช้ความเคลื่อนไหวหรือการเล่นกีฬา ดนตรี ร้องเพลง และการเต้น รวมถึงเกมปริศนาที่ฝึกสมอง เช่น ครอสเวิร์ด หรือซูโดกุ